เตือนภัย » ดัชนีความร้อน คืออะไร? มีกี่ระดับอันตราย?

ดัชนีความร้อน คืออะไร? มีกี่ระดับอันตราย?

14 เมษายน 2023
1129   0

ดัชนีความร้อน คืออะไร? มีกี่ระดับอันตราย?

“ดัชนีความร้อน” คืออะไร ต่างกับอุณหภูมิปกติไหม?

ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น (Apparent Temperature) ว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นเช่นไร?

WBGT (WBGT Heat Stress Monitor)

คือค่าการตรวจวัดความร้อนเพื่อป้องกันภาวะอันตราย ซึ้งอาจมีผลกระทบทำให้ เกิดอาการขาดน้ำอย่างเฉียบพลัน ช็อคหมดสติ ซึ้งเป็นภาวะที่อันตรายต่อร่างกายและชีวิต ดังนั้น จึงมีการ คิดค้นเครื่องวัดที่สามารถแสดงผลค่าการวัด WBGT ในขณะที่ปฏิบัติงาน หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ

ค่า WBGT สำคัญอย่างไร?

หากเราไม่ทราบค่า WBGT คงเปรียบเหมือนออกไปต่อสู้ในที่มืดที่มองไม่เห็นภัยและอันตรายใดๆ เพราะค่า WBGT นั้นไม่สามารถทราบได้จากเครื่องวัดอุณหภูมิทั่วไป เนื่องจากการคำนวณค่า WBGT ต้องคำนวณจาก WetBuld, DryBuld, Globe Temp. ทั้งนี้เป็นผลมาจากค่าความสัมพัทธ์กันระหว่างอุณหภูมิ และ ความชื้นในอากาศ ทำให้ร่างกายสูญเสียความเย็นจากผิวหนังส่งผลให้ ร่างกายร้อนมากขึ้นกว่าอุณหภูมิอากาศที่แท้จริง หรือส่งผลให้ ร่างกายสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ อาจทำให้ เกิดการเจ็บป่วยจากการอ่อนเพลียหรือเป็นสาเหตุของโรค “ฮีตสโตรก (Heat stroke)” ได้

คิดโดยนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริงและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น ซึ่งค่าดัชนีจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้นั่นเอง ซึ่งค่าดัชนีความร้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้..

เฝ้าระวัง : 27-32 องศาเซลเซียส (สีเขียว) ทำให้อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความ ออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน

เตือนภัย : 32-41 องศาเซลเซียส (สีเหลือง) เกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

อันตราย : 41-54 องศาเซลเซียส (สีส้ม) มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

อันตรายมาก : มากกว่า 54 องศาเซลเซียส (สีแดง) เกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก

ดังนั้น ในวันที่ค่าดัชนีอากาศสูงเช่นนี้ ควรสังเกตอาการตนเองบ่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็น ควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา และน้ำอัดลม

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา
https://www.google.com/..4%E0%B8%A3%E0%B8%B..

ภัยจากโลกร้อน พายุลูกเห็บยักษ์โตเท่ากำปั้นถล่มสเปน โดนศีรษะ ตาย 1 เจ็บนับ 30