ผู้บริโภคเมื่อต้องเจอกับเรื่องเหล่านี้..
– พบความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เสียก่อนหมดอายุ ไม่มีฉลากภาษาไทย การแสดงฉลากไม่ครบถ้วน เป็นต้น
– พบโฆษณาโอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาด้วยวิธีใด
– พบการผลิต นำเข้า หรือขายยา และวัตถุเสพติดโดยไม่ได้รับอนุญาต
– พบการผลิต นำเข้า หรือขาย ผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอม
– พบการผลิต หรือขายผลิตภัณฑ์ที่ห้าม หรือมีสารที่ห้ามใช้ เช่น ยาชุด ครีมทาฝ้า ที่มีสารปรอทแอมโมเนีย หรือไฮโดรควิโนน หรือกรดวิตามินเอ อาหารที่ผสมสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว หรือกรดซาลิซิลิค เป็นต้น
– ได้รับอันตรายจากการบริโภค หรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งที่ได้ปฏิบัติตามวิธีใช้ คำแนะนำหรือข้อควรระวังตามที่ระบุบนฉลากแล้ว
– พบการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ และภายในหน่วยงาน อย.
ยกตัวอย่าง โฆษณาที่เป็นที่น่าสงสัยว่า…โอ้อวดเกินจริง..
– ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โอ้อวดสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค / ลดอ้วน / ล้างพิษ / เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
– ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โอ้อวดทำให้ผิวขาวใสได้มากกว่าสีผิวเดิม / เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้
– ผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณ โอ้อวดสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค / โรคเอดส์ / โรคมะเร็ง
– ผลิตภัณฑ์เครื่องนวดไฟฟ้าสถิต โอ้อวดสรรพคุณบำบัดรักษาโรค
ช่องทางการร้องเรียน
– ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถร้องเรียนหรือแจ้งข้อมูล โดยแจ้งชื่อ-ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมรายละเอียดของเรื่องที่ต้องการร้องเรียน ไปที่ สายด่วน อย. 1556 โทรศัพท์ 0 2590 1556 , 0 2590 7355 โทรสาร 0 2590 1556 , 0 2590 7355
– จดหมาย / หนังสือ (ร้องเรียน) ได้ที่ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 อีเมล 1556@fda.moph.go.th สามารถร้องเรียนด้วยตนเอง (หรือกรณีมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์มามอบให้)
– ผู้บริโภคที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ สามารถร้องเรียนได้ที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
– ผู้บริโภคที่อยู่ในต่างจังหวัด แจ้งเรื่องร้องเรียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
– นอกเวลาราชการ สายด่วน อย.1556 จะมีเทปบันทึกให้ฝากข้อความอัตโนมัติ
ขอบคุณ : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค กลุ่มพัฒนาระบบศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.