เลี้ยงสัตว์ » โรคที่พบได้บ่อยในหน้าฝนกับนกแก้ว และยาพื้นฐานที่ใช้รักษา

โรคที่พบได้บ่อยในหน้าฝนกับนกแก้ว และยาพื้นฐานที่ใช้รักษา

21 พฤศจิกายน 2022
4715   0

โรคที่พบได้บ่อยในหน้าฝนกับนกแก้ว และยาพื้นฐานที่ใช้รักษา

*** โรคหวัดนก ***  

การติดต่อ จากการที่นกป่วยไอหรือจาม น้ำมูก สารคัดหลั่ง มาสัมผัสถูกนกตัวอื่น การป้อนปากกัน ดังนั้นหากมีนกป่วยเกิดขึ้น ควรแยกนกออกชั่วคราวก่อนจนกว่าอาการจะดีขึ้น

อาการ

– ขนนกจะพองไม่เรียบ

– ดวงตาไม่สดใส นกจะซึมคอตก และหลับตา ตาจะแฉะ

– นกไม่กระโดดไปมา ยืนหรือนั่งนิ่งๆ อยู่บนคอนเกาะ ร้องน้อยหรือไม่ร้องเลย

– นกจะเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ลง จะมีอาการไอหรือจามมีน้ำมูก ตอนแรกน้ำมูกจะใส่ต่อมาจะข้น

– มีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจเสียงดัง อ้าปากหายใจ มีน้ำมูกไหล ยิ่งถ้าเป็นหวัดหน้าบวมจะมองเห็นได้ชัดเจนตรงบริเวณแก้ม ใต้ตาบวมจนตาปิด

การป้องกัน 

– ดูเรื่องสุขอนามัย สถานที่ ไม่ควรมีฝนสาด ละอองฝน ความชื้นสูง

– เมื่อมีนกป่วยให้จับแยกมาขังไว้ในกรงที่ทำไว้สำหรับนกป่วยโดยเฉพาะ

– ให้นกกินพริกขี้หนูแดงหรือพริกชี้ฟ้าหั่นเป็นชิ้น

– พยายามให้นกออกกำลังบ้าง โดยการเคาะกรงให้กระโดด เพื่อสร้างความแข็งแรง

– นำนกไปตากแดดอ่อนๆโดยเฉพาะแดดยามเช้า แล้วเก็บเข้าร่ม เพื่อให้ขนและตัวนกแห้ง

– ใช้ตะไคร้ใส่ถ้วยน้ำให้นกกินน้ำ เพราะตะไคร้เป็นยาแก้ไข้ ( หรือใช้ กระเพรา โหระพา สะระแหน่ )

– ถ้าพวกกิน ตะไคร์ พริก กระเพราะ โหระพา สะระแหน่ ฟ้าทะลายโจร แถมพริกไทยสด ถ้าให้สูดดม หอมแดง หอมใหญ่ ตะไคร้ มะกรูด ถ้าไม่งั้นก้น้ำมันหอมระเหยวาเป็กซ์ วิค วาโปรับ กวางลุ้ง เป็นต้น

– ให้ทานวิตามิน ซี จากผลไม้ เช่น ฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ล ถ้านกทานไม่ค่อยได้ให้ใช้น้ำผลไม้ 100% เจือจางน้ำสุกอุ่น 1 :1

– น้ำมันตับปลา วิตามินรวม โดยเฉพาะวิตามิน ซี

การรักษา

– เมื่อมีนกป่วยให้จับแยกมาขังไว้ในกรงที่ทำไว้สำหรับไก่ป่วยโดยเฉพาะ เปิดไฟขนาด 15-40 วัตต์กกไฟให้ความอบอุ่นตลอดเวลา

– ให้ยาลดไข้เด็กที่เป็นน้ำหยดใส่ปากนก 2-3 หยด หรือละลายน้ำให้นกกิน

– ให้หอมแดงโดยทับหัวให้แตก ทำให้เกิดกลิ่น เอาผ้าขาวบางห่อหัวหอม นำไปแขวนไว้ในกรง อยู่ระดับเดียวกับคอนเกาะ ให้นกสูดกลิ่นหอมแดง จากนั้นก็ใช้ผ้าคลุมกรง นกก็จะสูดเอากลิ่นหอมแดงเข้าไป เมื่อกลิ่นหอมแดงหมดก็เปลี่ยนใหม่ เพราะกลิ่นหอมแดงเป็นยาแก้ไขหวัด

– ใช้ตะไคร้ทุบให้เกิดกลิ่น แล้วใช้ผ้าขาวบางห่อไปใส่ไว้ในกรงเช่นเดียวกับหอมแดง กระเพรา โหระพา สะระแหน่ มาวางก็ได้

– ถ้าพวกกิน ตะไคร์ พริก กระเพราะ โหระพา สะระแหน่ ฟ้าทะลายโจร แถมพริกไทยสด ถ้าให้สูดดม หอมแดง หอมใหญ่ ตะไคร้ มะกรูด ถ้าไม่งั้นก้น้ำมันหอมระเหยวาเป็กซ์ วิค วาโปรับ กวางลุ้ง เป็นต้น

