เลี้ยงสัตว์ » เหี้ยเกลื่อนกรุง จับได้ปีละ 7 พันตัว อย่าให้โดนกัดเพราะอาจจะเสียชีวิตด้วยการติดเชื้อจากแบคทีเรีย

เหี้ยเกลื่อนกรุง จับได้ปีละ 7 พันตัว อย่าให้โดนกัดเพราะอาจจะเสียชีวิตด้วยการติดเชื้อจากแบคทีเรีย

30 กันยายน 2022
1077   0

เหี้ยเกลื่อนกรุง จับได้ปีละ 7 พันตัว อย่าให้โดนกัดเพราะอาจจะเสียชีวิตด้วยการติดเชื้อจากแบคทีเรีย

เหี้ยกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของหลายคน .. ทั้งที่จริงแล้วพวกมันมีส่วนในการสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว บางพื้นที่ก็สร้างสิ่งปลูกสร้างทับถิ่นอาศัยของพวกมัน เพราะจากสถิติการแจ้งเหตุให้มาจับตัวเหี้ยในกรุงเทพฯ เฉลี่ยปีละ 7 พันครั้ง..

ตัวเหี้ยตามธรรมชาติมีระบบการรักษาสมดุลประชากร โดยออกไข่ครั้งละ 30 ฟอง แต่จะถูกตัวอื่นแอบกินไข่ หรือถ้ารอดชีวิตก็เสี่ยงถูกงูเหลือมกิน ทำให้จำนวนประชากรรอดชีวิตมีน้อย..

 

เหี้ยที่คนกรุงพบเห็น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเดิม มีขนาดกลางไม่เกิน 1-2 เมตร อาจเจอตัวใหญ่สุด 2 เมตรกว่า ซึ่งขณะนี้พบได้น้อย แต่เชื่อว่ายังมีอยู่ เพราะตัวเหี้ยขนาดใหญ่มักใช้ชีวิตแบบหลบซ่อน หากินในพื้นที่เดิม ไม่ปรากฏตัวให้คนเห็น ผิดจากตัวเหี้ยช่วงวัยรุ่น จะหากินทั่วไป จึงพบเห็นได้ง่ายกว่า..

ด้วยลักษณะการใช้ชีวิตของตัวเหี้ยค่อนข้างขี้ตกใจ ทำให้เกิดเหตุตัวเหี้ยเข้าบ้านคนจำนวนมาก เช่น ตัวเหี้ยที่เข้าไปหาอาหารในชุมชน โดนสุนัขไล่กัดก็พยายามหนีเข้าไปซุกในบ้านคน และด้วยความที่มีเล็บคม ทำให้สามารถปีนขึ้นไปตามท่อของตึกได้ หรือบางกรณีตัวเหี้ยปีนกำแพงเข้าบ้าน โดยใช้หางค้ำไว้กับพื้น และใช้เล็บตะกายข้ามกำแพง..

ด้วยกรุงเทพฯ เป็นถิ่นอาศัยดั้งเดิมของตัวเหี้ย โดยเฉพาะในสวนลุมพินี ตัวเหี้ยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เรียนรู้อยู่ร่วมกับคน โดยไม่ทำอันตราย เพราะรู้ว่ามนุษย์ส่วนหนึ่งให้อาหาร ขณะเดียวกันอาหารของตัวเหี้ยไม่ใช่แค่ซากสัตว์ที่ตาย แต่ยังมีพฤติกรรมบุกเข้าไปกินแมว ไก่ ที่ชาวบ้านเลี้ยง

“การเข้าไปจับตัวเหี้ยทุกครั้ง เจ้าหน้าที่ต้องระวังไม่ให้โดนกัด เพราะบริเวณปากมีแบคทีเรียกว่าร้อยชนิด ตัวอย่างเช่น แมวที่ถูกตัวเหี้ยกัดมีจำนวนมากขึ้น และส่วนใหญ่จะเสียชีวิตเพราะอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียภายในปากตัวเหี้ยช่วยให้สามารถย่อยอาหารได้ดี”

อาหารของตัวเหี้ยมีอะไรบ้าง?

