ยูทูป » วิทยาศาสตร์กับการหลงลืม

วิทยาศาสตร์กับการหลงลืม

18 ธันวาคม 2019
2316   0

เชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนนั้นคงจะมีสิ่งที่ยังจำได้และสิ่งที่หลงลืมไปแล้วในอดีต (หรือลืมเมื่อกี๊นี้) กันทุกคน การหลงลืมนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติและธรรมชาติคือวิทยาศาสตร์ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้ในหัวข้อของ “วิทยาศาสตร์กับการหลงลืม” อย่างคล่าวๆกัน (overview) ครับ ^^

อย่างแรกที่เราจะศึกษากันคือเรื่อง “ตำแหน่งของสมองที่มีหน้าที่เก็บความทรงจำ” นักวิทยาศาสตร์แรกๆนั้นเชื่อกันว่าสมองทุกส่วนจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำอย่างละเท่าๆกัน แต่ในปัจจุบันนี้พบว่าสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำนั้น แบ่งเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  1. คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (Prefrontal cortex)
    เป็นสมองส่วนที่เก็บความทรงจำในเรื่องของ ภาษาศาสตร์ (semantic tasks)
  2. อะมิกดะลา (Amygdala)
    เป็นสมองส่วนที่เก็บความทรงจำเกี่ยวกับ ความกลัว
  3. ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)
    เป็นสมองส่วนที่สร้าง ความทรงจำระยะยาว (ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ สมองส่วนนี้มักจะมีความผิดปกติ)
  4. ซีรีเบลลัม (Cerebellum)
    เป็นส่วนในการเก็บความทรงจำแบบซับซ้อน เช่น ความทรงจำในการเล่นเปียโน เป็นต้น

อย่างที่สองนั้นเป็นเรื่องของ การลืม (Forgetting) ซึ่งเป็นภาวะที่ระบบความทรงจำลบข้อมูลที่ได้เคยจำไว้ได้นั้นออกไป ทำให้จำไม่ได้ ซึ่งเกิดได้จากกระบวนการลืม 4 ประเภท ได้แก่

  1.  การไม่ได้ใช้ความจำนั้น (decay through dis-use) เป็นการลืมเนื่องจากจดจำข้อมูลไว้นานแล้ว หากแต่ไม่มีตัวกระตุ้นที่เหมาะสมจึงไม่ได้นำความจำในเรื่องนั้นๆกลับมาใช้เป็นเวลานาน
  2. ผลของการแทรกสอดจากสิ่งที่เรียนรู้เพิ่ม (interference effect) เป็นการรบกวนกันของข้อมูลใหม่ต่อข้อมูลเก่าผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยเกิดผล 2 แบบได้แก่
    1) การย้อนระงับ (retroactive inhibition) เป็นการที่ข้อมูลที่เรียนรู้ใหม่ไประงับสิ่งที่เรียนรู้ไว้เดิม โดยถือว่าความรู้เดิมขาดความสำคัญและเกิดการลืมเลือนไป
    2) การตามระงับ (proactive inhibition) เป็นการที่ข้อมูลที่เรียนรู้ไว้แต่เดิมแสดงบทบาทยับยั้งการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ เมื่อข้อมูลใหม่ขัดแย้งกับข้อมูลเดิม และเกิดภาวการณ์ยึดติดกับข้อมูลเดิมไว้ ทำให้ลืมเลือนข้อมูลใหม่ไป
  3. การจงใจลืม (motivated forgetting) เป็นความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของบุคคลในการที่จะลืมข้อมูลบางส่วน อันเนื่องมาจากสถานการณ์บางอย่าง เช่น อุบัติเหตุ การตกใจ
  4. ความล้มเหลวในการเรียกคืนความจำ(retrieval failure theory) เป็นการที่บุคคลนำข้อมูลเก็บไว้เป็นความทรงจำระยะยาว แต่ไม่สามารถเรียกออกมาได้ เนื่องจากมีการจดจำที่ผิดพลาด ไม่จัดหมวดหมู่ไม่ถูกต้อง และการขาดสิ่งกระตุ้นความทรงจำที่เหมาะสม ทำให้กลายเป็นความทรงจำที่ปิดสนิท

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับความรู้ในวันนี้ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆนะครับ สำหรับวันนี้ของตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ^^

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจาก
courses.lumenlearning.com
เพจปรัชญาจิตวิทยา
th.wikipedia.org
tha.psychic-parapsychologist.com