ทุเรียนไทยเบอร์ 1 ของโลก แต่มีรายได้เกือบทั้งหมดจากส่งไปขายจีน .. หากจีนหยุดสั่งซื้อจะเกิดอะไรขึ้น?
13 มิ.ย. 2023
ทุเรียนไทยเบอร์ 1 ของโลก แต่มีรายได้จากจีน แทบทั้งหมด..
“110,000 ล้านบาท” คือมูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปีที่ผ่านมา
ทำให้ในวันนี้ ประเทศไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 ผู้ส่งออกทุเรียนของโลก แต่ตลาดส่งออกหลักของเรา แทบทั้งหมด ก็คือ ประเทศจีน
แล้วที่ผ่านมา การส่งออกทุเรียนไทย เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปัจจุบัน พื้นที่การปลูกทุเรียนของประเทศไทย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้
โดยนอกจากเราจะกินทุเรียนกันภายในประเทศเองแล้ว
อีกเป้าหมายหลักของเราก็คือ เพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน
อีกเป้าหมายหลักของเราก็คือ เพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน
ก็ต้องบอกว่า การปลูกทุเรียนเองนั้น ค่อนข้างทำได้ยาก
เพราะทุเรียนเป็นพืชที่ทนทานต่อโรค และสภาพอากาศได้น้อย อีกทั้งทุเรียนยังต้องใช้ระยะเวลาหลายปี กว่าจะเริ่มให้ผลผลิตได้
เพราะทุเรียนเป็นพืชที่ทนทานต่อโรค และสภาพอากาศได้น้อย อีกทั้งทุเรียนยังต้องใช้ระยะเวลาหลายปี กว่าจะเริ่มให้ผลผลิตได้
ส่งผลให้ทุเรียนของไทย ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาดจีน ราคาจึงปรับตัวแพงขึ้น สะท้อนให้เห็นจากราคาในช่วงที่ผ่านมา
– ปี 2560 ราคา 71 บาทต่อกิโลกรัม
– ปี 2565 ราคา 121 บาทต่อกิโลกรัม
– ปี 2565 ราคา 121 บาทต่อกิโลกรัม
พอเป็นแบบนี้ เกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่เคยปลูกพืชประเภทอื่น จึงตัดสินใจโค่นพืชที่เคยปลูกอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ยางพารา เงาะ ส้ม กาแฟ เป็นต้น แล้วหันมาปลูกทุเรียนแทน
ส่งผลให้ทั้งพื้นที่เพาะปลูก และมูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยนั้น เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไปด้วย
– ปี 2560 พื้นที่เพาะปลูก 839,000 ไร่
– ปี 2565 พื้นที่เพาะปลูก 1,341,000 ไร่
– ปี 2565 พื้นที่เพาะปลูก 1,341,000 ไร่
ในขณะที่ถ้ามาดู มูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทย
– ปี 2560 มูลค่าการส่งออก 22,000 ล้านบาท
– ปี 2565 มูลค่าการส่งออก 110,000 ล้านบาท
– ปี 2560 มูลค่าการส่งออก 22,000 ล้านบาท
– ปี 2565 มูลค่าการส่งออก 110,000 ล้านบาท
โดยจุดนี้มีความน่าสนใจ ก็คือ มูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยทั้งหมดก็คือ จีน คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 95%
ซึ่งก็พูดได้ว่า จีน เป็นผู้ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทุเรียนของประเทศไทย ให้เติบโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
แต่การที่เราพึ่งพาจีนมากขนาดนี้ ก็มองเป็นดาบสองคมได้ เช่นกัน..
เพราะหากวันหนึ่งเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศบางอย่างเปลี่ยนไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยให้ลดลงอย่างมาก
นอกจากนี้ จีนเองก็มีตัวเลือกที่เพิ่มขึ้น จากการที่คู่แข่งประเทศอื่น ๆ อย่างเวียดนาม มาเลเซีย ก็เริ่มมีการส่งออกทุเรียนเข้าไปยังประเทศจีน ซึ่งอาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทุเรียนไทยอีกด้วย
ซึ่งเรื่องนี้ ก็ถือเป็นโจทย์สำคัญของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เกษตรกรที่ปลูกทุเรียน ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องช่วยกันขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่น เพื่อลดการพึ่งพาจีนลง
หรือแม้แต่ การพัฒนาคุณภาพทุเรียน และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ ด้วยการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทุเรียนไทยมากขึ้น ทั้งหมดก็เพื่อให้ทุเรียนของเรานั้น ยังคงแข่งขันได้บนเวทีโลก และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศ ระดับแสนล้านบาท ได้อย่างยั่งยืน ไม่ซ้ำรอยเหมือนหลายสินค้าเกษตรของไทยที่ผ่านมา..
ขอบคุณhttps://www.blockdit.com/longtunman
https://www.google.com/..UPEgEaBLgYXzlYj..
https://www.google.com/..UPEgEaBLgYXzlYj..