ไข้เห็บ หรือ พยาธิในเม็ดเลือด (Blood parasite)ที่เกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วัว สุนัข แมว แพะ แกะฯ
1.เห็บเป็นตัวนำเชื้อปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดเมื่อเห็บมากัดสุนัข ไม่ใช่มีแค่สุนัขเท่านั้นที่เป็นไข้เห็บ ในวัว แมว แพะ แกะฯ ก็เป็นได้
2.สุนัขที่มีเห็บเป็นจำนวนมากมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ แต่สัตว์ที่ไม่มีเห็บ หรือฉีด/หยด/กิน/อาบ/สเปรย์/ใส่ปลอกคอป้องกันเห็บหมัดก็สามารถป่วยได้ ถ้ามีเห็บที่มีเชื้อไข้เห็บอยู่มากัดแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายสุนัข พูดง่ายๆเห็บมีเชื้อ 1 ตัว เผลอเดินมากัดเข้าก็ป่วยได้แล้ว
3.ไข้เห็บเป็นโรคซึ่งเกิดจากเชื้อปรสิตที่อยู่ในเม็ดเลือดเกิดจากการติดเชื้อของสัตว์เซลล์เดียวในเม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโปรโตซัวและริคเก็ตเซีย ได้แก่..
บาบิเซีย (Babesia sp.)
เฮปปาโตซูน (Hepatozoon sp.)
เออร์ลิเชีย (Ehrlichia sp.)
อะนาพลาสมา (Anaplasma sp)
บาร์โทเนลล่า (Bartonella sp.)
..แต่ที่พบได้บ่อยในบ้านเราคือ 3 ตัวแรก ..สัตว์ติดโรคนี้จากการถูกกัดโดยเห็บหรือแมลงดูดเลือดที่มีเชื้ออยู่ จากนั้นเชื้อโรคจะถูกปล่อยเข้าสู่ร่างกายและอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดงของสัตว์ มีการเพิ่มจำนวนและแพร่ขยายไปยังเม็ดเลือดเม็ดอื่นๆ จนในที่สุดเม็ดเลือดจะแตกและถูกทำลายลงเรื่อยๆ เกิดสภาพที่เรียกว่าโลหิตจาง(anemia)ตามมา
ชื่ออาจจะคล้ายกับโรคพยาธิหนอนหัวใจ แต่อย่าสับสน..เป็นคนละโรคกัน..
-โรคพยาธิหนอนหัวใจติดจากยุงเป็นพาหะ
-โรคพยาธิในเม็ดเลือดติดจากเห็บเป็นพาหะ เราเรียกรวมๆ กันว่า โรคที่ติดต่อจากเห็บ (Tick-borne diseases) ความชุกของโรคนี้ในบ้านเราถือว่าค่อนข้างสูงพบได้ทั้งปี
..พอเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะส่งผลทำให้ ตับวาย ไตวาย เกล็ดเลือดต่ำ โลหิตจาง เหงือกซีด ทำลายไขกระดูกและภูมิคุ้มกัน บางตัวเม็ดเลือดแดงแตก ตับวาย ไตวาย จนตัวเหลืองดีซ่าน บางตัวพบจ้ำเลือดตามใต้ท้องหรือใบหูด้านในบริเวณที่ไม่มีขนจะมองเห็นง่าย
4.บางตัวถ่ายเป็นเลือดคล้ายลำไส้อักเสบ กำเดาไหลเพราะเส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่าย เลือดหยุดยาก ข้ออักเสบ ปวดข้อไม่อยากเดิน ขาหลังแบะ ไข้สูงขึ้นๆลงๆ กินยาลดไข้อย่างเดียวไข้ก็ไม่หายจนกว่าจะได้ยาปฏิชีวนะสำรับรักษาไข้เห็บร่วมด้วย
