อาหาร » อันตรายจากสารฟอร์มาลิน

อันตรายจากสารฟอร์มาลิน

5 ธันวาคม 2022
2930   0

อันตรายจากสารฟอร์มาลิน

ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)
ฟอร์มัลดีไฮด์ที่ความดันปกติจะมีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ติดไฟได้ ให้ความร้อนเมื่อติดไฟ 4.4 kcal/g ก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เมื่อรวมดัวกับอากาศ และออกซิเจนสามารถเกิดการระเบิดได้ ในทางการค้านิยมใช้อยู่ในรูปของสารละลายในน้ำ ที่ประกอบด้วยความเข้มข้นของฟอร์มัลดีไฮด์ที่ความเข้มข้นประมาณ 37-50% โดยน้ำหนัก

ชื่อ IUPAC : Methanal
ชื่อสามัญ : Formaldehyde, Methylene Oxide, Oxomethylene, Oxymethylene, Methylaldehyde
ชื่อสามัญสารละลาย : Formalin, Formal, Formaldehyde

ฟอร์มาลิน อันตราย ห้ามใช้ในอาหาร

-พิษต่อระบบทางเดินหายใจจะทำเกิดอาการแสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก
ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด และอาจถึงตายได้ ถ้าสูดดมในปริมาณมาก
-พิษจากการสัมผัส ทำให้เกิดอาการผื่นคันบริเวณผิวหนังกรณีที่สัมผัสกับฟอร์มาลินโดยตรงทำให้ผิวหนัง
อาจไหม้จนเปลี่ยนเป็นสีขาวได้
-พิษต่อระบบทางเดินอาหาร หากรับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดศีรษะและปวดท้องอย่างรุนแรง
และอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต..

ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภค
-ก่อนนำอาหารสดมาประกอบอาหาร ควรล้างให้สะอาดก่อนจะสามารถลดปริมาณสารพิษลงได้
โดยรับประทานอาหารที่สุกเพราะความร้อนจะทำให้สารนี้ระเหยออกไปบ้าง ลดความเสี่ยงได้
-การดมกลิ่นจะทำให้ทราบว่าอาหารนั้นมีฟอร์มาลินหรือไม่ คือถ้าอาหารนั้น มีกลิ่นแสบจมูก
ให้สันนิษฐานว่าน่าจะมีฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่..


ฟอร์มาลิน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีพิษ ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ละลายน้ำด้วยความเข้มข้นร้อยละ 37 โดยน้ำหนัก และมีเมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) ประมาณร้อยละ 10-15 เป็นองค์ประกอบด้วย มีลักษณะเป็นน้ำใส มีกลิ่นฉุน แสบจมูกและตา ใช้เป็นน้ำยาทำลายเชื้อโรค..

ฟอร์มัลดีไฮด์มีความสามารถละลายน้ำได้ดีมาก และสามารถรวมตัวกันเป็นโพลิเมอร์เมื่อความเข้มข้นมากขึ้น แต่การรวมตัวกันของฟอร์มัลดีไฮด์จะลดลงเมื่อเติมเมทานอลผสมด้วย เช่น สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์ 37% ผสมกับเมทานอล 7% ทำให้สารละลายมีความเสถียรที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส ส่วนารละลายฟอร์มัลดีไฮด์ 37% ผสมกับเมทานอล 1% ทำให้สารละลายมีความเสถียรที่อุณหภูมิ 40.5 องศาเซลเซียส แต่หากไม่ผสมเมทานอลแล้ว สารละลายจะมีความเสถียรที่อุณหภูมิ 67-71 องศาเซลเซียส

“ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์” ทั้งสองตัวนี้ในทางเคมีคือสารตัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า “ฟอร์มาลีน” ซึ่งเป็นชื่อที่เราคุ้น ๆ กันดีก็คือน้ำยาดองศพนั่นเอง ส่วน “ฟอร์มัลดีไฮด์” มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหะภูมิปกติ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนมากที่จำหน่ายกันอยู่ทั่วไปอยู่ในรูปของสารละลายน้ำภายใต้ชื่อน้ำยาฟอร์มาลีน

