โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) หรือมงคล่อเทียม
ประวัติ
เมลิออยโดซิสหรือโรคมงคล่อเทียมพบครั้งแรกในชาวพม่า ปี ค.ศ. 19 11 และในสมัยนั้นเข้าใจว่าเป็นโรคมงคล่อพิษ (glanders) ต่อมาได้มีผู้ป่วยโรคนี้ในชาวพม่าที่ติดยาเสพติดอีกหลายรายและได้พิสูจน์ว่าเป็นโรคมงคล่อเทียมซึ่งแตกต่างจากโรคมงคล่อพิษ
คำว่าเมลิออยโดซิสมาจากลักษณะอาการของโรคซึ่งคล้ายกับโรค ติสเทมเปอร์ (distemper) ในสัตว์พวกลา โรคนี้มีรายงานครั้งแรกเกิดขึ้นในสัตว์ทดลองที่สถาบันวิจัยการแพทย์กัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเข้าใจว่าติดเชื้อมาจากอาหารสัตว์ที่ได้รับเชื้อมาจากหนู
เชื้อแบคทีเรีย ซูโดโมนาสนี้ พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ โคลนตม สามารถอยู่ในน้ำได้นานประมาณ 8 สัปดาห์และอยู่ในโคลนตมได้ประมาณ 7 เดือน สัตว์เป็นโรคนี้ได้จากการกินหรือหายใจเอาเชื้อเข้าไปหรือเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ในโคนมเชื้อจะเข้าทางรูหัวนมทำให้เต้านมมีการอักเสบหรือเชื้อเข้าทางช่องคลอดขณะที่โคกำลังคลอดทำให้เกิดมดลูกอักเสบ โรคมงคล่อเทียมจะพบมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน
สัตว์ที่ป่วยให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือซัลฟา เช่น เทอราไมซิน หรือ ซัลฟาไดอะซิน Oxytetracycline หรือ Pennicillin และ Streptomycin ให้ผลปานกลางในการลดอาการ แต่การรักษามักไม่ค่อยได้ผลยาปฏิชีวนะในกลุ่ม
ยาคลอแรมฟินิคอล (chloramphinicol) เป็นยาที่เหมาะสมที่สุด หรือในรายที่เป็น acute หรือ subacute อาจใช้คลอแรมฟินิคอล 12 กรัมต่อวัน ร่วมกับโนโวไบโอซิน 2 กรัมต่อวัน และคานามัยซิน 4 กรัมต่อวัน ยาดังกล่าวนี้อาจให้เป็นเวลาหลายวัน ขนาดของยาอาจลดลงเมื่อเลี้ยงเชื้อใน culture ไม่พบ การให้ยาระยะ สั้นอาจทำให้เกิดอาการของโรคกลับมาใหม่ และเชื้ออาจต้านยาได้
ส่วนยาพวก ซัลฟาไดอะซิน และอ๊อกซีเตตะซัยคลิน ให้ผลดีในรายที่เป็นเรื้อรังและไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น
การติดต่อของเมลิออยโดซิสมาสู่คนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เข้าใจว่าอาจติดต่อได้ทางผิวหนัง และการหายใจ ( Piggott and Hochholzer, 1970 ) การติดต่อโรคโดยตรงจากคนไปสู่คนยังไม่มีรายงาน ในสัตว์ทดลองมีรายงานทำให้ติดเชื้อได้ โดยกินอาหารที่มีเชื้อ หรือให้เชื้อผ่านเข้าไปทางจมูก (Laws and Hall, 1964) อย่างไรก็ตามมีการทดลองโดยนำหนูที่เป็นโรคมาขังรวมกับหนูปกติ ปรากฏว่าไม่ทำให้หนูปกติเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ ในแพะและแกะที่มีวิการของโรคในบริเวณเต้านมทำให้เชื้อผ่านมาทางน้ำนมได้ (Hubbert, 1969) การทดลองพบว่าหมัดหนู (Xenopsylla cheopis) และยุง Aedes aegypti เป็นพาหะของโรคได้ และเชื้อ Pseudomanas pseudomallei สามารถจะทวีจำนวนได้ในระบบย่อยอาหารของพาหะดังกล่าว (Laws and Hall, 1964)
