หลุมอากาศ คือการเปลี่ยนแปลงของการไหลของอากาศอย่างฉับพลัน เมื่อเครื่องบินบินผ่านอาจทำให้เครื่องบินสั่นไปๆ มาๆ คล้ายรถตกหลุมขรุขระ..
การเกิดหลุมอากาศอาจไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก เพราะไม่สามารถทำให้เครื่องบินตกได้ อย่างไรก็ตามความรุนแรงของการหลุมอากาศ มีตั้งแต่ระดับต่ำ ปานกลาง และรุนแรง คืออาจทำให้เครื่องบินขึ้นลงได้ตั้งแต่ 1 – 30 เมตร ดังนั้นระหว่างการนั่งเครื่องบินควรรัดเข็มขัดตลอดการเดินทาง และไม่เดินเล่นบนเครื่องบิน เว้นว่าต้องการเข้าห้องน้ำในยามจำเป็น
ความรุนแรงของการการตกหลุมอากาศ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับดังนี้
1.ระดับต่ำ (ขึ้นลง 1 เมตร) ผู้โดยสารอาจไม่รู้สึก
2.ระดับปานกลาง (ขึ้นลง 3-6 เมตร) ผู้โดยสารรู้สึกน้ำในแก้วอาจหก
3.ระดับรุนแรง (ขึ้นลงได้มากถึง 30 เมตร) ถ้าไม่รัดเข็มขัดผู้โดยสารอาจหลุดจากเก้าอี้
หลุมอากาศเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุ ได้แก่
●เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบิน บินเข้าไปใกล้กับรอยต่อระหว่างขอบนอกของกระแสลมกรด กับบริเวณสภาพอากาศปกติ ซึ่งกรณีนี้จะไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้า เป็นเหตุผลให้จำเป็นต้องรัดเข็มขัดระหว่างนั่งบนเครื่องบินตลอดการเดินทาง
●เกิดขึ้นเมื่อมีลมปะทะภูเขา ทำให้อากาศอีกด้านปั่นป่วน เกิดเป็นหลุมอากาศ ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ อย่างไรก็ตามหากนักบินไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จะเตือนผู้โดยสาร
●พายุฝนฟ้าคะนอง ทำให้เกิดหลุมอากาศ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ นักบินจึงหลีกเลี่ยงไม่บินไปใกล้ได้
ไซมอน คิง ผู้สื่อข่าวแผนกสภาพอากาศของบีบีซี ซึ่งเป็นอดีตนายทหารแห่งกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักร (RAF) กล่าวไว้ หลุมอากาศส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเมฆที่มีลมพัดขึ้นและลง โดยส่วนใหญ่จะเป็นหลุมอากาศที่ค่อนข้างเบา แต่ในเมฆขนาดใหญ่ เช่น เมฆคิวมูโลนิมบัสที่ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง การเคลื่อนไหวของอากาศที่วุ่นวายสามารถก่อให้เกิดหลุมอากาศระดับปานกลางหรือแม้แต่ขั้นรุนแรงได้
มีหลุมอากาศอีกประเภทหนึ่งที่ถูกเรียกว่า “ความปั่นป่วนในอากาศที่ชัดใส” ซึ่งตามชื่อก็บอกว่าไม่มีเมฆและไม่สามารถมองเห็นได้ หลุมอากาศชนิดนี้เป็นปัญหามากกว่าเพราะตรวจจับได้ยาก
กาย กราตตัน นักวิชาการด้านการบินและนักบินพาณิชย์กล่าวว่า ความปั่นป่วนประเภทนี้เกิดขึ้นรอบ ๆ กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็น “แม่น้ำ” ของอากาศที่ไหลอย่างรวดเร็ว พบได้ทั่วไปที่ความสูง 40,000-60,000 ฟุต
10 เส้นทางบินพ.ศ.2566 ที่มีเครื่องบินประสบเหตุตกหลุมอากาศมากที่สุด
เขากล่าวว่าความเร็วของอากาศในกระแสลมกรดอาจมีความแตกต่างจากอากาศรอบข้างได้ถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง ความเสียดทานรอบ ๆ กระแสลมกรด ระหว่างอากาศที่เคลื่อนที่ช้ากว่าและเร็วกว่าเป็นสาเหตุของหลุมอากาศได้ ปรากฏการณ์นี้จะมีอยู่เสมอและเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ทำให้หลีกเลี่ยงได้ยาก
กราตตัน กล่าวด้วยว่า หากคุณบินจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ มันยากที่จะหลีกเลี่ยงกระแสลมกรดทั้งหมดได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการตกหลุมอากาศที่รุนแรง
“หลุมอากาศ” แม้จะไม่ได้อันตรายเพราะไม่ทำให้เครื่องบินตกก็จริง แต่บางครั้งการเกิดขึ้นของหลุมอากาศ ก็ไม่สามารถรับรู้ล่วงหน้าได้ ดังนั้นการรัดเข็มขัดตลอดการเดินทางอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เรารับมือกับการเผชิญความรุนแรงของการตกหลุมอากาศในทุกระดับ
ขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.bbc.com/thai/articles/c6pplgeggzzo,https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B..
วิทย์สนุกรอบตัว และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ข้อคิดดีๆหลังจากเจ้าสัววิชัย อภิมหาเศรษฐีแสนล้านบาทของเมืองไทยเครื่องบินตก.