– ถ้าหาพวกสมุนไพรไม่ได้ ให้ใช้ วิค วาโปรับที่ทาสูดดมบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก น้ำมันกวางลุ้ง เซียงเพียวอิ้ว วาเป็กซ์ หยดลงบนผ้าหรือกระดาษทิชชู วางไว้ใกล้ที่นอน อย่าให้กลิ่นแรงมากเกินไป

– ในกรณ๊ที่นกทานอาหารไม่ค่อยได้ ให้ค่อยป้อนเสริมด้วยน้ำเกลือแร่ โอ อาร์ เอส หรือ ใช้น้ำผลไม้ 100% เจือจางน้ำสุกอุ่น 1:1 ชดเชยแหล่งพลังงาน

– จากนั้นทำการรักษาโดยการฉีดหรือให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซี่ซิลีน ด็อกซี่ไซคลิน เอ็นโรฟล็อกซาซิน หรือยาในกลุ่มซัลฟา

เมื่อเป็นหวัด สิ่งสำคัญคือ การพักผ่อนนอนให้เพียงพอ ให้ดื่มน้ำอุ่นมากๆ รักษาร่างกายให้อบอุ่นโดยการกกไฟ จะช่วยให้อาการทุเลาขึ้นอย่างรวดเร็ว

การใช้วิธีกินวิตามิน ซี เมื่อเป็นหวัด จริงอยู่ว่าสรรพคุณหนึ่งของวิตามินซีก็คือช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายและช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหล แต่การปล่อยให้ป่วยเสียก่อนค่อยมากินวิตามินซี ดูจะไม่ใช่วิธีการที่ดีนัก เราควรจะรับประทานวิตามินซีให้เป็นปกตินิสัย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะช่วยให้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่ายๆ

อาหารที่มีวิตามินซีสูง ก็คือ ผักสด เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ พริกทุกชนิด ผักกาดและผักใบเขียวทั้งหลาย ผลไม้สด เช่น ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ ลิ้นจี่ พุทรา มะกอก เงาะ แคนตาลูป ส้ม แอปเปิล มะเขือเทศ สับปะรด


 

*** โรคปอดบวม ***

โรคปอดบวม คือ อาการอักเสบ ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อปอด หลอดลม ถุงลมต่าง ๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย

 สาเหตุ เกิดเช่นเดียวกับไข้หวัด แต่ถ้าปล่อยปละละเลยไม่รีบทำการรักษา โอกาสที่จะลามต่อไปเป็นปอดบวมได้ อยู่ในที่ๆมีอากาศชื้นสูง อาการไม่ถ่ายเทมีน้ำขังโดนละอองฝน โดนฝน หรือเวลานกอาบน้ำแล้วไม่นำนกไปตากแดด นำไปเก็บเลย ทำให้นกขนเปียกไม่แห้งเป็นโรคปอดบวมง่าย

อาการมักเริ่มจาก

– การมีน้ำมูก หรือมีไข้ คล้ายการเป็นไข้หวัด

– ไอจาม หายใจเหนื่อย มีเสมหะเหนียว

– ได้ยินเสียงหายใจครืดคราด เนื่องจากมีเสมหะมากและเหนียว

– หายใจเร็วกว่าปกติ มีอาการหอบเหนื่อย เวลาหายใจจมูกจะบาน ช่วงหน้าอกและท้องจะบุ๋ม

– กินอาหารไม่เป็นปกติ มีอาการซึม

การป้องกัน 

– เมื่อนกเกิดอาการหวัดควรรีบทำการรักษาอย่าปล่อยไว้นาน

– ควรทำการป้องกันการโดนละอองฝน

– ควรจัดให้มีการถ่ายเทอากาศไม่ให้ชื้นมาก

– ควรนำนกไปให้โดนแดด โดยเฉพาะแดดยามเช้า หรือบริเวณแดดรำไรใต้ชายคาหรือที่กิ่งไม้ เพื่อให้ขนแห้ง

การรักษา 

– รักษาเช่นเดียวกับนกที่เป็นหวัด

– รมยาเพื่อช่วยขยายหลอดลม ผ่านทางการหายใจ


 

*** โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) ***

โรคหลอดลมอักเสบหรือโรคหืด หมายถึงการอักเสบของหลอดลม อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมของอากาศโดยรวดเร็ว กรงเลี้ยงชื้นแฉะสกปรก อากาศมีความชื้นมาก นกสูดเอาฝุ่นละอองเข้าไปมาก และยังเกิดขึ้นจากโรตติดต่อและโรคธรรมดาบางโรคด้วย เช่น โรคแอสเปอร์กิลโลซีส โรคหวัด ฯลฯ