5.ตัวที่ป่วยกินอะไรไม่ได้มาหลายวัน ตับวาย ไตวาย อาจจะกู้อาการกลับมาเป็นปกติได้ยาก ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตในภายหลัง
6.มีการช่วยเหลือโดยการให้เลือด แต่ไม่ใช่ว่าสัตว์จะสามารถรับเลือดได้ทันทีทุกตัว ต้องดูสภาพสัตว์ป่วยด้วยว่าร่างกายรับการให้เลือดได้ไหม ถ้าร่างกายรับไม่ไหวก็จะเสียชีวิตระหว่างให้เลือดหรือหลังให้เลือดใน3-7วัน ยิ่งสัตว์ป่วยตัวใหญ่ยิ่งต้องใช้ปริมาณเลือดมากต้องหาสัตว์ที่ตัวใหญ่แข็งแรงและไม่มีโรคติดต่อมาเป็นตัวให้เลือด ซึ่งบางครั้งก็หาได้ไม่ทันการ
7.ตัวแม่ที่ตั้งท้องแล้วเป็นไข้เห็บ ลูกออกมาจะทยอยตายเนื่องจากโลหิตจาง
..ในสัตว์ป่วยบางตัวได้รับเชื้อและป่วยแต่ยังไม่แสดงอาการ มาออกอาการอีกทีก็หอบซีด ชัก และเสียชีวิต บางตัวพอเป็นไข้ก็เริ่มไม่กิน ถ่ายปนเลือด บางตัววิ่งอยู่ก็กำเดาไหล บางตัวแค่จามก็เลือดออกจมูก ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรรีบพาสัตว์ไปหาหมอ ตรวจค่าเลือดต่างๆ ตรวจไข้เห็บเพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่นๆ
สัตว์บางตัวอาจป่วยเป็นไข้เห็บเชื้อเดียว สองเชื้อ หรือสามเชื้อ ยิ่งเป็นร่วมกันหลายเชื้อก็ยิ่งรุนแรง สัตว์ที่เคยป่วยแล้วรักษาจนเป็นปกติก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ อาจจะอีก1-3เดือนต่อมา หรืออีก1-2ปีต่อมา เพราะไข้เห็บบางเชื้อไม่ได้หายไปไหนมันแฝงอยู่ในร่างกาย พอสัตว์อ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันลดลงมันก็จะก่ออาการขึ้นมาอีก ที่สำคัญคือตรวจสุขภาพเป็นระยะ ถ้าป่วยให้แจ้งหมอด้วยว่าเคยมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง ทุกวันนี้ไข้เห็บเจอได้เกือบทุกวันเลย..
●อาการสัตว์ติดเชื้อ
►บาบิเซีย พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิด Babesia canis, Babesia gobsoni ก่อให้เกิดโรค Babesiosis ติดจากการที่ถูกเห็บที่มีเชื้อกัดหรือติดจากการถ่ายเลือด ซึ่งตัวเชื้อจะเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดแดง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 10-21 วัน
อาการที่พบ จะมีไข้สูง ซึม ไม่อยากกินอาหาร ไม่อยากเคลื่อนไหว โลหิตจาง เยื่อเมือกซีดมาก อาจมีดีซ่านร่วมด้วย ปัสสาวะสีแดงเข้ม (สีโค้ก/โคล่า) ในรายที่เป็นรุนแรง.
