โป๊ะเช๊ะ ดอท คอม

การนวดกดจุด เพื่อลดความดันสูงตามศาสตร์แพทย์แผนจีน(มหาวิทยาลัยมหิดล)

การนวดกดจุด เพื่อลดความดันสูงตามศาสตร์แพทย์แผนจีน(มหาวิทยาลัยมหิดล)

ความดันโลหิตสูงในทางการแพทย์แผนจีน คือ การที่ความดันในหลอดเลือดแดง มีความดันตัวบนมากกว่าหรือเท่ากับ 140 mmHg และ /หรือ ความดันตัวล่าง มากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg โดยการวัดซ้ำ 2 ครั้ง หรือมากกว่า

อาการแสดงของความดันโลหิตสูง

ปวดศรีษะ
เวียนศรีษะ
นอนไม่หลับ
ชีพจรตึง

สาเหตุ

มักเกิดจากลม ไฟ เสมหะ ความพร่อง และติดขัด หากต้นทุนก่อกำเนิดไม่เพียงพอ เลือดน้อย ประกอบกับการใช้ชีวิตที่มักมีอารมณ์ไม่ดี อาหาร และที่พักไม่เหมาะสม จะก่อให้เกิดการติดขัดของเสมหะในเส้นเลือด ทำให้เกิดความดันสูง

การป้องกัน

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงคือ ตับ ไต และหัวใจ สิ่งที่มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการเกิดโรคนี้ ได้แก่ บุคลิกภาพ และอารมณ์ อันได้แก่ อารมณ์เร่งรีบ ขี้โมโห ภาวะเครียด วิตกกังวล ความกลัว ทำให้ลมปราณตับติดขัด นานเข้าก่อให้เกิดไฟตับพลุ่งพล่าน เป็นผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นฉับพลัน ..

อารมณ์ดีใจเกินไปมีอันตรายต่อหัวใจ เมื่อลมปราณหัวใจสลายออก ทำให้การขับเคลื่อนเลือดอ่อนแรง เลือดเดินไม่สะดวก เกิดการติดขัดที่หลอดเลือด ทำให้วิงเวียน เมื่อมีภาวะวิตกกังวล ทำร้ายม้าม การทำงานของม้ามถดถอย มีภาวะน้ำคั่งภายใน สะสมมากขึ้นจนทำให้ความดันสูง

ดังนั้นการป้องกันความดันสูงจึงมีความสัมพันธ์กับการปรับอารมณ์ ปรับให้มีชีวิตชีวา จิตใจสงบ เยือกเย็น การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความดันโลหิตตัวบนได้ 6-10 mmHg และลดตัวล่างได้ 4-8 mmHg

การนวดกดจุดฝังเข็ม

การนวดกดจุดฝังเข็ม เป็นวิธีการบำรุงสุขภาพร่างกายที่มีประสิทธิภาพโดดเด่น เมื่อความดันสูง

จุดฝังเข็มช่วยลดความดัน

ป๋ายฮุ่ย
อิ้นถัง
เน่ยกวน
ชวีฉือ
หย่งเฉวียน
ซานอินเจียว

โดยเมื่อต้องการลดความดันสูงฉับพลัน ให้นวดกดจุดลดความดันหลังใบหู จุดไป่ฮุ่ย จุดชวีฉือ 10-20 นาที 3 จุดนี้ช่วยสงบลมตับ

จุดไป่ฮุ้ย ช่วยทำให้หยินหยางสมดุลย์ บรรเทาอาการตาลายวิงเวียนศรีษะ

จุดชวีฉือช่วยระบายลมร้อน และช่วยในการหมุนเวียนเลือด

วิธีการนวด

นวดกดจุดโดยใช้แรงอย่างอ่อนโยน จนรู้สึกถึงความปวดอ่อนๆบริเวณจุดที่นวด

และใช้เวลาในการนวด 5 นาทีขึ้นไป โดยอาจเปลี่ยนจุดได้เมื่อนวดถึง 3-5 นาที จำนวนความถี่ในการนวดในแต่ละวัน ไม่จำกัด
ช่วงเวลาที่เหมาะสม

ช่วงเวลาใดก็ได้ตามสะดวก ยกเว้น ก่อนและหลังอาหารภายใน 1 ชั่วโมงควรหลีกเลี่ยง

ข้อควรระวัง

ไม่ควรนวดในกรณี ต่อไปนี้..

-กระดูกหัก
-ตั้งครรภ์
-มีก้อนเนื้อ
-มีบาดแผลที่ผิวหนัง

ขอบคุณhttps://www.gj.mahidol.ac.th/main/tcm/acu-ht