โดยปกติสารละลายนี้จะไม่เสถียรเมื่อเก็บไว้นานโดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูง จะกลายเป็นกรดฟอร์มิก จึงมีการเติมสารยับยั้งหรือที่เรียกว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวสเตบิไลเซอร์ เช่นเมทานอล 5-15 เปอร์เซ็นต์ หรือมีขายในรูปของพาราฟอร์มัลดีไฮด์ มีประโยชน์ในฐานะที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย ที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า “ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์” หรือ “ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์” ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น

สำหรับในวงการแพทย์ใช้ประโยชน์มากมาย อย่างเช่นการดองศพ ใช้ในเวชภัณฑ์ เช่นยาอม ใช้ฆ่าเชื้อโรค และฟอกหนัง เป็นต้น

ไอของฟอร์มัลดีไฮด์จะระคายตา จมูก และผิวหนัง ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้น้ำท่วมปอด จนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายชั่วโมงหลังจากได้รับสารโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเลยก็ได้ หากได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน จะมีอาการไอและหายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ เป็นต้น..

หากสูดดมฟอร์มาลินจะทำให้มีผลต่อระบบหายใจ คือ แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด และอาจถึงตายได้ถ้าสูดดมในปริมาณมาก นอกจากผลต่อระบบหายใจแล้ว ยังมีผลต่อระบบผิวหนัง คือ ทำให้เกิดผื่นคัน จนถึงผิวหนังอาจไหม้เปลี่ยนเป็นสีขาวได้หากสัมผัสกับฟอร์มาลินโดยตรง สำหรับพิษต่อระบบทางเดินอาหารนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมีการนำมาใช้กับอาหารกันมาก..

เมื่อกินอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินในปริมาณมากจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดท้อง ในปากและคอจะแห้ง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก อาจมีการถ่ายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด มีอาการเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น คอแข็ง ได้มีรายงานว่า มีผู้กินฟอร์มาลิน 2 ช้อนโต๊ะ เพื่อฆ่าตัวตาย พบว่า ตายภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับสารดังกล่าว และเมื่อผ่าศพผู้ตายพบแผลไหม้ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก

นอกจากผลในระยะสั้นที่มีอาการปรากฏชัดเจนแล้ว ผลในระยะยาวเคยมีรายงานว่า สารฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ซึ่งเป็นสารประกอบของฟอร์มาลินเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย

ฟอร์มาลินในอาหาร ผักหลายชนิดนอกจากจะฉีดสารพิษฆ่าแมลงแล้ว ยังมีการนำไปแช่ฟอร์มาลินอีกก่อนจำหน่าย เพื่อให้สดอยู่ได้นาน สังเกตได้จากผักในตลาดสดที่วางจำหน่ายไว้ 3-4 วันก็ยังสดอยู่ ไม่เหี่ยวเฉา ทั้งๆ ที่อากาศร้อน ผักที่อาจมีการปนเปื้อนของฟอร์มาลิน ได้แก่ ชะอม คะน้า ผักกระเฉด ผักชี ตั้งโอ๋ มะระ บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ฯลฯ ทั้งนี้ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ตรวจพบในผักชนิดเดียวกันจะแตกต่างกัน..

สารเคมีมีประโยชน์ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เมื่อทราบพิษภัยของมันแล้ว จงอย่าคิดนำฟอร์มาลีนไปล้างผักอย่างที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนกระทำกันอยู่ และเป็นข่าวอยู่เสมอ สิ่งตกค้างย่อมเป็นอันตรายได้เมื่อกินเข้าไป โดยเฉพาะฟอร์มัลดีไฮด์นี้มีข้อพิสูจน์ที่พอจะเชื่อได้ว่าเป็นสาร “ก่อมะเร็ง”

การได้รับฟอร์มาลินชนิดแบบเฉียบพลัน ดังนั้นพิษจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อไต ตับ เม็ดเลือด และหลอดอาหาร
การรักษาเบื้องต้น คือให้ดื่มน้ำทันที่ 1 แก้ว แล้วตามด้วยถ่านกัมมันต์ผง (คงเป็นหน้าที่ของแพทย์) และพยายามช่วยการหายใจ
ถ้าตับวาย/ไตวายก็รักษาตามอาการ
ไม่มียารักษาพิษโดยตรง
สิ่งที่น่าจะเป็นปัญหาสำคัญก็คือถ้าคนไข้รอดมาได้ น่าจะเกิดหลอดอาหารตีบ
ซึ่งอาจต้องแก้โดยการถ่างหลอดอาหาร หรือใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง
และระยะยาวอาจต้องผ่าตัดเอาหลอดอาหารออกและเอาลำไส้ใหญ่มาต่อแทน