มีผู้สนับสนุนว่าโรคนี้อาจติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ โดยสงสัยผู้ป่วยกลาสีเรือที่ท่าเรือจิตตะกอง ในบังคลาเทศ (Hubbert 1969) อย่างไรก็ตามมีการติดต่อโรคนี้ซึ่งเชื่อว่าอาจติดต่อได้จากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อ หรือเข้าทางผิวหนังที่เป็นแผล ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เคยมีรายงานว่าทหารฝรั่งเศสที่ต้องเดินทาง ข้ามผ่านลุ่มนํ้า หนองบึง ในแถบอินโดจีนมีอัตราป่วยเป็นโรคนี้สูงเป็น ๑๐ เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทหารที่เดินทางโดยการลำเลียงทางอากาศ
สัตว์กักตุนโรค
เชื้อ Pseudomonas pseudomallei มักระจายอยู่ทั่วไป และพบสัตว์ต่างๆ ติดโรคนี้ได้ในธรรมชาติ เช่น หนู หนูตะเภา กระต่าย แมว สุนัข แพะ แกะ สุกร โคกระบือ ม้า ลิง อูฐ นกแก้ว เนื้อทราย จิงโจ้ และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ สัตว์ป่วยี่มีการระบาดของโรคนี้เป็นครั้งคราว คือ แพะ แกะ และ สุกร โดยจะมีอาการเดินโขยกเขยก หรือโซเซเวลาไล่ หรือมีอาการทรงตัวไม่ดี
นอกจากนี้มีฝีเกิดขึ้นตามต่อมน้ำเหลือง ม้ามและปอด มีอาการไอ น้ำมูกกรังที่จมูก และอาจมีไข้ หรือมีอาการของศูนย์ประสาทกลางร่วมด้วย ลักษณะที่เป็นฝีหรือตุ่ม (nodule) จะมี caseous necrosis, epitheloid และ fibrohyperplasia ซึ่งลักษณะจะคล้ายกับโรค มงคล่อพิษ (glanders) มาก จากหลักฐานที่ได้จากประวัติของผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วย รวมถึงภาวะการเกิดของโรคนี้พบว่าส่วนมาก คนและสัตว์จะเป็นโฮสต์อุบัติการ (accidental host) ดังนั้นในท้องที่ที่มีโรคนี้เกิดขึ้นในสัตว์ส่วนมากจะมีโรคเกิดขึ้นในคนด้วย
เชื้อในสภาพสิ่งแวดล้อม
P. pseudomallei อยู่อย่างอิสระทั่วไปตามพื้นดิน และน้ำมีผู้แยกเชื้อได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น แยกได้จากผิวน้ำในป่า และแอ่งน้ำที่ทำเหมืองแร่ ๓-๓.๒% จากดินตามนาข้าว ๑๖.๔ % พื้นดินทั่วๆ ไป ๒๗.๔ % และการพบเชื้อตามแหล่งต่างๆ ดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบแอนติบอดีย์ของเชื้อนี้ในคน (Redfearn and
>สารบัญสำคัญ “คัมภีร์คนเลี้ยงแพะ”
>สารานุกรมชื่อเจ้าของฟาร์มแพะ ทั่วไทย 2018-2019(รวมเฟซบุ๊คเพื่อนชาวแพะไทย)
>รวมฟาร์มจำ-หน่าย ขี้แพะทั่วไทย
กลุ่มไลน์ เลี้ยงแพะยั่งยืน (แอดไลน์มาที่ทีมงาน 108kaset 0874638654 แล้วจะดึงเข้ากลุ่มครับ ) *ไลน์นี้ซื้-อข-าย สั-ตว์ได้ครับ