ประเภทของแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน และการใช้งาน..
1. ลิเธียมโคบอลท์ออกไซด์ (LCO: LITHIUM COBALT OXIDE) มีจุดเด่นที่เก็บพลังงานได้มาก (HIGH ENERGY DENSITY) แต่มีราคาสูงเนื่องจากโคบอลท์เป็นแร่หายาก แพง ใช้กันทั่วไปในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา กล้องดิจิทอล ในระยะหลังมีการเปลี่ยนแบบสารละลายไปเป็นแบบแห้ง หรือเจล แล้วห่อด้วยแผ่นฟีล์มโดยใช้ชื่อว่า ลิเธียมโพลีเมอร์ (LITHIUM POLYMER) หรือบ่อยครั้งจะได้ยินในชื่อย่อๆ ว่า “แบตลิโพ”
2. ลิเธียมแมงกานีสออกไซด์ (LMO: LITHIUM MANGANESE OXIDE) มีจุดเด่นที่ให้กำลังสูง เหมาะกับการใช้งานในเครื่องมือที่ต้องการวัตต์สูง อาทิ สว่านไฟฟ้า แต่มีข้อด้อยในเรื่องการเก็บพลังงาน
3. ลิเธียมนิคเคิลแมงกานีสโคบอลท์ออกไซด์ (NMC: LITHIUM NICKEL MANGANESE COBALT OXIDE) เป็นแบตเตอรีที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจาก LMO ให้กำลังสูง เก็บพลังงานได้มาก มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน และเพิ่มรอบการอัดกับคายประจุ จึงนิยมนำมาใช้ในรถยนต์ไฮบริด รวมถึงจักรยานไฟฟ้า
4. ลิเธียมนิคเคิลโคบอลท์อลูมินัมออกไซด์ (NCA: LITHIUM NICKEL COBALT AUMINUM OXIDE) ให้กำลังสูง เก็บพลังงานได้มากคล้ายกับ NMC ราคาถูกกว่า แต่ก็มีรอบการใช้งานสั้นกว่า
5. ลิเธียมไอรอนฟอสเฟท (LFP: LITHIUM IRON PHOSPHATE) เป็นชนิดที่มีความปลอดภัยสูง ให้กำลังมาก มีอายุการใช้งานยาวนาน แต่มีจุดด้อยตรงน้ำหนักมาก จึงนิยมใช้ในสถานีไฟฟ้า
6. ลิเธียมไททาเนทออกไซด์ (LTO: LITHIUM TITANATE OXIDE) มีจุดเด่นที่อายุการใช้งานยาวนานเกิน 3,000 รอบ ทนอุณหภูมิสูงได้ มีความปลอดภัยสูง อัดไฟได้เร็ว แต่มีราคาสูง มีใช้ในนาฬิกาข้อมือ SEIKO รุ่น KINETIC ส่วนในรถไฟฟ้านั้นก็พบได้ใน มิตซูบิชิ ไอ-เมียฟ และ ฮอนดา ฟิท อีวี แต่มีข้อด้อยตรงที่ค่าพลังงานต่อน้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าแบตเตอรีลิเธียม-ไอออนตัวอื่นๆ
7. ลิเธียมซัลเฟอร์ (LIS: LITHIUM SULPHUR) เป็นแบตเตอรีที่ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ตามทฤษฎีแล้วแบตเตอรีชนิดนี้จะสามารถเก็บพลังงานได้สูงกว่าแบตเตอรีลิเธียมชนิดอื่นๆ ถึง 50 % แต่ยังมีปัญหาการเสื่อมสภาพ และทำให้อายุการใช้งานสั้น ฯ
เรียบเรียง&cr-https://autoinfo.co.th/article/161115
https://www.google.com/..1%E0%B8%9A%E0%..
แผนภาพการเดินสายไฟ ATV125CC. รุ่นพิมพ์นิยม (Start SW.3-4สาย)