อาการ 

– จะเริ่มแสดงอาการซึมเหงา เบื่ออาหาร หายใจลำบาก และมีเสียงดังขณะหายใจและ

จามเสมอ ๆ บางตัวอ้าปากค้างมีอาการหอบ หางกระตุก มีอาการติดต่อกันเป็นพัก ๆ

– นกจะอ้าปากหายใจ เพราะนกหายใจลำบาก เสียงหายใจจะดังในลำคอ

– จะมีเมือก และจะตายเพราะมีน้ำเมือกอุดตันในหลอดลม ทำให้ปอดอักเสบ

– นกจะไอ น้ำมูกไหลซึมอยู่นิ่งๆ เบื่ออาหาร ซึ่งโรคนี้จะมากับอากาศและละอองฝน

– หายใจลำบากมีเสียงดัง อ้าปากหายใจ และบางครั้งร้องเสียงดัง จามมีเลือดปนออกมา ชนิดไม่รุนแรงมีอาการตาอักเสบ น้ำมูกน้ำตาไหล หน้าบวม

การป้องกัน 

– ทำความสะอาดกรง อย่าให้ชื้นแฉะ

– ในนกลูกป้อนต้องระวังเรื่องความสอาดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้อน

– ในลูกนกที่ป้อนด้วยสายป้อน ให้ดูเรื่องความสอาด ไม่ใช้สายป้อนที่เริ่มเสื่อม เหลืองแข็ง

– ไม่ใช้สายป้อนที่ขนาดใหญ่เกินไป จะไปครูดกับหลอดอาหารทำให้เกิดการอักเสบได้

การรักษา 

– ในกรณีที่เกิดจากเชื้อไวรัส ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผล ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการ และให้นกฟื้นจากโรคด้วยภูมิต้านทานของตนเอง

– ในกรณ๊ที่นกทานอาหารไม่ค่อยได้ อาเจียน ให้กินไวตามินเสริมและอีเลคโตรไลท์ละลายน้ำให้กินช่วยให้นกฟื้นโรคเร็วขึ้น (เกลือแร่แบบซอง โอ อาร์ เอส จะมีทั้งสารให้พลังงาน และสารอีเลคโตรไลท์) หรือ ใช้น้ำผลไม้ 100% เจือจางน้ำสุกอุ่น 1:1 ชดเชยแหล่งพลังงาน

– อาจให้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กินเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย หรือโดยการฉีด การรมยา ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซี่ซิลีน อ๊อกซี่ไซคลิน เอ็นโรฟล็อกซาซิน หรือยาในกลุ่มซัลฟา

***** นกสำลักอาหารที่ป้อน *****

นกเกิดอาการสำลักอาหารป้อนเข้าในหลอดลม

พยายามเช็คซับเศษอาหารออกจากปากและรูจมูกของนกออกให้ได้มากที่สุด

ชื่อยา: CEPHALEXIN (เซฟาเลกซิน)   ขนาดแคปซูล 250 mg / 500 mg    แบบยาเม็ด 250 mg / 500 mg  แบบยาน้ำ ขวด 100 ml (125 mg /5 ml)ราคา 85-100 บาท/ขวด

ประเภท: ตัวยา CEPHALEXIN เป็นยาลดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจและปอด

ใช้รักษาอาการ: ใช้ตอนเมื่อนกเกิดอาการสำลักอาหารเข้าในหลอดลม โดยนกจะมีอาการสำลักอาหาร ( อ้าปากหายใจเหมือนหอบ แลบลิ้นออกมา หายใจมีเสียงดัง เสียงร้องเปลี่ยนไป แหบ )

การให้ยา: โดสในการรักษาสำหรับสัตว์เล็ก 25 -100 mg/ น้ำหนักตัว 1 kg. ต่อวัน

(นกเล็ก 2.5 -10 mg /น้ำหนักตัว 100 กรัม / วัน )

ปริมาณยาควรแบ่งให้ 2 – 4 เวลา/ วัน  ระยะเวลาที่ให้ 7-14 วัน

ที่จะสดวกหน่อยคือหาแบบที่เป็นขวดน้ำ 100 ml. วิธีผสมเติมน้ำสุกลงไปเล็กน้อยเขย่าให้ยาละลายดีและเติมน้ำสุกต่อให้ถึงขีด ก้จะพร้อมใช้งาน

จะมีความเข้มข้นที่ 125 mg /5 ml เราก้สามารถคำนวนปริมาณเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวนกได้ด้วย เช่น ตัวอย่าง

นกซัน หนักประมาณ 100 กรัม โดสยาที่ใช้จะประมาณ 10 mg /100 gm / วัน

ถ้าเราจะให้ วันละ 2 เวลา ก็ให้ครั้งละ 0.25 ml. วันละ 2 เวลา เช้า และ เย็น ( 5 หยด)

ถ้าเราจะให้ วันละ 4 เวลา ก็ให้ครั้งละ 0.10 ml. วันละ 4 เวลา ทุก 6 ชม. ( 2 หยด)

การให้ที่แน่นอน ควรมีไซริงจ์ ขนาด 1 ml จะมีขีดบอกที่ชัดเจน หรือหากไม่มีไซริงจ์ 1 ml อาจใช้หลอดหยด (Dropper) มาแทนได้โดย อัตราประมาณ 20 หยด เท่ากับ 1 ml

cephalexin เป็นสมาชิกของกลุ่มของยาปฏิชีวนะที่เรียกว่า cephalosporins. cephalosporins อยู่ในชั้นเรียนของยาที่เรียกว่ายาปฏิชีวนะเบต้า lactam ที่มีความสัมพันธ์โครงสร้างของครอบครัวของยาปฏิชีวนะ penicillin. cephalosporins ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยการทำลายผนังเซลล์ของพวกเขา, ซึ่งเป็นกลไกเดียวกันของการกระทำที่ถูกใช้โดยยาปฏิชีวนะ penicillin ชื่อทางการค้าอื่นๆ เช่น

Apo-Cephalex, Biocef, Cefanox, Ceforal, Cephabos, Cephalexin, Cephorum, Ceporex, Cilex, Ialex, Ibilex, Kefexin, Keflet, Keflex, Rekosporin, Keforal, Keftab, Keftal, Lopilexin, Larixin, Novo-Lexin, Ospexin, Tenkorex, Zephalexin, Panixine Disperdose, Sialexin, Sporidex and Ulexin.

*** โดยปกติยามักมีรสขม ทำให้นกมักอาเจียนทิ้ง อาจใช้วิธี ดูดยาตามกำหนดมาผสมกับน้ำผลไม้

เพื่อช่วยเพิ่มรสหวานและลดความขมของยา ในอัตราส่วน 1:1 จะช่วยให้นกทานได้ง่ายขึ้น ***

*********************************************************

ชื่อยา:

ด้อคซี่ไซคลีน (doxycycline) ขนาด 100 มก / แคปซูล

ประเภท: ยาแก้อักเสบ มีทั้งเป็นรูปเม็ด แคปซูล หรือแบบผงละลายน้ำ

ใช้รักษาอาการ: ใช้รักษาโรคทางเดินหายใจ หวัด หลอดลม ทางเดินอาหารและลำไส้อักเสบหรือนกที่ซึมจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ

การ ให้ยา: โดส 25mg/1ก.ก. ตัวอย่างถ้านกหนัก 100 กรัม โดสยาจะเท่ากับ 2.5 mg/100 กรัม 

 – ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้ แบ่งแคปซูลออกเป็น 4ส่วน เอามา 1ส่วน ผสมน้ำ10 cc. ดูดน้ำยา 1 cc. ป้อนให้นก วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน 5 วัน ยาส่วนที่เหลือ ห่อด้วยกระดาษเป็นส่วนๆ ใส่ถุงซิปรัดแน่น แช่เย็นไว้ใช้ในครั้งต่อไป

– หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ครึ่งเม็ดผสมน้ำ100ซี.ซี.ให้กินน้ำยาเอง 5 วัน เช้าละลายยา เย็นเทน้ำยาทิ้ง

หมายเหตุอื่นๆ: ยาตัวนี้ค่อนข้างระคายเคืองกระเพาะ หากกินผสมอาหารจะดี อีกอย่างยาจะค่อนข้างขม นกไม่ค่อยชอบ แต่หากผสมกับวิตามินรวมที่เป็นไซรัป ก็จะดี ป้อนง่ายกว่า

*** โดยปกติยามักมีรสขม ทำให้นกมักอาเจียนทิ้ง อาจใช้วิธี ดูดยาตามกำหนดมาผสมกับน้ำผลไม้

เพื่อช่วยเพิ่วรสหวานและลดความขมของยา ในอัตราส่วน 1:1 จะช่วยให้นกทานได้ง่ายขึ้น ***

************************

ชื่อยา:

เอ็นโรฟล๊อคซาซิน10% (enrofloxacin10%) ชนิดความเข้มข้น 10% จะมี 100 mg. ต่อ 1 cc.

ประเภท: ยาแก้อักเสบใช้รักษาอาการ: สามารถต่อต้านเชื้อทังแกรมบวกและแกรมลบครอบคลุมได้กว้างกว่าด้อคซี่ รักษาอาการท้องเสียได้ด้วย

การให้ยา: โดส 15 mg/1ก.ก. โดสการใช้กับนกแก้ว คือ 10-20 mg. ต่อ น้ำหนักนก 1 kg. ให้ยาติดต่อกัน 5-7 วัน วันละ 2 เวลา เช้า/เย็น

 – ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้

เตรียมจากเข้มข้น 10 % มาที่ขนาดใช้รักษา 0.5% โดยการนำ เอ็นโร 10% มา 1 cc. เติมน้ำสุกลงให้ครบ 20 cc. จะเทียบเท่ากับ เอ็นโร 0.5% 20 cc. (พร้อมนำไปใช้)

นก น้ำหนักตัว 1 kg. ( 1000 กรัม) ให้ยาเอ็นโร 0.5% จำนวน 3.0 cc. (15 mg)

นกที่น้ำหนักตัว 100 กรัม ให้ยาเอ็นโร 0.5% จำนวน 0.3 cc.หรือประมาณ 6 หยด

– หรือจะคำนวนแบบใช้ไซริงจ์ 1 cc.

แต่ก่อนอื่นมาดูวิธี คำนวนโดสยา ก็คือว่า ถ้านกป่วย นน.ตัว 500 กรัม และโดสการใช้สำหรับนกแก้วคือ 15 mg. ต่อ น้ำหนักนก 1 kg.

โดยจะใช้ เอนโร ชนิดความเข้มข้น 10% จะมี 100 mg. ต่อ 1 cc. นก นน.ตัวอยู่ที่ 500 กรัม โดสยาที่เหมาะสมคือ 7.5 mg.

สำหรับนกป่วยตัวนี้ โดยใน เข็มฉีดยา 1 cc. จะมีเส้นยาแดงอยู่ 100 เส้น โดย10เส้น = 0.1 cc. ดังนั้นในปริมาณยา 0.15 cc จะมีตัวยาอยู่ 15 mg. ซึ่งจะเป็นโดสที่ให้กับ นกที่มี นน. ตัว 1 kg. แต่นกตัวนี้ หนักแค่ ครึ่งกิโล ดังนั้น ก็ต้องลด ปริมาณยาลงมาครึ่งนึง โดยปริมาณยาที่เหมาะสมนั้นก็จะเป็น 0.075 cc ซึ่งหมายความว่า 7.5 เส้นยาแดงในเข็มฉีดยาชนิด 1cc. นั่นเอง

ซึ่งถ้านกหนัก 300กรัม ก็จะเป็น 0.045 cc. ซึ่งเท่ากับ 4.5 เส้นยาแดงของ เข็มฉีดยาขนาด 1 cc. ถ้านกหนัก 100กรัม ก็จะเป็น 0.015 cc. ซึ่งเท่ากับ 1.5 เส้นยาแดงของ เข็มฉีดยาขนาด 1 cc. ก็จะราวๆนี้..

– หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ละลายยาให้นกกินน้ำเอง ใช้ เอ็นโร 10% จำนวน 0.2 ซี.ซี./น้ำ 50 ซซ.

หมายเหตุอื่นๆ: เป็นยาสัตว์ สรรพคุณจะดีกว่าด้อคซี่

*** โดยปกติยามักมีรสขม ทำให้นกมักอาเจียนทิ้ง อาจใช้วิธี ดูดยาตามกำหนดมาผสมกับน้ำผลไม้

เพื่อช่วยเพิ่วรสหวานและลดความขมของยา ในอัตราส่วน 1:1 จะช่วยให้นกทานได้ง่ายขึ้น ***

************************

ชื่อยา :

อะม็อกซี่ซิลลีน (Amoxicillin) 500 มก./แคปซูลเป็นยา ใช้สำหรับโรคติดเชื้อที่ไวต่อยานี้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ดังต่อไปนี้ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โพรงจมูกอักเสบ ทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนกลาง เช่น หลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรังปอดบวมชนิดในหลอดลมหรือกลีบปอด หนองในเยื่อหุ้มปอด ฝีในปอด โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ-อวัยวะเพศ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ ไตและกรวยไตอักเสบ

การใช้ยา  โดสขออะม๊อกซี่ซิลลีน คือ 100 มก/น.น.นก1ก.ก.  หรือ 10 มก/น้ำหนัก 100 กรัม

– ถ้าแบบfeedแบ่งยาเป็น 5 ส่วน เอามา 1ส่วนผสมน้ำ 10 cc. ดูดน้ำยา 1cc. feed หรือหยดให้นกกิน น้ำยาที่เหลือเก็บเข้าตู้เย็น เวลาจะใช้ก็เอาออกมาให้คลายความเย็นก่อน ให้ยาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน 5 วัน

– ส่วนแบบละลายยาให้นกกินน้ำยาเอง เอามา 1ส่วนผสมน้ำ100 cc. เช้าละลายยา เย็นเทน้ำยาทิ้ง ติดต่อกัน 5 วัน แต่ต้องมั่นใจว่า นกยังสามารถกินน้ำยาได้

สรรพคุณ อะม็อกซี่ซิลลีน (Amoxicillin)

-เป็นยาพวกเดียวกับแอมพิซิลลิน (Ampicillin) ซึ่งสังกัดอยู่ในกลุ่มเพนิซิลลิน เนื่องจากยานี้ดูดซึมทางลำไส้ได้ดีกว่า ใช้ขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของแอมพิซิลลิน รวมทั้งใช้กินหลังอาหารได้ จึงนิยมใช้ยานี้แทนแอมพิซิลลินในทุกกรณี

-เป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวาง ทั้งชนิดแกรมบวก (Gram-positive) และแกรมลบ (Gram-negative)

-ใช้รักษาโรคติดเชื้อของระบบอวัยวะ ดังต่อไปนี้

1. ทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดที่มีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ ครู้ปจากแบคทีเรีย

2. หู เช่น หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน

3. ทางเดินอาหาร เช่น บิด ไทฟอยด์ เหงือกอักเสบ แผลอักเสบจากการถอนฟัน

4. ทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ หนองใน

5. ผิวหนัง เช่น แผลเปื่อย แผลอักเสบ ฝี ตุ่มหนอง พุพองประเภทยา

ชนิดแคปซูล 250 มก. และ 500 มก.ชนิดน้ำเชื่อม 125 มก. ต่อช้อนชา และ 250 มก. ต่อช้อนชา

มีชื่อทางการค้า เช่น อะม็อกซิลลิน (Amoxcillin), อะม็อกซี (Amoxy), ไอบิอะม็อกซ์ (Ibiamox) เป็นต้นขนาดและวิธีใช้

*** โดยปกติยามักมีรสขม ทำให้นกมักอาเจียนทิ้ง อาจใช้วิธี ดูดยาตามกำหนดมาผสมกับน้ำผลไม้

เพื่อช่วยเพิ่วรสหวานและลดความขมของยา ในอัตราส่วน 1:1 จะช่วยให้นกทานได้ง่ายขึ้น ***

*************************

ชื่อยา:

poly-ophประเภท: ยาหยอดตา

– แก้อักเสบ

ใช้รักษาอาการ: ในกรณีที่ยุงกัดหรือติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเลียทั้งแกรมบวกและลบได้

การให้ยา: หยอดตา

หมายเหตุอื่นๆ: – กลุ่มยาหยอดตา พยายามหลีกเลี่ยงยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของคลอแรมเฟนิคอล

**************************

(img:3968002236723)

ชื่อยา:

ไมโครสตาติน (mycostatin) ชื่อการค้า ทิสตาติน

ประเภท: ยาต้านเชื้อราใช้รักษา

อาการ: สาเหตุการเกิดโรคคือป้อนอาหารที่ข้นเกินไปและปริมาณมาก ทำให้เกิดเชื้อราที่กระเพาะพัก ต้องดูดอาหารเก่าออกให้หมดแล้วให้ยาการ ให้ยา: โดส 3 ซ.ซ./ น้ำหนักตัว 1ก.ก. วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร 5-10 นาที ติดต่อกัน 3 วัน

– (ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ด้วย) โดส 0.3 cc./น.น.นก100กรัม ให้ก่อนอาหาร 10นาที วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน เสร็จแล้วป้อนอาหารตาม 30 cc.

หมายเหตุ อื่นๆ: มักใช้เฉพาะกับนกลูกป้อน การทำงานเป็นลักษณะยาสัมผัสตัวเชื้อราถึงจะฆ่าเชื้อราได้

ชื่อยา:

เมโทรนิดาโซล (metronidazole) มีหลายรูปแบบทั้งชนิดที่เป็นม็ด และเป็นน้ำ โดยแบบน้ำนั้นจะเป็นรูปแบบของยาฉีด คุณภาพและมีความบริสุทธิ์ของตัวยาสูง แต่นำมาคำนวณขนาดการให้ยาใหม่ให้เหมาะสมกับรูปแบบกิน ใช้ผสมน้ำให้กิน หรือใช้ป้อนโดยตรง..

แต่ยาฉีดจะหาซื้อยาก รูปแบบที่หาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไปคือในรูปแบบเม็ดซึ่งใช้ได้ดีเหมือนกัน ราคาไม่แพง ยิ่งซื้อเป็นกระปุกจะยิ่งถูกมาก สามารถนำมาบดผสมอาหารได้

ประเภท: ยาตัวนี้ปลอดภัยในการรักษาโรคเบื้องต้นเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และออกฤทธิ์ได้ดีกับแบคทีเรียกลุ่มอื่นๆ รวมถึงเชื้อบิดซึ่งถือเป็นโปรโตซัวที่ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารทำให้อึมี เลือดปน

ใช้รักษาอาการ: ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวหรือโรคบิด อาการของโรคท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือดและโรคแคงเกอร์ มักเกิดในนกพิราบและนกเล็กบางสายพันธุ์เช่นฟิ้นส์7สี อาการของโรค กินอาหารแล้วผอมลงๆ อกจะแหลมและตายในที่สุด

สาเหตุเกิดจากเป็นเชื้อราที่ทางเดินอาหาร นอกจากนี้ในนกปากขอจะมีโปรโตซัวอีกชนิดหนึ่งที่ก่อปัญหาเรื้อรัง ทำให้นกผอมลงเรื่อยๆ ซึ่งยา Metronidazole ก็ออกฤทธิ์คลอบคลุมโปรโตซัวชนิดนี้ด้วย การใช้ยาชนิดนี้ เป็นครั้งคราวจะช่วยลดปัญหาโปรโตซัวได้

การให้ยา: โดส25-50mg/1ก.ก. วันละครั้ง ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้ หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ละลายยาให้นกกินน้ำเอง ครึ่งเม็ด125mg/น้ำ100ซี.ซี.หมายเหตุอื่นๆ: ซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป

 

Ronivet-S 6% – Original Formula

6% – 60mg/g Ronidazole

12% – 120mg/Kg Ronidazole

 

Ronsivet 6% ออกฤทธิ๋ต่อเชื้อโปรโตซัวที่เป้นอันตรายเช่น trichomonas, Hexamita, Giardia, and Cochlosoma/canker

ขนาดบรรจุ Ronivet-s 25g   100g   500g

สารออกฤทธิ์  Ronidazole ( พัฒนามาจาก Metronidazole) สามารถละลายได้ดีในน้ำ

Directions Dose rate: ปริมาณยาในการรักษา 4 กรัม / น้ำ 4 ลิตร ( หรือ 1 กรัม / น้ำ 1 ลิตร ) ให้ทานติดต่อกัน 7 วัน

Notes Ronivet-S สามารถให้ได้ทุกช่วงอายุ เพื่อฆ่าเชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดดรค โดยเฉพาะโรคแคงเกอร์ ไม่ทำให้นกตัวผุ้เป้นหมันในระหว่างการใช้ยา

ปัญหาการติดเชื้อโปรโตซัว สามารถพบได้บ่อยและเป้นสาเหตุการตายทั้งในลูกนกแรกเกิด นกเด็ก และนกรุ่นที่โตแล้ว

อาการที่เริ่มสังเกตุได้ นกท้องเสีย ถ่ายเหลว ลักษณะอึสีเขียวแกมเหลือง อาหารไม่ย่อย(อาจเห็นเมล็ดพืชที่กินไม่ย่อยออกมาให้เห็น) ก้นแฉะก้นเปียก มีอึติดก้น ซึม นอนทั้งวัน นอนแบบเอาหัวซุกใต้ปีก

ยาสามารถให้กินได้ตลอดเวลาที่เริ่มสังเกตุเห็นความผิดปกติ ไม่เป็นอันตรายต่อลูกนกแรกเกิด

การเก็บรักษา เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงการโดนความร้อนและแสงแดด

Prescription Avian/Animal Remedy

Keep Out of The Reach of Children

For Avian/Animal Treatment Only

 TREATMENT FOR CANKER

Ronivet-S ใช้สำหรับรักษานกในกลุ่ม ( budgies, pigeons and canaries ) ที่ป่วยจากเชื้อทริดคโมแนส ( trichomoniasis ) or other protozoal diseases eg. Cochlosoma in finches.

ลักษณะเด่นของโรคที่สังเกตุได้คือพบแผ่นหนาสีออกเหลือง ในช่องปาก หลอดอาหาร และกระเพาะพัก

นกที่นำมาใหม่ควรกักโรคและให้ยาฆ่าเชื้อโปรโตซัวให้เรียบร้อยก่อนนำเข้าฝูง เพื่อควบคุมการกระจายของโรคสู่ตัวอื่นๆ

เชื้อมีโอกาสดื้อต่อยาในกลุ่มเมโทรนิดาโซลได้ แต่สำหรับ โรนิดาโซลเราสามารถให้เข้มข้นเพิ่มถึง 5 เท่าโดยที่ไม่เป็นอันตราย ดังนั้นในกรณีที่เชื้อดื้อยาเมโทรนิดาโซล เราอาจให้ โรนิดาโซลในอัตรา 5 เท่า ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน แล้วกลับมาใช้ที่โดสปกติต่ออีก 4 วัน

ในนกพิราบที่ปล่อยแข่งหรือในนกแก้วที่หลุดไปหลายวันแล้วกลับมา ควรได้มีการให้กินยาเพื่อป้องกันอย่างน้อย 24 ชม. เพื่อเป็นการป้องกันในกรณีนกไปกินน้ำที่สกปรกมีเชื้อปนเปื้อน..

**************************************

(img:3959454943046)

Ronivet-S 12%

a water soluble, water stable chemical that has extremely high safety margins. It can be used at any stage of the birds breeding cycle to combat protozoal infection. Rovivet- S 12% is recommended for smaller birds. It is the same as the Ronivet-S 6% just stronger so it takes less to use in the drinking water.

Canker/Cochlosoma is the most commonly encountered protozoal disease in aviculture. It can devastate finches and canary breeding flocks and is a significant disease in exhibition canaries. The classic “cankers” (large yellowish masses in the throats and crops of birds) are the “tip of the iceberg” when it comes to the disease. Many other effects are seen from Trichomonads.

Sign of Protozoan infection: diarrhea, yellowish/green droppings, undigested seed in droppings, dirty feathers around the vent, molting problems and sleeping during the day, head tucked over their wing feathers. It is best to treat your birds before the breeding season.

Protozoan infections are very serious and common cause of hatchling, young and adult bird deaths. These single cell parasites are present in most birds kept in captivity and become active during stressful periods such as during the breeding season. Because Protazoa are persistent organisms, and in many cases infections can only be controlled and not eradicated with the use of drugs regular treatments need to be part of any aviary management program. New introductions and birds in quarantine should be routinely treated at recommended rates.

