เครื่องยนต์สันดาปภายในยุคใหม่ที่จะมาพูดถึงกันในวันนี้ ที่ได้รับการพัฒนาร่วมจาก GAC และ Toyota โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุตสาหกรรมการเดินเรือและการขนส่งสินค้า ซึ่งกำลังสำรวจเกี่ยวกับแอมโมเนียเพื่อทดแทนน้ำมันดีเซลสำหรับเรือและรถบรรทุก ..
ตามข้อมูลของ GAC ได้ระบุสเปคว่าใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 2.0 ลิตร ผลิตกำลังได้ 120 กิโลวัตต์ และมีกำลังสูงสุด 161 แรงม้า โดยใช้แอมโมเนียในการเผาไหม้ มันช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 90% เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ
เชื้อเพลิงแอมโมเนียมเหลวจะสามารถให้พลังงานกับเครื่องยนต์ได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ในปริมาณการใช้งานที่เท่าๆกัน ทว่าในทางกลับกันด้วยการปลดปล่อยคาร์บอนสู่สภาพแวดล้อมที่น้อยกว่า จึงทำให้มันอาจกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ..
สำหรับผู้ผลิตที่ยังอยากให้ขุมกำลังชนิดนี้ได้เดินต่อไปในภายภาคหน้าอย่างเช่น Toyota แต่นอกจากความหนาแน่นเชิงพลังงานจะต่ำกว่าแล้ว เชื้อเพลิงแอมโมเนียมเหลว ยังมีข้อด้อย หรือที่จริงคือความเสี่ยง เนื่องจากความเป็นพิษของตัวมันเองที่มีต่อมนุษย์อยู่ไม่น้อย จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย..
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก ที่ในช่วงแรกของโปรเจ็กท์การพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดนี้ จะต้องถูกจัดการในเรื่องการรั่วไหลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ด้วยความที่มันเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนค่อนข้างสูง จึงทำให้มันอาจจุดระเบิดได้ยาก หากเครื่องยนต์ไม่มีการอัดอากาศเข้ามาสู่ห้องเผาไหม้มากพอ หรือมีอัตราส่วนกำลังอัดไม่มากพอ..
ทั้งนี้ ทาง GAC และ Toyota ยังไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า พวกเขาจะนำเครื่องยนต์แบบใหม่นี้ มาใส่ในรถยนต์สำหรับการใช้งานทั่วไปในอนาคตหรือไม่ ? เพราะมีความเป็นไปได้ว่า ตอนนี้มันอาจเป็นโปรเจ็กท์ที่อยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น จึงทำให้อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไปอีกสักพักใหญ่ จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้จริง และปลอดภัยกับผู้ใช้ทั่วไปจริงๆ
แต่ถึงกระนั้น ผลงานการพัฒนาของ GAC Toyota ในครั้งนี้ก็ถือเป็นความพยายามในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์นอกเหนือจากการหันไปใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) เพียงอย่างเดียว.
ที่มา https://www.thaimotocar.com/2024/03/16/ammonia-powered-motor/
Toyota EPUจ่อเปิดตัวรถกระบะไฟฟ้า 100% ไซส์ยักษ์ พร้อมท้าชนCybertruckค่ายTESLA