การรักษาด้วยการฉีดยา เช่น กลุ่ม aromatic diamidine (Imidocarb) จำนวนสองครั้ง โดยฉีดห่างกัน 14 วัน แต่ยานี้เป็นสารเคมีซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ไอ น้ำลายไหล จึงจำเป็นต้องให้ร่วมกับในกลุ่ม anti-colinergic เพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว
วิธีรักษาเมื่อพบในแพะ-แกะ-โค ใช้ยาเบรีนิล(Diminazene aceturate ) ขนาด 3.5 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
►เฮปปาโตซูน พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดชื่อว่า Hepatozoon canis, Hepatozoon americanum ก่อให้เกิดโรค Hepatozoonosis โดยจะติดเชื้อจากการที่กินตัวเห็บที่มีเชื้อเข้าไปหรือติดจากการถ่ายเลือดและปลูกถ่ายอวัยวะ เมื่อเชื้อเข้าไปอยู่ในลำไส้จะชอนไชทะลุผ่านผนังลำไส้ เข้าไปตามกระแสเลือดไปอยู่ตามต่อมน้ำเหลือง ม้าม ตับ ปอดและไขกระดูก และจะพบเชื้อได้ในเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil
อาการที่พบจะมีได้หลากหลาย เช่น ซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เยื่อเมือกซีด โลหิตจาง มีไข้สูง มีน้ำมูก มีขี้ตา เป็นอัมพาตขาหลัง ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันด้วย ส่วนใหญ่ถ้าภูมิคุ้มกันดีจะไม่ค่อยแสดงอาการ แต่จะเป็นแบบเรื้อรังแทน เช่น เม็ดเลือดถูกทำลายมาก จนเกิดดีซ่าน ทำให้เยื่อเมือกมีสีเหลือง หากภูมิคุ้มกันไม่ดีหรืออายุน้อยจะแสดงอาการรุนแรงและอาจเสียชีวิตได้
การรักษาด้วยการฉีดยา เช่น กลุ่ม aromatic diamidine (Imidocarb) จำนวนสองครั้ง โดยฉีดห่างกัน 14 วัน แต่ยานี้เป็นสารเคมีซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ไอ น้ำลายไหล จึงจำเป็นต้องให้ร่วมกับในกลุ่ม anti-colinergic เพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว
**เฮปาโตซูนอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเชื้อสามารถซ่อนตัวอยู่ในตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองได้ เมื่อสัตว์ที่เคยเป็นโรคนี้อ่อนแอลง ก็อาจจะกลับมาป่วยได้อีก
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็น หากดูจากอาการเพียงอย่างเดียวอาจยังสรุปได้ยาก เนื่องจากมีอาการที่ไม่จำเพาะ ส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยอาการซึม เบื่ออาหาร ดังนั้นการซักประวัติเพิ่มเติมโดยละเอียด ตลอดจนข้อมูลความชุกของเห็บบนตัวสัตว์และในสิ่งแวดล้อมที่สัตว์อยู่จึงมีส่วนสำคัญ แต่สิ่งที่ช่วยยืนยันได้ดีที่สุด คือ การตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการย้อมสีแผ่นสไลด์ของเลือดแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
โรคนี้หากวินิจฉัย ได้เร็วและรักษาได้อย่างถูกอันนี้ก็จะง่าย เห็นผลไว บางตัวฉีดยากำจัดเชื้อ ร่วมกับยาลดไข้อย่างเดียวก็หาย หรือบางตัวฉีดยาไปไข้ลดแล้วแต่ยังไม่กินอาหาร ก็อาจให้ยาบำรุง(supportive treatment) เช่น กลูโคส อะมิโนไลท์ หรือเมตตาโบลาส จะช่วยให้สัตว์ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
..ในกรณีที่เลือดจางมาก เยื่อเมือกซีด หรือ เหลืองอย่างชัดเจน เดินเซไม่มีแรง บางตัวถึงขั้นนอนไม่อยากลุก หัวใจเต้นเร็วและแรงมาก หายใจถี่ ไม่กินอาหารเลยแม้จะฉีดยาหรือให้ยาบำรุงไปแล้วก็ตาม ถ้าถึงขนาดนี้แล้ววิธีการสุดท้ายที่พอจะรักษาชีวิตได้ก็ต้องถ่ายเลือดซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากขึ้น.
ขอบคุณ https://pantip.com/topic/30717285
http://auuteetfram.myreadyweb.com/article/..
https://www.dogilike.com/content/vettalk/1464/
https://108kaset.com/farm/2018/07/13/%e0%b…
รูปภาพประกอบ:
http://www3.rdi.ku.ac.th..