โป๊ะเช๊ะ ดอท คอม

ข่าวดี ! ยึดทรัพย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์กว่าหมื่นล้านบาท เปิดช่องทางขอเงินคืนมี3วิธีดังนี้..

ข่าวดี ! ยึดทรัพย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์กว่าหมื่นล้านบาท เปิดช่องทางขอเงินคืนมี3วิธีดังนี้..

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงประชาชนคนไทยโอนเงินมูลค่าเสียหายนับแสนล้านบาทนั้น ล่าสุด นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า สามารถตรวจยึดทรัพย์สินแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผลมาจากการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 สืบเส้นทางการเงินมาเรื่อยๆ และขณะนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ยึดทรัพย์เป็นของกลาง ดังนี้..

กล่าวสำหรับ ทรัพย์สินยึดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีความจำเป็นต้องเฉลี่ยทรัพย์คืนให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หลังจาก ปปง. ยึดทรัพย์มาแล้ว

– จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ใน 90 วัน

– ให้เจ้าของทรัพย์มายื่นคำร้องว่าเป็นทรัพย์ของตัวเองหรือไม่ว่าเสียหายไป

– ส่งจดหมาย ส่งอีเมลล์ และการไปยื่นด้วยตนเองที่สำนักงาน ปปง.

– ปปง. จะส่งเรื่องไปยังอัยการ เพื่อส่งต่อไปยังศาล เพื่อคุ้มครองทรัพย์

– ถ้าทรัพย์เพียงพอสำหรับผู้เสียหายทุกคนก็จะครอบคลุมทรัพย์ที่เสียหาย

– ถ้าไม่พอก็จะมีการเฉลี่ยทรัพย์ตามที่ยึดได้จริง อาจได้รับคืนไม่เท่าที่เสียหายไป

– ผู้เสียหายจะพิสูจน์อย่างไรว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ ต้องเอาหลักฐานสลิปการโอนเงินว่าตรงหรือเกี่ยวข้องกับเส้นทางการเงินที่เรายึดทรัพย์มาได้

ขั้นตอนการขอทรัพย์คืน

  • ระยะเวลาไม่น่าเกิน 1 ปี จะแล้วเสร็จ ตอนนี้มีเงินอยู่ที่ระบบราชการแล้วนับหมื่นล้านบาท

 

ขั้นตอน คืนเงินหมื่นล้าน ปปง. ยึดทรัพย์ยึดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์

การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย ตามกฎหมายฟอกเงิน

  1. ต้องมีการกระทําความผิดมูลฐานๆ เกิดขึ้นและมีผู้เสียหายจากการ กระทําความผิดดังกล่าว
  2. คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิดไว้ชั่วคราว
  3. พนักงานเจ้าหน้าที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเว็บไซต์สํานักงาน ปปง. เพื่อให้ประชาชนมายื่นคําร้องขอรับการคุ้มครองสิทธิ
  4. สํานักงาน ปปง. เปิดรับคําร้อง ให้ผู้เสียหายยื่นคําร้องขอคุ้มครอง สิทธิพร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  5. สํานักงาน ปปง. รับคําร้องขอ คุ้มครองสิทธิ แล้วตรวจสอบ และจัดทําความเห็นเกี่ยวกับ ความเสียหายเสนอเลขาธิการ ปปง. เพื่อเสนอคณะกรรมการธุรกรรมมีความเห็น
    (กรณีไม่เห็นชอบ ให้มีหนังสือแจ้งมติแก่ผู้เสียหาย โดยเร็ว และถ้าผู้เสียหายไม่เห็นด้วยกับมติ ให้มีสิทธิ ร้องขอให้พิจารณาทบทวนได้ โดยทําเป็นหนังสือระบุ ข้อโต้แย้ง เหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้ง พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ยื่นต่อเลขาธิการ ปปง. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติดังกล่าว)
  6. เลขาธิการ ปปง. ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายโดยเร็ว
  7. ผู้เสียหายจะได้รับเงิน ชดใช้คืนเมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดใช้คืนแทนการสั่ง ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

ช่องทางในการยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิ

– ยื่นด้วยตนเอง ณ สํานักงาน ปปง.

– ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยวงเล็บ 2 มุมซองด้านบนว่า “ส่งแบบคําร้องขอ คุ้มครองสิทธิรายคดี….”

– ยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ คลิก

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
– พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
– กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงาน ปปง. พ.ศ. 2565

(ไม่มีค่าธรรมเนียมในการดําเนินการ)

 

อ้างอิง – สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

เตือนภัย!!ยังไม่หมด.. แก๊งคอลเซ็นเตอร์เถื่อนอ้างมีพัสดุ หลอกล้วงข้อมูล หากหลงเชื่อถอนเงินจากบัญชีเกลี้ยง