นายณรงค์ แก้วเฉย1/ นายเฉลิมศักดิ์ รัตนะ2/ นางกฤษณพร แพกุล3/
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเลี้ยง กระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 293 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด
ผลจากการศึกษาพบว่า..
-ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 81.90 อายุ อยู่ระหว่าง 41 – 50 ปี ร้อยละ 32.42
-ส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นอาชีพเสริมร้อยละ 91.13
-ส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครัวเรือน ร้อยละ 98.29
-รูปแบบการเลี้ยงแพะ พบว่า ส่วนใหญ่เลี้ยงแพะน้อยกว่า – 10 ตัว ร้อยละ 24.91
-ส่วนใหญ่พันธุ์แองโกนูเบียน ร้อยละ 88.40
-ส่วนใหญ่เลี้ยงในคอก – โรงเรือน
-และปล่อยลงแปลงพืชตามแหล่งธรรมชาติหรือสวนไม้ยืนต้น ร้อยละ 57.68
-การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะส่วนใหญ่ ร่วมประชุมกลุ่ม ร้อยละ 18.77
-ด้านการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะหลังจากเข้าร่วมกลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่ความยุ่งยากในการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.59 และมีรายได้จากการเลี้ยงแพะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 92.83
-ในการประเมินความยั่งยืน พบว่า ส่วนใหญ่ทำฟาร์มแพะในพื้นที่ดินของตัวเอง ร้อยละ 95.90
-แบ่งคอกภายในฟาร์มเป็นสัดส่วน ร้อยละ 88.74
-มีระบบการควบคุมป้องกันโรค ร้อยละ 85.67
-มีการวางแผนการผลิตแพะ ร้อยละ 70.65
-มีการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 87.03
-และส่วนใหญ่เน้นการเลี้ยงแพะสายพันธุ์ที่มีคุณภาพมากกว่าเน้นปริมาณ ร้อยละ 85.32
ปัญหาและความต้องการ
-พบว่า ส่วนใหญ่ขาดแคลนพ่อพันธุ์ ร้อยละ 31.74
-ขาดแหล่งอาหารหยาบ ร้อยละ 40.96
-มีปัญหาเกี่ยวกับโรค ร้อยละ 59.39
-และขาดแหล่งจำหน่าย ร้อยละ 27.99
-ด้านความต้องการ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการความรู้ ร้อยละ 20.14
-ต้องการพันธุ์สัตว์ ร้อยละ 18.77
-ต้องการยาป้องกันรักษาโรค ร้อยละ 24.57
-และต้องการข้อมูลเครือข่ายการผลิตและการตลาด ร้อยละ 22.53
ข้อเสนอแนะ ต้องการให้ส่วนราชการสนับสนุนพ่อ–แม่พันธุ์และองค์ความรู้เรื่องการปรับปรุงพันธุ์, จัดหาอาหารข้นราคาถูกมาขาย, และให้ความรู้เกี่ยวกับการนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้เลี้ยงแพะ การป้องกันโรค การใช้ยา และการแก้ไขปัญหาเมื่อแพะเจ็บป่วย, ส่งเสริมให้มีแหล่งจำหน่ายที่เป็นรูปธรรม, มีโรงฆ่าที่ได้มาตรฐาน
ที่มา http://pvlo-nst.dld.go.th/newnst/?name=research&file=readresearch&id=8