ยูทูป » หลวงพ่อผุด ..ศิวลึงค์โบราณ วัดนันทาราม อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

หลวงพ่อผุด ..ศิวลึงค์โบราณ วัดนันทาราม อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

28 กรกฎาคม 2018
5434   0

http://bit.ly/2OqPXlQ


http://bit.ly/2LHUG4o

 

 

แผนที่ GOOGLE คลิ๊ก!! 8.3530808,100.1989072

วัดนันทาราม (อ.ปากพนัง) จ.นครศรีธรรมราช เดิมชื่อ วัดใต้ เป็นวัดที่ประดิษฐานหลวงพ่อผุด พระพุทธรูปหินทรายแดง ศิลปสมัยกรุงศรีอยุธยา

ตั้งอยู่ ณ 230/1 ถนนชายน้ำ ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อ.ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

โทรศัพท์ 075-517693

หอไตรกลางน้ำวัดนันทาราม ที่ประดิษฐาน หลวงพ่อผุด

ประวัติความเป็นมา

เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดใต้ฝั่งออก เพราะตั้งอยู่ทางตอนใต้ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปากพนัง สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2375 เหตุที่เปลี่ยนชื่อ เพราะมีเจ้าคณะตรวจการมณฑลมาเยี่ยมวัด จึงได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับชื่อของพระครูนนท์ จรรยาวัตร

วัดใต้สมัยนั้นต่ำต้อยยากจนกว่าวัดอื่นในพื้นที่ปากพนัง มีท่านปลัดทองอ่อนเป็นสมภาร ไม่มีโบสถ์ มีวิหารเก่าๆและกุฏิอยู่ 2 หลัง มุงจากกั้นแฝก ปูด้วยไม้หลาวโอน ผู้เข้ามาบวชร่วมเป็นลูกหลานของคนยากจน..

เล่ากันว่า เดิมแรกเป็นป่าช้าที่ฝังศพ ผีดุ ยามค่ำคืน ตั้งแต่สะพานโรงสี1 จนถึงหน้าวัดไม่มีใครกล้าเดินผ่าน บ้านเรือนมีน้อยอยู่ห่างกัน เป็นสถานที่สงบ ปราศคนสัญจรไปมามักมีพระธุดงค์แวะเวียน มาพักเพื่อหาความสงบเสมอ..

พระครูนนท์ จรรยาวัตรเป็นผู้หนึ่งเคยมาปฏิบัติธรรมอยู่ 1 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ตาสีจันทร์ มัคคทายก พร้อมด้วยพุทธบริษัท เลื่อมใสและศรัทธาท่าน จึงได้นิมนต์มาอยู่จำพรรษาถาวร พัฒนาวัดเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2506 ได้ถึงแก่มรณภาพไป..

หลวงพ่อผุด

หรือ พระผุดเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีของวัดนันทาราม ที่เรียกว่าหลวงพ่อผุด เพราะหลวงพ่อผุดขึ้นในวัดใกล้ต้นทองหลาง ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2404 เวลาเที่ยงคืน..

คืนนั้นฟ้าคะนอง ฝนตกหนัก ทันใดนั้นอสุนีบาต ตกเปรี้ยง ลงใกล้ๆวิหาร ตรงต้นทองหลาง เกิดเป็นไฟลุกลามต้นทองหลาง กิ่งก้านหักโค่นลงมาอยู่ใต้ดินและไม่มีพระสงฆ์รูปใดกล้าลงไป ทุกๆรูปรวมอยู่ในกุฏิ ช่วงระยะเวลาไม่นานไฟที่ต้นทองหลางก็มอดลงและฝนก็ยังตก ฝนฟ้าคะนองเป็นระยะๆ..

