เลี้ยงสัตว์ » ลงนามนานแล้วบริษัทจากมาเลย์ซื้อแพะจากไทย.. ตอนนี้ไปถึงไหน?

ลงนามนานแล้วบริษัทจากมาเลย์ซื้อแพะจากไทย.. ตอนนี้ไปถึงไหน?

30 สิงหาคม 2022
564   0

ลงนามนานแล้วบริษัทจากมาเลย์ซื้อแพะจากไทย.. ตอนนี้ไปถึงไหน?

△พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีการลงนามบันทึกความเข้าใจการซื้อ – ขาย แพะมีชีวิตเพื่อการบริโภค ระหว่าง เครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะแห่งประเทศไทย กับ บริษัท พรีโม อะโกร เวนเชอร์ ประเทศมาเลเซีย ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เพื่อเป็นการส่งเสริมการเปิดตลาดการค้าสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภคในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

กระทรวงเกษตรฯ  จัดพิธีลงนาม MOU การซื้อ – ขาย แพะมีชีวิตเพื่อการบริโภค ระหว่าง เครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะแห่งประเทศไทย กับ บริษัท พรีโม อะโกร เวนเชอร์ ประเทศมาเลเซีย หนุนสร้างมาตรฐานเปิดตลาดการค้าสัตว์เลี้ยง เพื่อการบริโภคในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

​  ​พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารปลอดภัย (Food Safety) เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ของไทย จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

..โดยจากการส่งเสริมดังกล่าวส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจระหว่างเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะแห่งประเทศไทย (Thailand Goat Sheep Farmers Network) กับ บริษัท พรีโม อะโกร เวนเชอร์ (Primo Agro Ventures Sdn. Bhd.) ประเทศมาเลเซีย โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจการซื้อ – ขาย แพะมีชีวิตเพื่อการบริโภคนี้ มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เป็นต้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี

..โดยการต่ออายุบันทึกความเข้าใจจะกระทำได้เมื่อทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนาร่วมกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนระยะเวลาที่กำหนดในบันทึกความเข้าใจจะสิ้นสุดลง เพื่อเป็นการส่งเสริมการเปิดตลาดการค้าสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภคในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับคู่ค้า มีการส่งซื้อ และส่งมอบอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างมาตรฐานการส่งออก และการนำเข้าสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภค รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาการเลี้ยงแพะในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ทั้งนี้ ในปี 2559 ประเทศไทยมีจำนวนแพะทั้งหมดกว่า 520,765 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะกว่า 40,591 ครัวเรือน ซึ่งเป็นแพะเนื้อ จำนวน 515,093 ตัว หรือกว่าร้อยละ 98.9 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยสามารถผลิตแพะเนื้อออกสู่ตลาดเพื่อบริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศกว่า 309,056 ตัว

..ใน ปี 2560 คาดว่าไทยจะมีจำนวนแพะทั้งหมดกว่า 645,000 ตัว จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะกว่า 50,000 ครัวเรือน โดยพื้นที่ภาคใต้มีการเลี้ยงแพะมากที่สุด ทั้งนี้ การบริโภคเนื้อแพะของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2559 การบริโภคเนื้อแพะได้เพิ่มขึ้นจาก  ปี 2558 กว่าร้อยละ 53

ขณะที่การนำเข้า – ส่งออก ไทยมีการนำเข้าทั้งแพะมีชีวิตและหนังแพะจากประเทศเมียนมาร์ และนำเข้าขนแพะจากประเทศจีน รวมทั้งนำเข้าสายพันธุ์แพะจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยปริมาณการนำเข้าแพะมีชีวิตในปี 2559 อยู่ที่ 20,573 ตัว คิดเป็นมูลค่า 8 ล้านกว่าบาท

และในปี 2559 ไทยส่งออกแพะมีชีวิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน    คิดเป็นมูลค่ากว่า 44 ล้านบาท รวมทั้งส่งออกขนแพะไปยังสหรัฐอเมริกากว่า 2 แสนบาท

ด้าน นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจ การซื้อ – ขาย แพะมีชีวิตเพื่อการบริโภคในครั้งนี้ จะมีการส่งแพะไปประเทศมาเลเซีย จำนวนเดือนละ 1,000 ตัว ขนาดน้ำหนักตัวประมาณ 25 – 40 กิโลกรัม โดยแพะที่จะส่งมอบจะต้องผ่านการถ่ายพยาธิ และตรวจรับรองสุขภาพจากกรมปศุสัตว์

โดยการส่งออกแพะในครั้งนี้ มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 3 ล้านบาท  ต่อเดือน หรือเกือบ 40 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ ได้มีการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงแพะ ดังนี้..

(1) ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่แพะเนื้อ ซึ่งปัจจุบันมีแปลงใหญ่แพะ จำนวน 22 แปลง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

(2) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงแพะ เพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพที่ไม่เหมาะสม เป้าหมายแพะ 4,736 ตัว โดยขอใช้เงินกู้ของ ธ.ก.ส.

(3) โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในเขต ส.ป.ก. เป้าหมายแพะจำนวน 1,240 ตัว โดยใช้เงินงบปกติ นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่นๆ เช่น วิจัยและพัฒนาแพะพันธุ์แท้ วิจัยสร้างแพะสายพันธุ์กรมปศุสัตว์ วิจัยและพัฒนาแพะพันธุ์พื้นเมือง และการขยายพันธุ์แพะด้วยการผสมเทียมและการย้ายฝากตัวอ่อน.

cr:https://kasettumkin.com/agribusiness/article_5475
https://www.google.com/..8%99%E0%B9%80%E0%..

เลี้ยงลูกแพะอย่างไรให้รอด? +1