รู้ไว้ได้ประโยชน์ » นากหญ้า สัตว์ฟันแทะที่กลายเป็นปัญหาของสัตว์และพืชท้องถิ่นเพราะมนุษย์

นากหญ้า สัตว์ฟันแทะที่กลายเป็นปัญหาของสัตว์และพืชท้องถิ่นเพราะมนุษย์

16 สิงหาคม 2022
823   0

นากหญ้า สัตว์ฟันแทะที่กลายเป็นปัญหาของสัตว์และพืชท้องถิ่นเพราะมนุษย์

นากหญ้า (nutria, coypu หรือ coipo) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myocastor coypus
จัดอยู่ในวงศ์ Myocastoridae ซึ่งมีเพียงนากหญ้า อยู่ในวงศ์นี้เพียงชนิดเดียว
ชื่อสามัญ nutria มาจากภาษาสเปน แปลว่า นาก
..ซึ่งได้นำมาใช้เรียกขนของนากหญ้าในวงการค้าขนสัตว์

สาเหตุที่ได้ชื่อว่านากหญ้า เพราะมีรูปร่างโดยทั่วไปดูเผินๆ คล้ายพวกนากกินปลา แต่กินเฉพาะพืชน้ำและหญ้าเป็นอาหาร
นากหญ้ามีขนาดลำตัว ค่อนข้างใหญ่สำหรับพวกสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู มีขนาดลำตัวยาว 37-70 เซนติเมตร หางยาว 24-45 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 3.5-10 กิโลกรัม บางตัวอาจมีน้ำหนักสูงถึง 17 กิโลกรัม ตัวผู้มีน้ำหนักตัวมากกว่าตัวเมีย 2-3 กิโลกรัม
หัวมีลักษณะมนกลม ปากสั้น คอสั้น ใบหูกลมและเล็ก หนวดเส้นหนา เฉพาะตีนหลังมีแผ่นพังผืดยึดระหว่างนิ้ว เพื่อใช้ใน การว่ายน้ำ หางยาวและมีขนขึ้นห่างๆ กัน ตัวเมียมีเต้านม 4-5 คู่ ซึ่ง ตั้งอยู่สูงทางด้านข้างลำตัว เพื่อให้สะดวกต่อการดูดกินของลูกๆ ในขณะที่ แม่ว่ายน้ำอยู่ ขนที่ปกคลุมลำตัวมีเลื่อมเป็นมัน ขนชั้นนอกยาวและหยาบ แต่ขนชั้นในหนาและนุ่ม ลำตัวมีสีแปรผันไปได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจน ถึงสีดำแกมแดง บางตัวมีแต้มสีขาวตรงบริเวณปาก
            ในถิ่นอาศัยเดิมนากหญ้าพบอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ในตอนใต้ของประเทศบราซิล ปารากวัย อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา และชิลี
เนื่องจากขนของนากหญ้ามีราคาค่อนข้างสูง จึงมีการนำเอานากหญ้า ไปเลี้ยงนอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติเดิม โดยจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงขึ้นใน หลายส่วนของโลก เช่น ในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ เอเชียตอนเหนือ และแอฟริกาตะวันออก
            นากหญ้าใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นบึง หนอง ลำธารและคลองระบายน้ำ ที่มีพืชน้ำขึ้นอยู่อุดม- สมบูรณ์ มันทำรังโดยการขุดโพรงเข้าไปตามตลิ่งที่ชันๆ หากหาตลิ่งสูงๆ ไม่ได้จะสร้างรังรูปทรงแบนๆ ซุกอยู่ในกอพืชน้ำสูงๆ
นากหญ้าว่ายน้ำ เก่ง และดำน้ำได้นานถึง 7 นาที อาหารได้แก่ พืชน้ำโดยทั่วไปหลายชนิด รวมทั้งพวกหญ้าต่างๆ ที่ขึ้นริมน้ำ บางครั้งก็กินพวกหอยฝาเดียว และหอยกาบน้ำจืดอีกด้วย
            ในบริเวณตอนเหนือของอาร์เจนตินา นากหญ้าจะโตถึงวัยเจริญ พันธุ์เมื่อมีอายุได้ 4 เดือน และมีน้ำหนักตัว 2-3 กิโลกรัม ตัวเมีย มีวงรอบการผสมพันธุ์ทุกๆ 23-26 วัน ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 2-7 ตัว เคยพบมีลูกมากถึง 13 ตัว ระยะตั้งท้องนาน 123-150 วัน ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 225 กรัม มีขนปกคลุมตัวและตาเปิด ลูกมักอยู่กับแม่นาน 6-10 อาทิตย์ อายุยืนในที่เลี้ยงนานถึง 10 ปี
            ชีววิทยาการดำรงชีวิตของนากหญ้า ค่อนข้างเรียบง่าย และมี ความสามารถในการปรับตัวได้ดีมาก หลายบริเวณนอกถิ่นอาศัยมี กลุ่มนากหญ้าออกไปอาศัยอยู่อย่างอิสระ บางแห่งกลายเป็นศัตรูพืช การจัดการเพาะเลี้ยงนากหญ้าเชิงพาณิชย์น่าจะมีการควบคุมอย่าง เข้มงวด เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการหลุดออกไปสู่ธรรมชาติ ของนากหญ้าต่อสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้
.. และด้วยขนคล้ายนากทำให้มันถูกเพาะเลี้ยงเพื่อเอาขนไปทำเสื้อสัตว์แทนนาก เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการส่งออกจากทวีปอเมริกาใต้ไปยังหลายภูมิภาคของโลก..
แต่ต่อมาในหลายพื้นที่พวกมันได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเมื่อแรกซื้อเป็นสัตว์เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ ต่อมาผลตอบรับไม่ดีนัก ทำให้มีคนนำไปปล่อยสู่แหล่งธรรมชาติ พวกมันจึงกลายเป็นสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาเบียดเบียนสัตว์ประจำถิ่นเดิม
ขอบคุณhttps://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=art..
https://www.nextsteptv.com/coypu/