พระแก้วตาบอดบอกว่าน่าจะมีเหตุอัศจรรย์ขึ้นแน่ พอรุ่งเช้าเจ้าอาวาสลงไปตรวจดูบริเวณที่เกิดเหตุ ต้นไม้มีรอยไหม้กับกิ่งที่ถูกฟ้าผ่า โค่นลงมากองอยู่ใต้ต้นมากมายซึ่งอยู่ใกล้ริมวงตะกร้อ ท่านจึงใช้ศิษย์วัดไปตามนักตะกร้อให้นำเครื่องมือ มาช่วยกันตัดและเก็บกิ่งไม้ที่ระเกะระกะอยู่อย่างมากมาย เมื่อกิ่งไม้ถูกตัดลากไปหมดแล้วยังเหลือแต่ใบกิ่งก้านนักตะกร้อได้ช่วยกันกวาดมันใส่เสื่อกระจูดเก่าๆขนไปทิ้ง ขณะที่ทำความสะอาดอยู่นั้นได้มีนักตะกร้อผู้หนึ่ง ชื่อว่านายทองใสบังเอิญไปสะดุดเอาสิ่งหนึ่งเข้า..

ซึ่งโผล่ขึ้นมาจากดิน ประมาณสักองค์คุลีกว่าๆ เขาจึงก้มลงมองดู จึงแกะด้วยนิ้วมือลงไปหน่อยหนึ่งก็แน่ใจว่ามิใช่อื่นไกล คือ พระเกศพระพุทธรูปแน่แล้ว ท่านปลัดทองอ่อนได้มอบหมายให้พระกับโยมถือจดหมายไปเมืองนคร รายงานเหตุต่อเจ้าคณะทั้ง 4 วันรุ่งขึ้นเจ้าคณะได้เดินทางมาจัดการล้อมรั้วสายสิญจน์ให้ชาวบ้านช่วยกันขุด อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมา จัดสมโภชน์ 7 วัน 7 คืน ทางเจ้าคณะมอบหมายให้เป็นสมบัติของวัดนันทาราม..

.

นอกจากนั้นภายในวัดยังได้เก็บรักษาศิวลึงค์องค์ใหญ่องค์หนึ่งพบที่โบราณสถานเขาคา อายุประมาณ 1,200 ปี ใน ราวศตวรรษที่ 12-14 สลักจากหินปูนและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่พบในภาคใต้

 

แสดงภูมิทัศน์ด้วยทางดาวเทียม บริเวณหน้าวัดอยู่ใกล้แม่น้ำปากพนัง
.
เหรียญหลวงพ่อผุด วัดนันทาราม รุ่นแรก..สร้าง พศ.2470 โดยพระครูนนทจริยวัตร ..เหรียญพระพุทธหลวงพ่อผุด เป็นเหรียญพระพุทธที่หายากมาก
.
เหรียญพระพุทธหลวงพ่อผุด วัดนันทาราม หลังจาร

1.เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นแรก สร้างเมื่อปี ๒๔๙๑
สร้างโดย พระครูนนท์ เจ้าอาวาสวัด

2.เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นสอง สร้างเมื่อปี ๒๕๑๔
สร้างโดย หลวงปู่เขียว หลงบน

3.เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นสาม สร้างเมื่อปลายปี ๒๕๑๘

4.เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นสี่ สร้างเมื่อปลายปี ๒๕๒๑

โดยเกจิดังนี้
พ่อท่านนุ่ม วัดคงคาสวัสดิ์
พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
พ่อท่านล่อง วัดสุขุม
พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ
พ่อท่านจับ วัดท่าลิพง
พ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ
พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
พ่อท่านสังข์ วัดเทพมงคล
พ่อท่านนำ วัดกลาง
พ่อท่านรอด วัดประดู่
พ่อท่านบุญรักษ์ วัดเสาเภา
พ่อท่านขำ วัดหงษ์แก้ว
พ่อท่านเกลื่อม วัดคงคาวดี
ร่วมพิธีพุทธาภิเษก