ปศุสัตว์ บุกยึดเครื่องในและเนื้อสัตว์แช่ฟอร์มาลิน หลายหมื่นกิโลกรัม ส่งร้านหมูกระทะชลบุรีฯ66 แห่ง

ประโยชน์ฟอร์มาลีน/ฟอร์มัลดีไฮด์

1. ด้านอุตสาหกรรม
– ใช้ในกระบวนการผลิตเรซิน และพลาสติก
– ใช้ในการผลิต urotropin, แอลกอฮอล์, ยา, สี และวัตถุระเบิด
– ในเป็นสารเร่งการเกาะติดสี เป็นสารช่วยย้อม
– ใช้ในกระบวนการฟอกสี
– ใช้ในกระบวนการผลิตสี และหมึกพิมพ์
– ใช้ในอุตสากรรมกระดาษ ทำให้กระดาษลื่น และช่วยกันน้ำ
– ใช้เป็นส่วนผสมโลหะ ป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชัน
– ใช้ผลิตผงสำหรับการใช้ในไหมสังเคราะห์เพื่อช่วยปรับปรุงน้ำหนัก และความแข็งของไหม
– ใช้ช่วยรักษาภาพถ่ายให้เก็บรักษาได้นาน
– ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อ และใช้เป็นสารฆ่าเชื้อ

2. ทางด้านการเกษตร
– ใช้ทำลายเซื้อ ป้องกันเชื้อโรคทั้งในดิน น้ำ พืช และสัตว์
– ใช้ในการเก็บรักษาผลผลิตให้สามารถเก็บไว้ได้นานทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ จึงมักมีข่าวการตรวจพบแม่ค้าผสมฟอร์มาลีนในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อหมู ไก่ ปลา กุ้ง ปลาหมึก เป็นต้น
– ใช้ในการป้องกันความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรในระหว่างการขนส่ง
– ใช้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้ออุปกรณ์ และอาคารโรงเรือน
– ใช้เป็นปุ๋ย

3. ทางด้านการแพทย์
– ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อ และทำความสะอาดอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์
– ใช้สำหรับเก็บรักษาสภาพศพ เก็บรักษาร่างกายสัตว์

4. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
– ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางป้องกันเหงื่อออกมาก
– ใช้เป็นส่วนผสมของยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก สบู่ และครีมโกนหนวด สำหรับเป็นสารฆ่าเชื้อ
– ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาดับกลิ่นตัว

ระดับความเป็นพิษของฟอร์มัลดีไฮด์

การได้รับทางระบบทางเดินหายใจ
1. ความเข้มข้น 1 ppm สามารถรับรู้กลิ่น
2. ความเข้มข้น 2-3 ppm มีอาการระคายเคืองในระบบหายใจ
3. ความเข้มข้น 4-5 ppm มีอาการน้ำตาไหล และระคายเคืองในระบบหายใจ
4. ความเข้มข้น 10 ppm มีอาการน้ำตาไหล ไหลไม่หยุด และระคายเคืองในระบบหายใจ
5. ความเข้มข้น 10-20 ppm มีอาการน้ำตาไหล และระคายเคืองในระบบหายใจรุนแรง มีอาการแสบร้อนที่คอ หายใจลำบาก และไอ
6. ความเข้มข้น 50-100 ppm มีอาการน้ำตาไหล ไหลไม่หยุด และระคายเคืองในระบบหายใจรุนแรง ทำให้เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง.

cr:https://oryor.com/media/checkSureShare/media_printing/389
https://www.siamchemi.com/%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%..
นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์  https://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=43
https://www.consumerthai.org/data-storage/247-infomation/datafood/2846…
https://www.google.com/..&q=%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0..

ดาราดัง หยิบขวดน้ำดื่มผิด กลายเป็นดื่มน้ำยาทำความสะอาด ต้องหามเข้าโรงพยาบาล