เตือนภัย » เตือนภัย!พบปลาบางแหล่งเช่นปลาช่อน ปลานิล มีปรอทเกิน 6 – 28 เท่าจากค่ามาตรฐานใน 8 จังหวัดไทย เสี่ยงกลายเป็นโรคมินามาตะ!

เตือนภัย!พบปลาบางแหล่งเช่นปลาช่อน ปลานิล มีปรอทเกิน 6 – 28 เท่าจากค่ามาตรฐานใน 8 จังหวัดไทย เสี่ยงกลายเป็นโรคมินามาตะ!

4 ธันวาคม 2023
256   0

เตือนภัย!พบปลาบางแหล่งเช่นปลาช่อน ปลานิล มีปรอทเกิน 6 – 28 เท่าจากค่ามาตรฐานใน 8 จังหวัดไทย เสี่ยงกลายเป็นโรคมินามาตะ!

ไม่ได้มีแค่ “โอเมก้า 3” ผลสำรวจชี้ “กินปลา แถมปรอท”
พบปนเปื้อนสูง เสี่ยงส่งผลต่อร่างกาย อันตรายถึงเด็กในท้อง
หันมองประเทศไทย สถิติเตือนใจ
ติดอันดับสะสมสารพิษเป็น “ที่ 9” ของโลก

ปรอท! สดจากทะเล

ถ้าการกินปลาไม่ได้ต่อดีสุขภาพเสมอไปล่ะ? เมื่อ
“คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA)”
ออกมาเตือน 78% ของปรอทที่เรารับเข้าไปในร่างกายในแต่ละวันนั้น
มาจากปลาและอาหารทะเล การรับปรอทจำนวนมาก
เป็นอันตรายต่อร่างกายและส่งต่อทารกในครรภ์

ปรอทที่ปนเปื้อนในปลาและอาหารทะเล
จะมีปริมาณของปรอทที่มากน้อยไม่เท่ากัน
ยิ่งเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีสารปรอทคงค้างมากกว่าปลาขนาดเล็ก
และปลาที่พบปนเปื้อนปรอทสูงคือ
ปลาเก๋า, ปลากะพง, ปลาหิมะ, ปลาอินทรี, ทูน่าครีบเหลือง, ฉลาม และปลากระโทง

แล้วอะไรทำให้สารปรอท เข้ามาอยู่ในตัวปลาได้ล่ะ?

[ ระดับปลาที่มีปรอทสะสม ]

ปรอทเป็นสารที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
การมีปนเปื้อนปรอทเล็กน้อยไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล

..อุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน การเผาขยะ
ปล่อยสารปรอทลอยไปกับอากาศ ทำให้ฝนที่ตกลงแหล่งน้ำและทะเลมีปรอทปนเปื้อนอยู่
ทำให้ในตัวปลามีปรอทสะสมเกินค่ามาตรฐาน
นี่ยังไม่นับรวมการทิ้งขยะลงทะเล ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนของปลาเช่นกัน

จากผลการศึกษาทั่วโลกของผู้หญิง 1,044 คน ใน 25 ประเทศ
พบว่า 36% มีสารปรอทเกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
โดยประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยของสารปรอทอยู่ที่ 3.077 มิลิกรัมต่อกิโลกรัม
เป็นลำดับที่ 9 ของโลก

พบว่าสิ่งที่มีผลต่อปริมาณปรอทที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย คือ
การกินปลาเป็นประจำ ทำงานในเหมืองทองขนาดเล็ก
และอาศัยใกล้เขตอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่าการปนเปื้อนของสารปรอท
เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้ปรอทแพร่กระจาย
สะสม และตกค้างอยู่ในธรรมชาติ

[ ปรอทที่ลอยอยู่ในอากาศและทะเล ]

ร่างกายคนเราสามารถรับปรอทได้ไม่เกิน 0.5 มิลิกรัมต่อกิโลกรัม
แต่ถ้ากินอาหารที่ปรอทสะสมเป็นเวลานาน
ก็จะสงผลเสียต่อร่างกายและอาจถึงตายได้

ไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้, ชา-ตามแขนขา,
แขนขาบิดเบี้ยวคล้ายคนพิการ, ตาบอด, กล้ามเนื้อสั่น, หูตึง,
หลอดเลือดแข็ง, เป็นอัมพาต และอาการเหล่าท้ายจากสู่ลูกได้
ทำให้เด็กที่เกิดมา มีอาการพิการทางสมอง

นี่คือผลกระทบจาก พิษของสารปรอท หรือเรียกว่า “โรคมินามาตะ”

“สมองพรุน” สู่ทารกในครรภ์

คงมองข้ามปัญหาการปนเปื้อนของปรอทไม่ได้แล้ว
เมื่อมีกรณีตัวอย่างจากญี่ปุ่น ช่วงยุค 50 ที่มีโรงงานแอบปล่อยสารปรอทลงแหล่งน้ำใน
เมืองมินามาตะ ทำให้ชาวเมืองเริ่มป่วยเป็นโรคประหลาด

