เหล็กกัลวาไนซ์ คืออะไร ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง?
เหล็กกัลวาไนซ์คืออะไร .. คือกระบวนการนำสังกะสีมาชุบเคลือบตัวเหล็ก เพื่อป้องกันการเกิดสนิม ซึ่งวิธีการป้องกันการเกิดสนิมนั้นมีหลายวิธี แต่ที่นิยมกันหลักๆในท้องตลาด มี 2 วิธีคือ..
1.การชุบกัลวาไนซ์
2.ทาสีกันสนิม
●การชุบกัลวาไนซ์คือการขึ้นรูปเหล็กตามที่ต้องการ แล้วนำไปชุบในสังกะสีร้อนที่หลอมเหลว หรือ ที่เรียกกันว่า กระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot-dip galvanizing)
กระบวนการนี้ คนไทยนิยมเรียกกันว่าการชุบกัลวาไนซ์ ซึ่งตัวสังกะสีเองจะมีความหนาโดยประมาณ 65-300 ไมครอน เหมาะกับการใช้งาน สถานที่กลางแจ้ง (outdoor) หรือในบริเวณที่พบเจอความชื้นเป็นประจำ เช่น เสาธง เสาโคมไฟถนน
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : โดยเฉลี่ยใน 1 ปี นั้นชั้นของสังกะสีจะถูกกัดกร่อนไปประมาณ 1 ไมครอน ดังนั้นการใช้ เหล็กกัลวาไนซ์ จะเหมาะอย่างยิ่งกับสถานที่ติดชายทะเล ที่มีสภาวะการกัดกร่อนของเหล็กสูง
●ส่วนการชุบสังกะสีหรือชุบซิ้งค์ คนไทยมักจะหมายถึงการชุบอิเลกโคตรเพลทติ้ง หรือการชุบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีความหนาประมาณ 5 – 10 ไมครอน เหมาะสำหรับงานที่ไม่เน้นการป้องการเกิดสนิมมากนัก หรือสภาวะไม่รุนแรงให้เกิดสนิมได้ง่ายหรืออยู่ในร่ม (Indoor)
ปล. การทาสีกันสนิมจะทำหน้าที่แตกต่างกับชุบกัลป์วาไนซ์คือ การทาสีกันสนิมเป็นการป้องกันไม่ให้ ออกซิเจนและความชื้นในอากาศ ทำปฎิกริยากับตัวเหล็กโดยตรง แต่หน้าที่ของกัลวาไนซ์ คือการเสียสละตัวเองให้ถูกกัดกร่อนแทนเหล็กแต่ความเร็วในการกัดกร่อนจะต่ำมาก
ข้อดีของเหล็กกัลวาไนซ์
- ประหยัดค่าสีกันสนิม เพราะเหล็กกัลวาไนซ์ นั้นมีผิวงานของสังกะสีเคลือบอยู่
- ประหยัดเวลา และค่าแรงในการทาสีกันสนิม
- ช่วยประหยัดในระยะยาว (long term saving and less maintenance) เนื่องจากอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50 ปี และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามาก
- มีความทนทาน และแข็งแรงเทียบเท่ากับเหล็กรูปพรรณ Yield Strength: 2500 – 3500 KSC
- สะดวกในการกองเก็บวัสดุ ไม่ต้องกลัวสนิม
ข้อเสียของ เหล็กกัลวาไนซ์
- เหล็กกัลวาไนซ์เป็นสนิมบริเวณที่เป็นข้อต่อ เพราะบริเวณนั้นต้องมีการตาร์บเกลียว จะทำให้ขัดสังกะสีที่เคลือบออก
- เหล็กกัลวาไนซ์ไม่เหมาะกับระบบประปา หรือระบบท่อ เนื่องจากสังกะสีจะปนเปื้อนกับระบบน้ำ และเป็นอันตรายต่อการบริโภคและอุปโภค
- เหล็กกัลวาไนซ์อันตรายจากการเชื่อม เนื่องจากการเชื่อมเหล็กชนิดนี้ ก่อสารพิษจากสังกะสี ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ปฎิบัติงาน หากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างเพียงพอ
ขอขอบคุณhttps://www.sgethai.com/article/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%..
https://www.google.com/..8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B..