 

ปิดจุดบอดป้องกันตัวเหี้ยเข้าบ้าน

“จ.ส.ต.ภิญโญ” กล่าวอีกว่า หากเจอตัวเหี้ยเข้ามาในบ้าน ไม่ควรเข้าไปจับ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาดำเนินการ เพราะตัวเหี้ยมีพฤติกรรมโต้ตอบที่รุนแรงด้วยการใช้หางฟาดก่อนกระโจนเข้ามากัด คนทั่วไปสามารถสังเกตพฤติกรรมได้จากลักษณะของการพองบริเวณลำคอ และมีเสียงขู่ในลำคอ ซึ่งเป็นอาการที่แสดงว่าโมโห พร้อมจะจู่โจมคนที่เข้ามาใกล้

“เมื่อเจอตัวเหี้ยไม่ควรเข้าใกล้เกิน 2-3 เมตร หรือกะระยะไม่ให้ใกล้เกินกว่าหางจะฟาดถึง ขณะเดียวกันไม่ควรเข้าใกล้บริเวณด้านข้าง เพราะอาจถูกแว้งกัดได้ง่าย ซึ่งฟันมีลักษณะคล้ายตะขอมีความคม ทำให้ผู้ถูกกัดมีบาดแผลลึกเป็นแนวยาว ดังนั้นเมื่อพบควรหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้ เพราะถ้ายิ่งเข้าใกล้สัตว์จะเกิดความเครียด จนแสดงพฤติกรรมรุนแรงออกมาได้”

การปรับเปลี่ยนบ้านไม่ให้ตัวเหี้ยเข้า จะต้องพยายามปิดจุดที่สำคัญเช่น กำแพงบ้าน ควรมีความสูงมากกว่า 2 เมตร ตัดต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ตามแนวริมรั้ว เพราะตัวเหี้ยสามารถปีนขึ้นต้นไม้แล้วตะกายข้ามมากำแพงได้ ส่วนอีกจุดสำคัญคือ ท่อน้ำทิ้งหรือสายไฟที่เชื่อมต่อระหว่างตัวบ้านกับพื้นที่ภายนอก ส่วนใหญ่ตัวเหี้ยจะไต่มาตามแนวนี้

มีหลายกรณีที่เจ้าของบ้านแจ้งให้มาจับตัวเหี้ยที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานบ้าน เพราะเข้ามากินหนูที่อยู่ในบ้าน เจ้าของบ้านสามารถสังเกตเสียงของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในบ้าน หากไม่เห็นตัวแต่ได้ยินเสียงลากเล็บ  ก็พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นตัวเหี้ย โดยเฉพาะช่วงกลางวันที่เป็นช่วงเวลาการออกหาอาหาร

ตัวเหี้ยในสภาวะเมืองที่ขยายตัว กลายเป็นตัวร้ายในสายตาของคนที่ไม่เข้าใจ แต่ถ้าหากเรียนรู้พฤติกรรมพื้นฐานและเข้าใจถึงถิ่นดั้งเดิมของพวกมันที่อยู่ในกรุงเทพฯ มายาวนาน จะทำให้คนและตัวเหี้ยอยู่ร่วมกันได้ในระบบนิเวศที่สมดุลมากขึ้น.

  • กรุงเทพฯ ถิ่นอยู่อาศัยของตัวเหี้ยมาตั้งแต่ดั้งเดิม ด้วยความที่เป็นเมืองใหญ่มีการขยายตัว ทำให้มีเหี้ยเพิ่มขึ้นก่อความรำคาญให้กับมนุษย์ เช่น เข้าไปบ้านคน เฉลี่ยปีละ 7 พันครั้ง ส่วนใหญ่มีขนาดความยาว 1-2 เมตร
  • จำเป็นต้องเรียนรู้พฤติกรรมจู่โจมของมัน จากการพองบริเวณลำคอ มีเสียงขู่ หางฟาดพร้อมจะแว้งกัด ควรระมัดระวังอย่าเข้าใกล้เกิน 2 เมตร เพราะปากตัวเหี้ยมีเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แมวที่โดนกัดติดเชื้อตายมาแล้วหลายตัว
  • เหี้ยยังสามารถปีนข้ามกำแพงเข้าบ้านได้ แม้จะสูงเกิน 2 เมตร ด้วยการใช้เล็บคมจิกปีนไปตามแนวท่อน้ำ สายไฟ หวังเข้าไปหาเหยื่อ เช่น หนู แมว ไก่ ภายในบ้านคน เมื่อเจอควรเรียกเจ้าหน้าที่ให้มาจับในทันที

cr:https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2513727
https://www.gotoknow.org/posts/692678