Dost rate: Ronivet-S 12% Use 1 teaspoon per 2 gallons of drinking water for 7 days.

Trichomoniasis: Treat all breeders for 7 days 4-6 weeks before breeding.Treat all young for 7 days after fledging.

Cochlosoma: Treat all breeders for 7 days prior to breeding season.Treat all young for 7 days after fledging.

Hexamita and Giardia: Treat for 7 days as indicated by your veterinarian.

Made up Ronivet-S 12% solution may be kept in the refrigerator for up to 7 days.Remove all other water sources during treatment. Empty and refill drinking water containers with medication daily.

Available in: 25g, 100g and 500g

****************************************************

ยาแก้ปวด แก้อักเสบ กลุ่ม NSAIDs

(ในสัตว์ห้ามให้ยาแก้ปวดกลุ่มพาราเซตามอล หรือ แอสไพลิน เป็นอันตรายรายละเอียดยา Mobic 7.5 mg [ ยาเม็ด ]

ชื่อสามัญ Meloxicam

ชื่อการค้า Mobic 7.5 mg

รูปแบบยา ยาเม็ด

ยานี้ใช้สำหรับ ยานี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด บวมจากภาวะอักเสบของข้อ เช่น ไขข้อกระดูกอักเสบ (osteoarthritis) ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ยานี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด บวมจากภาวะไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป (juvenile rheumatoid arthritis)ยานี้ใช้อาจเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด บวมจากภาวะไขข้อกระดูกสันหลังอักเสบ (ankylosing spondylitis)

วิธีใช้ยา ยานี้อยู่ในรูปแบบยาเม็ด ใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละ 1 ครั้ง หรือให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรรับประทานยาพร้อมดื่มน้ำตามหนึ่งแก้ว ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที เพื่อลดอาการไม่สบายท้องที่อาจเกิดจากยา และควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกครั้ง

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ การแพ้ยาเมรอกซิแคม (meloxicam) แอสไพริน (aspirin) กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือแพ้ยาอื่นๆยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพร ที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้มีความผิดปกติของการทำงานของตับหรือไต

สำหรับ นก เตรียมยา 1 เม็ดในน้ำสุกอุ่น 10 ซซ.

น้ำหนักนกไม่เกิน 50 กรัม      ให้ทาน 0.05 ซซ.     หรือ 1 หยด

น้ำหนักนกไม่เกิน 100 กรัม    ให้ทาน 0.075 ซซ.   หรือ 2 หยด

น้ำหนักนกไม่เกิน 500 กรัม   ให้ทาน 0.1-0.15 ซซ.หรือ 4-5 หยด

น้ำหนักนกไม่เกิน 1000 กรัม  ให้ทาน 0.2 ซซ.       หรือ 7-8 หยด

วันละ 1 ครั้ง  หลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร  ให้ทานน้ำตามหลังเป้นระยะๆ

***************************************************

สำหรับยาปฎิชีวนะที่ใช้ได้ผลดีจะมีหลายตัวเช่น ด๊อกซี่ไซคลิน(แค็ปซูล),อ๊อกซี่เตต้าไซคลิน(แบบฉีด) นอร์ฟล๊อกซาซิน (แบบเม็ด))และเอ็นโรฟล็อกซาซิน(แบบละลายน้ำกิน) ตัวใดตัวหนึ่งตามความเหมาะสม

ขนาดยาที่ใช้ ในไก่น้ำหนัก 2.5-3โล (โดยประมาณ) 3000 กรัม

**ด๊อกซี่ไซคลิน ชนิดแค็ปซูล 100 มิลลิกรัม ป้อนให้กินวันละเม็ด ติดต่อกัน5-7วัน

**อ๊อกซี่เตต้าไซคลิน ชนิดฉีด เข้มข้น 100 มิลลิกรัม/ซีซี ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก0.5-1ซีซี ติดต่อกัน 3-5วัน ควรฉีดสลับที่หน้าอกด้านซ้าย-ขวา

**เอ็นโรฟล๊อกซาซิน ชนิดน้ำ เข้มข้น 10% ป้อนให้ไก่กิน 0.5ซีซี วันละครั้ง ติดต่อกัน5-7วัน ถ้าเป็นยาที่เข้มข้น 20% ให้ลดปริมาณยาลงมาครึ่งหนึ่ง

**นอร์ฟล๊อกซาซิน ชนิดเม็ด ขนาด 100 มิลลิกรัม ให้กิน วันละเม็ด ติดต่อกัน5-7วัน (ถ้าเม็ดขนาด 200 และ 400มิลลิกร้มต้องลดขนาดยาลงมาตามสัดส่วน).

cr:https://web.facebook.com/legacy/notes/577844398898186/
https://web.facebook.com/anuchit.suwanarat

โป๊ะเชะอาชีพทำเงิน.. เลี้ยงนกกรงหัวจุกแฟนซี อึ้ง!กับราคาตัวละแสนบาท