พระอาจารย์ครูนนท์ จรรยาวัตต์ แห่งวัดนันทาราม อำเภอปากพนัง ..หรือพระครูนนท์

นามเดิมท่านชื่อช่วย เป็นบุตรของท่านหมื่นชลพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าอุสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ที่วัดหรงบน ตำบลบางตะพง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพระอธิการสุด โสภฺโณ เป็นอุปชฌาย์ พระศรีนวล สีวณฺโณ เป็นเจ้ากรรมวาจา ท่านเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจวิชาทางศาสตร์ต่างได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะวิชาทางด้านไสยศาสตร์ เช่น วิชาด้านอยู่ยงคงกระพัน..

สมัยนั้นคนที่จะเรียนต้องมีความมุ่งมั่นและต้องมีไหวพริบปฎิภานที่ดี ตามประวัติของพระครูนนท์ ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนันทาราม เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๔ และ ได้รับเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะตำบลปากพนัง ในปีพ.ศ. ๒๔๖๐ และปีพ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านก็ได้รับเป็นพระอุปชฌาย์ และรั้งตำแหน่งพระครูเมื่ออายุ ๕๙-๖๐ พรรษา.

พระครูนนท์ ท่านเป็นศิษย์พี่ ที่พ่อท่านเขียว วัดหรงบน ให้ความเคารพและนับถือ เป็นอย่างยิ่ง โดยได้ไปมาหาสู่คอยช่วยเหลือกันเสมอ

..สมัยนั้นพ่อท่านเขียว แห่งวัดหรงบน ได้ร่วมเดินธุดงค์กับท่านตลอดมา ท่านเดินไปทั่วป่าเขาทุกแห่งของภาคใต้ และยังขึ้นไปถึงชายแดนด้านตะวันตก ซึ่งพระครูนนท์ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคใต้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง พระครูนนท์ท่านได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถืออย่างมากๆ ในอาณาจักรลุ่มน้ำปากพนัง..

เมื่อครั้งสงครามเอเชียบูรพา ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านมีวิชาและสมาธิแก่กล้ามาก เพราะในเรื่อง การสร้างวัตถุมงคลแจกจ่ายให้กับเหล่าทหารที่ไปช่วยสู้รบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไม่มีใครได้รับอันตรายปลอดภัยกลับมาทุกคน และยังล่ำลือว่ามีเมตตามหานิยมอีกด้วย ทั้งนี้โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นชาวไทย-จีน ที่อาศัยอยู่ทั้ง ใกล้วัดและที่อยู่ไกล ต่างก็สรรหาวัตถุมงคล ของท่านเอาไว้ครอบครอง จึงทำให้วัตถุมงคลของท่านกลายเป็นของมีค่าหายาก ..

พระเครื่องที่สร้างชื่อให้กับพระครูนนท์ฯ ก็คือ เหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๕๐๖, พระสมเด็จพิมพ์รัศมี พระปิดตาพิมพ์ท้อง อุ ซึ่งจัดสร้างด้วยเนื้อผงผสมชันโรง สร้างเมื่อ ปี๒๔๘๒

สำหรับเหรียญพระครูนนท์ วัดนันทาราม รุ่นแรก พิมพ์นิยม เนื้อทองแดงรมดำ เหรียญรุ่นนี้ออกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านปลุกเสก พร้อมพ่อท่านเขียว รุ่นแรกนี้ปัจจุบันหายากมากๆ แทบจะไม่เห็นผ่านเข้ามาสู่วงการตลาดพระเครื่องเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะว่าคนที่มีนั้นเขาจะเก็บรักษาเอาไว้อย่างดีนั่นเอง.

ขอขอบคุณ&เรียบเรียงจาก

เฟซบุ๊คชื่อ วัดนันทาราม อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
https://www.caiman2.com/16506932/%E0%B8%9E%E0%B8..
https://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac…
http://prakruang.blogspot.com/2008/09..
https://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php