ชาวเมืองเริ่ม มีอาการชาที่มือและเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
สูญเสียการได้ยินและการมองเห็น ควบคุมสติไม่ได้
มีอาการวิกลจริตอย่างอ่อนๆ กรีดร้อง มีการกระตุกตัวแข็ง
แขนขาบิดงออย่างรุนแรง

จากบันทึกของ นพ.ฮาจิเมะ โฮโซคาวะ ผอ.โรงพยาบาล ชิสโสะ
เขียนว่า “เมื่อแพทย์ชำแหละสมองของผู้ที่เสียชีวิต
สมองของผู้ป่วยนั้นจะพรุนเหมือนฟองน้ำ ส่วนที่เนื้อสมองหายไปนั่นคือ
ส่วนที่ถูกทำลายด้วยสารปรอท และ ยังพบอีกว่า
ทารกที่เกิดมาในช่วงนั้นมีความพิการทางสมอง”
จากเหตุการณ์ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของ โรคมินามาตะ

[ อาการผู้ป่วยโรคมินามาตะ ]

ตอกย้ำอันตรายจากปรอท ด้วยผลการศึกษาในไทย
“สารปรอทในปลาและร่างกายมนุษย์ ในพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าของประเทศไทย”
โดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ ร่วมกับ สมาคมอาร์นิก้า สาธารณรัฐเชก

“จากการศึกษาปริมาณสารปรอทในผู้หญิง อายุระหว่าง 18 – 44 ปี
ในพื้นที่รอบเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
และเขตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ปราจีนบุรี
พบว่า 73.5% ของอาสาสมัครมีสารปรอทเกินมาตรฐานของ EPA ที่ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
และค้นพบว่าเป็นจุดเริ่มต้นความเสียหายทางระบบประสาทของทารกในครรภ์ ”

8 จังหวัดไทย กลายเป็น มินามาตะ!

“มินามาตะโมเดล” อาจเกิดในไทยก็ได้ เมื่อผลการศึกษายังระบุอีกว่า 8 จังหวัด
อุตสาหกรรม พบการปนเปื้อนของปรอทสูง ได้แก่
สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ระยอง, ปราจีนบุรี,
ฉะเชิงเทรา, เลย, ขอนแก่น และจันทบุรี

ซึ่งแหล่งกำเนิดสารปรอทคงหนีไม่พ้น
เขตอุตสาหกรรมที่หนาแน่น และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
จากการเก็บตัวอย่างปลาและหอยในพื้นที่ทั้ง 8 จังหวัด
พบว่าทั้งปลาทะเลและปลาน้ำจืด มีค่าปรอทที่เกินมาตรฐาน

[ การปล่อยปรอทจากโรงไฟฟ้าในไทย ]

จากการเก็บตัวอย่าง ปลาและดิน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
พื้นที่ใกล้กับเขตอุตสาหกรรม และพื้นที่อยู่ห่างไกลจากเขตอุตสาหกรรม
พบว่าเขตอุตสาหกรรม ในปลาหลายชนิด เช่น
ปลาเต็กเล้ง ปลาช่อน ทุกตัวอย่างมีปรอทเกินค่ามาตรฐานไทยถึง 24 เท่า

แต่ที่น่าตกใจ ในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งอุตสาหกรรม
กลับพบปลาบางชนิด มีปรอทสะสมถึง 16 เท่าจากค่ามาตรฐาน
ในเขตอุทยานบางแห่ง พบว่า ปลาช่อน ปลาบู่ ปลานิล
มีปรอทอยู่ในตัว เกิน 6 – 28 เท่า

ถ้ากินปลาเหล่านี้ เราจะได้รับปรอทถึง 6.1 – 375 กรัม
ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา แต่ก็เลยระดับความปลอดภัยมาตรฐาน
ที่ร่างกายจะรับได้ที่ 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

และนี่คือคำแถลงการณ์จาก อัครพล ตีบไธสง นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศ

“ผลการศึกษายืนยันการสะสมของสารปรอทในสิ่งมีชีวิต
แสดงให้เห็นว่าคนในพื้นที่ 8 จังหวัดของไทย เสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากสารปรอท
และสารปรอทสามารถเดินทางได้ไกลในอากาศ
แม้จะอยู่ห่างไกลจากแหล่งอุตสาหกรรม ก็สามารถเสี่ยงพบปัญหาการปนเปื้อน
จากปรอทที่ลอยอยู่ในอากาศได้เช่นกัน”

ที่มา https://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php/topic,101325

เตือนภัย”ล้อรถ-ล้อหลุด” เรื่องตลกที่ขำไม่ออก!?!หวิดตายกันมาหลายราย