ยูทูป » สิ้นแล้ว! ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ตำนานราชาเพลงแหล่จากสุพรรณบุรี

สิ้นแล้ว! ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ตำนานราชาเพลงแหล่จากสุพรรณบุรี

13 มกราคม 2022
1217   0

สิ้นแล้ว! ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ตำนานราชาเพลงแหล่จากสุพรรณบุรี

 

เปิดประวัติ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพชรน้ำดีจากจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าสู่ถนนสายเพลงด้วยพรสวรรค์ ก่อนเป็นตำนาน ราชาเพลงแหล่ มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงกว่า 2,000 เพลง..

นับเป็นข่าวเศร้าสะเทือนวงการลุงทุ่งไทย หลังจากที่ได้สูญเสียนักร้องระดับตำนาน ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ไปอย่างไม่มีวันกลับในวันนี้ 12 มกราคม 2565 เวลาประมาณ 15.24 น. สิริอายุ 79 ปี 

 ด้านลูกสาวเผยพ่อสู้มาก แม้จะไม่ได้ลากันต่อหน้า แต่ก็ได้บอกลาผ่านหน้าจอ หลังจากที่พ่อต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ปลายปี 64

ไวพจน์ มีความสามารถด้านการแต่งเพลงและได้แต่งเพลงดังให้กับนักร้องหลายคน ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างราชินีลูกทุ่งคนที่ 2 คือ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ขึ้นมาประดับวงการเพลงเมืองไทยด้วย

ไวพจน์ ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) เมื่อปี พ.ศ. 2540


ประวัติของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 เป็นชาวตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็นตำบลวังน้ำเย็น) อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และเป็นบุตรของ นายจำปี กับนางอ่ำ สกุลณี ชาวไทยเชื้อสายลาว ส่วนประวัติการศึกษา ไวพจน์เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น และสถานะครอบครัวได้สมรสกับ นางอรชร สกุลนี มีลูก 2 คน คือ อมรรัตน์ กับ วรพล สกุลนี

จุดเริ่มต้นเข้าสู่วงการเพลง

          ไวพจน์เริ่มหัดร้องเพลงอีแซว ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของ จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ โดยได้ฝึกหัดตามคุณแม่จนสามารถร้องเพลงอีแซวและเพลงแหล่ได้ตอนอายุ 14 ปี จากนั้นได้หัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง กระทั่งอายุ 16 ปี ได้เข้าประกวดร้องเพลงครั้งแรกที่วัดท่าตลาด ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โดยใช้เพลงแหล่ “จันทโครพ” ของ พร ภิรมย์ ผลก็คือได้รางวัลที่ 1

ต่อมาไวพจน์สนใจขับร้องเพลงลูกทุ่ง เพราะเป็นช่วงที่มีนักร้องลูกทุ่งมีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมาย เช่น ชัยชนะ บุญนะโชติ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร, ชาย เมืองสิงห์ โดยครั้งหนึ่ง ชัยชนะ บุญนะโชติ ได้นำวงดนตรีมาเล่นที่ตลาดสวนแตงและมีการรับสมัครประกวดร้องเพลง ไวพจน์จึงสมัครประกวดร้องเพลงและได้รับการชมเชยจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก

ชัยชนะ บุญนะโชติ จึงชักชวนให้เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า ไวพจน์ เพชรสุพรรณ หลังจากนั้นได้พาไวพจน์ไปฝากเป็นศิษย์ของครูสำเนียง ม่วงทอง นักแต่งเพลงซึ่งเป็นชาว จ.สุพรรณบุรี เจ้าของวงดนตรี “รวมดาวกระจาย” โดยไวพจน์ได้เข้ามาร่วมวงในฐานะนักร้องนำ และเพลงที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ “ให้พี่บวชเสียก่อน”

การประสบความสำเร็จ

          ไวพจน์มีความสามารถในการร้องเพลงที่หลากหลาย ทั้งเพลงลูกทุ่ง เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงแหล่ และเพลงเรือ จนทุกคนในวงการยกย่องให้เป็นราชาเพลงแหล่ เพราะมีผลงานบันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดประมาณ 2,000 เพลง ทั้งยังแต่งเพลงสร้างชื่อเสียงให้เหล่าลูกศิษย์มาแล้วมากมาย อาทิ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ในเพลง แก้วรอพี่ และ นักร้องบ้านนอก, เพชร โพธาราม ในเพลง ต.ช.ด. ขอร้อง และ ขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นต้น..

ตัวอย่างผลงานเพลงดัง ของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

– หนุ่มนารอนาง

– สาละวันรำวง

– แตงเถาตาย

– ฟังข่าวทิดแก้ว

– ใส่กลอนหรือเปล่า

– สาวภูไท

– อยากซิเห็นขาอ่อน

– รวยเขาแน่

– ซามักคักแท้น้อ

– ลำเลาะทุ่ง

– คนขายเลือด

– ซ้ายขวา

– เบี้ยวเป็นเบี้ยว

– เซิ้งบ้องไฟ

– ครวญหาแฟน

– แบ่งสมบัติ

– อยากรวยมาทางนี้

– เซิ้งสวิง

– เจ้าชู้บ้านไกล ฯ

นอกจากผลงานเพลง อาทิ หนุ่มนารอนาง, สาละวันรำวง, แตงเถาตาย, ฟังข่าวทิดแก้ว, ใส่กลอนหรือเปล่า และ สาวภูไท เป็นต้น ไวพจน์ก็ยังมีผลงานภาพยนตร์ที่เคยร่วมแสดงอีกกว่า 13 เรื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 – 2554

อัลบั้มรวมเพลง

  • อัลบั้มชุด ดีที่สุด 30 ต้นฉบับเพลงฮิตดีที่สุด
  • อัลบั้มชุด แหล่ประวัติยอดรัก
  • อัลบั้มชุด แหล่ 1-8
  • อัลบั้มชุด ไวพจน์ลาบวช
  • อัลบั้มชุดที่ 8 ขุนพลเพลงแหล่
  • อัลบั้ม เมดเล่ย์มันส์ระเบิด ชุด เพลงแหล่มันส์จังหวะสามช่า

ผลงานภาพยนตร์

– ไทยน้อย (ปี พ.ศ. 2512)
– สาละวัน (ปี  พ.ศ. 2512)
– ฝนเหนือ (ปี  พ.ศ. 2513)
– จอมบึง (ปี  พ.ศ. 2513)
– อยากดัง (ปี  พ.ศ. 2513)
– ไทยใหญ่ (ปี  พ.ศ. 2513)
– มนต์รักป่าซาง (ปี  พ.ศ. 2514)
– มนต์เพลงลูกทุ่ง (ปี  พ.ศ. 2522)
– เทพเจ้าบ้านบางปูน (ปี  พ.ศ. 2525)
– นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (ปี  พ.ศ. 2527)
– เลือดแค้น เล็กนกใน (ปี  พ.ศ. 2533)
– มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม (ปี  พ.ศ. 2545)
– เหลือแหล่ (ปี  พ.ศ. 2554)

เกียรติยศ

  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พ.ศ. 2540
  • เข็มพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ. 2514
  • รางวัลนักร้องดีเด่นจากงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยทั้ง 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2532 จากเพลง สาละวันรำวง และ พ.ศ. 2534 จากเพลง แตงเถาตาย
  • รางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0..
https://www.google.com/search?client=firefox-b..