เกษตร » ด้วงไฟ หรือ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก

ด้วงไฟ หรือ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก

14 กุมภาพันธ์ 2022
1022   0

ด้วงไฟ หรือ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก

ด้วงชนิดนี้ มีชื่อสามัญว่า Real Palm Weevil-Asiatic Palm Weevil

ด้วงงวงจะวางไข่ตามรอยแผลที่เกิดขึ้นตามต้นมะพร้าว ไม่ว่าจะเป็นรอยแผลที่เกิดจากคนฟันหรือแมลงอื่น ๆเจาะกิน เช่น ด้วงแรด..

รอยแผลไม่ว่าจะมีอยู่ที่ใดก็ตามด้วงงวงจะวางไข่ได้ทั้งนั้น ลักษณะเป็นไข่เดี่ยว ๆ ไม่ติดกัน ตัวเมียตัวหนึ่งวางไข่ได้ 500 ถึง 1,000 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 3 วัน

 

ขอบคุณ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B9%..

ตัวเต็มวัย ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ ส่วนหัวมีงวงยาวเรียวยื่นออกมา ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างตัวผู้กับตัวเมียคือ งวงของตัวผู้มีขนสั้น ๆ ขึ้นหนาแน่น ตามแนวยาวของงวง ขนาดของงวงสั้นกว่าตัวเมีย

เมื่อต้นมะพร้าวถูกทำลายจะแสดงอาการแคระแกรน ใบหดสั้นเข้า ใบอ่อนร่วงหล่น คอมะพร้าวเน่า ต่อมาต้นจะตายเมื่อมีลมพัดมาแรง ๆ ยอดจะแตกออก ผลผลิตของมะพร้าวลดลง ลูกไม่ดก

N-P-K บำรุงส่วนไหนของพืช ?

การป้องกันกำจัด

    1. เมื่อพบรอยแผลบนต้นมะพร้าว ควรใช้น้ำมันดิบทาบริเวณนั้น และทางที่ดีแล้วให้ระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยแผลบนต้น โดยเฉพาะต้นที่ใช้ทำน้ำตาลมะพร้าว นอกจากนี้ควรพูนดินถมรากและโคนมะพร้าวให้มิดชิดกันไม่ให้ด้วงมาวางไข่ได้
    2. ใช้สารเคมีพวก คลอร์เดน (Chlordane) รินหรือราดลงไปในรูที่ถูกเจาะหรืออาจจะใช้คลอร์เดนผสมกับทรายขี้เลื่อยใส่ตามยอดมะพร้าวหรือตามรูที่พบว่ามีด้วงงวงเจาะทำลายอยู่ นอกจากนี้ถ้าจะให้ได้ผลนานควรใช้พวกฟูราดานทีทิกเอจี หรือคูราแทร์ โรยบริเวณรอบโคนต้น แล้วพรวนดินกลบแบบการใส่ปุ๋ย แต่ต้องงดเก็บมะพร้าวภายหลังจากใช้ยาประมาณ 50 วัน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค