ข่าวดี ! ยึดทรัพย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์กว่าหมื่นล้านบาท เปิดช่องทางขอเงินคืนมี3วิธีดังนี้..
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงประชาชนคนไทยโอนเงินมูลค่าเสียหายนับแสนล้านบาทนั้น ล่าสุด นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า สามารถตรวจยึดทรัพย์สินแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผลมาจากการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 สืบเส้นทางการเงินมาเรื่อยๆ และขณะนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ยึดทรัพย์เป็นของกลาง ดังนี้..
- เงินสดรวมได้ประมาณ 6,000,000,000 บาท หรือ หกพันล้านบาท
- อสังหาริมทรัพย์อีกจำนวนหนึ่งประมาณ 4,000,000,000 บาท หรือ สี่พันล้านบาท
- รวมกันแล้วประมาณ 10,000,000,000 บาท หรือ หนึ่งหมื่นล้านบาท
กล่าวสำหรับ ทรัพย์สินยึดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีความจำเป็นต้องเฉลี่ยทรัพย์คืนให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หลังจาก ปปง. ยึดทรัพย์มาแล้ว
– จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ใน 90 วัน
– ให้เจ้าของทรัพย์มายื่นคำร้องว่าเป็นทรัพย์ของตัวเองหรือไม่ว่าเสียหายไป
– ส่งจดหมาย ส่งอีเมลล์ และการไปยื่นด้วยตนเองที่สำนักงาน ปปง.
– ปปง. จะส่งเรื่องไปยังอัยการ เพื่อส่งต่อไปยังศาล เพื่อคุ้มครองทรัพย์
– ถ้าทรัพย์เพียงพอสำหรับผู้เสียหายทุกคนก็จะครอบคลุมทรัพย์ที่เสียหาย
– ถ้าไม่พอก็จะมีการเฉลี่ยทรัพย์ตามที่ยึดได้จริง อาจได้รับคืนไม่เท่าที่เสียหายไป
– ผู้เสียหายจะพิสูจน์อย่างไรว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ ต้องเอาหลักฐานสลิปการโอนเงินว่าตรงหรือเกี่ยวข้องกับเส้นทางการเงินที่เรายึดทรัพย์มาได้
ขั้นตอนการขอทรัพย์คืน
- ระยะเวลาไม่น่าเกิน 1 ปี จะแล้วเสร็จ ตอนนี้มีเงินอยู่ที่ระบบราชการแล้วนับหมื่นล้านบาท
ขั้นตอน คืนเงินหมื่นล้าน ปปง. ยึดทรัพย์ยึดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย ตามกฎหมายฟอกเงิน
- ต้องมีการกระทําความผิดมูลฐานๆ เกิดขึ้นและมีผู้เสียหายจากการ กระทําความผิดดังกล่าว
- คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิดไว้ชั่วคราว
- พนักงานเจ้าหน้าที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเว็บไซต์สํานักงาน ปปง. เพื่อให้ประชาชนมายื่นคําร้องขอรับการคุ้มครองสิทธิ
- สํานักงาน ปปง. เปิดรับคําร้อง ให้ผู้เสียหายยื่นคําร้องขอคุ้มครอง สิทธิพร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- สํานักงาน ปปง. รับคําร้องขอ คุ้มครองสิทธิ แล้วตรวจสอบ และจัดทําความเห็นเกี่ยวกับ ความเสียหายเสนอเลขาธิการ ปปง. เพื่อเสนอคณะกรรมการธุรกรรมมีความเห็น
(กรณีไม่เห็นชอบ ให้มีหนังสือแจ้งมติแก่ผู้เสียหาย โดยเร็ว และถ้าผู้เสียหายไม่เห็นด้วยกับมติ ให้มีสิทธิ ร้องขอให้พิจารณาทบทวนได้ โดยทําเป็นหนังสือระบุ ข้อโต้แย้ง เหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้ง พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ยื่นต่อเลขาธิการ ปปง. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติดังกล่าว) - เลขาธิการ ปปง. ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายโดยเร็ว
- ผู้เสียหายจะได้รับเงิน ชดใช้คืนเมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดใช้คืนแทนการสั่ง ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
ช่องทางในการยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิ
– ยื่นด้วยตนเอง ณ สํานักงาน ปปง.
– ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยวงเล็บ 2 มุมซองด้านบนว่า “ส่งแบบคําร้องขอ คุ้มครองสิทธิรายคดี….”
– ยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ คลิก
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
– พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
– กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงาน ปปง. พ.ศ. 2565
(ไม่มีค่าธรรมเนียมในการดําเนินการ)
อ้างอิง – สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)