ยูทูป » ภาษาไทยถิ่นใต้น่ารู้ (1)

ภาษาไทยถิ่นใต้น่ารู้ (1)

31 มกราคม 2022
3098   0

สำเนียงคนภาคใต้ยังมีสำเนียงที่แตกต่างกัน ได้แก่..

  • ภาษาไทยถิ่นใต้
    • กลุ่มตะวันออก
      • สำเนียงสุราษฎร์ธานี
        • สำเนียงนครศรีธรรมราช
          • สำเนียงพัทลุง–สงขลา
    • กลุ่มตะวันตก
      • สำเนียงพังงา–ภูเก็ต
        • สำเนียงกระบี่–ตรัง
    • กลุ่มตอนล่าง
      • สำเนียงปัตตานี–ยะลา
        • สำเนียงนราธิวาส

ภาษาทองแดง ใน พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2525 ให้ความหมายไว้ว่า “การพูดภาษากลางปนภาษาใต้หรือพูดเพี้ยน” ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานกำหนด ไม่ได้จำกัดว่าเป็นคนภาคใดหรือจังหวัดใด ๆ อย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้เป็นภาษาแม่ไปพูดภาษาไทยมาตรฐาน ก็ย่อมจะนำลักษณะบางประการของภาษาถิ่นของตนปะปนเข้ากับภาษาไทยมาตรฐานจนผิดเพี้ยน เรียกว่า “ทองแดง”และชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่พูดภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด เพราะติดสำเนียงมลายู ก็จะถูกเรียกว่า “ทองแดง” เช่นกัน..

แต่เดิมชาวไทยในแถบภาคใต้จะไม่นิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เพราะเป็นภาษาของเจ้านายหรือราชสำนัก เมื่อมีชนชั้นนำหรือเจ้านายพูดภาษาไทยมาตรฐาน ชาวบ้านจึงต้องออกเสียงให้ตรงกับภาษาของนาย เรียกว่า “แหลงข้าหลวง” ซึ่งเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของคนใต้ ที่ต้องการให้ส่วนกลางเข้าใจเนื้อหาคำพูดของตน แม้จะออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้าง..

และหากชาวใต้คนใดพูดภาษาไทยกลางหรือ “แหลงบางกอก” ก็จะถูกคนใต้ด้วยกันมองด้วยเชิงตำหนิว่า “ลืมถิ่น” หรือ “ดัดจริต” เพราะแม้จะพูดภาษาไทยมาตรฐานแต่ยังคงติดสำเนียงใต้อยู่ จึงถูกล้อเลียนว่า “พูดทองแดง”

เพราะมีการออกเสียงพยัญชนะและสระต่างกัน มีการตัดคำหน้าของสระเสียงสั้นออกไป เพื่อความสะดวกในการออกเสียง เช่น “เงาะ” เป็น “เฮาะ”, “ลอยกระทง” เป็น “ลอยกระตง”, “สังขยา” เป็น “สังหยา” นอกจากนี้ยังมีการใช้คำต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน แต่มีความหมายเดียวกัน เช่น “ปวดท้อง” ว่า “เจ็บพุง”, “ปวดหัว” ว่า “เจ็บเบ็ดหัว”, “ชักช้า” ว่า “ลำลาบ”

      ๑ คำลำดับเครือญาติซึ่งเป็นคำในหมวดคำนาม

 

กรุงเทพฯ                       ถิ่นใต้

 

แปลง                              ลวด

 

ทวด                               ทวด

 

ปู่                                    โป พ่อแก่

 

ย่า                                    ย่า แม่แก่

 

ตา                                    ตา พ่อแก่ พ่อเฒ่า พ่อเติน พ่อตน

 

ยาย                                   ยาย แม่แก่ แม่เฒ่า แม่เติน แม่ตน

 

พ่อ                                    พ่อ บิดา

 

แม่                                    แม่ มารดา นม(ปากพนัง)

 

ลุง                                     ลุง ลูง

 

ป้า                                     ป้า

 

น้า                                     น้า

 

อา                                      น้า  สาว

 

ลูก                                     โลก ลูก  หนุ่ย

 

หลาน                                 หลาน

 

เหลน                                  เหลน เหล็น

 

หลิน ( โหลน )                   หลิน  เหล่อ

 

                ๒.  คำนำหน้านาม

 

กรุงเทพฯ                              ถิ่นใต้

 

นาย                                       นาย

 

นาง                                       นาง กือ ( กลันตัน )

นางสาว                                 นางสาว นาง กือ

 

เด็กชาย                                  อ้าย แอ อี ( กลันตัน )

 

เด็กหญิง                                อี อี้ กือ

 

อ้าย ( ไม่สุภาพ )                    อ้าย

 

อี ( ไม่สุภาพ )                        อี อี้

 

ข้อสังเกต

 ผู้ชายที่อุปสมบทแล้วสึกออกมา นิยมใช่ เณรนำหน้า เช่น เณรดำ เณรคง เป็นต้น   ผู้ชายที่กำลังอุปสมบทเป็นพระอยู่ จะใช้คำว่า จ้าวนำหน้า เช่น พระดำ จะใช้คำว่า จ้าวดำ   พระเขียว จะใช่คำว่า จ้าวเขียว เป็นต้น ในภาษาย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้หลายถิ่นนิยมใช่ ต้น” ( ออกเสียงเป็น ต้อน ) นำหน้าชื่อ เช่น ต้นดำ ต้นเขียว เป็นต้น

 

   ๓.   คำลักษณะนาม

 

กรุงเทพฯ                                ถิ่นใต้

 

ฝนหลายเม็ด                           ดอก

 

ช้าง ๗ เชือก                            ตัว

 

มะพร้าว ๓ ผล                        หน่วย แม็ด ( กลันตัน )

 

ยักษ์ ๒ ตน                              ตัว

 

พระสงฆ์ ๕ รูป                       องค์

 

ไข่ ๓ ฟอง                               ไข่ ( กลันตัน ) หน่วย เม็ด ( ตากใบ )

 

เลื่อย ๒ ปึ้น                              สาย อัน

 

ขลุ่ย ๓ เลา                                บอก อัน

 

มุ้ง ๒ หลัง                                หน่วย ตีน ( ตรัง )

 

๔.   คำบุพบท ส่วนใหญ่ตรงกับภาษาไทยกรุงเทพฯ มีเพียงบางคำเท่านั้นที่ใช่แตกต่าง เช่น

 

กรุงเทพฯ                               ถิ่นใต้

 

พ่อไปกับแม่                           ด้วย ตับ

 

น้องมาจากไหน                      แต่ จี้

 

เครื่องบินบินอยู่เหนือศีรษะ    บน (บินอยู่บนหัว)


ศัพท์ภาษาใต้น่ารู้

  • ภาษาใต้ : เฉียวฉาว, เชียวชาว
    ความหมาย : ไม่ค่อยสบายตัว
  • ภาษาใต้ : สับปลับ
    ความหมาย : พูดจาโกหกกลับไปกลับมา
  • ภาษาใต้ : ขี้ห้ก
    ความหมาย : โกหก
  • ภาษาใต้ : หึงสา
    ความหมาย : อิจฉา
  • ภาษาใต้ : รถถีบ
    ความหมาย : แปลว่า รถจักรยาน
  • ภาษาใต้ : แหลง
    ความหมาย : ความหมายคือพูดตัวอย่าง
  • ภาษาใต้ : แลหวัน
    ความหมาย : มองหรือดูตะวัน
  • ภาษาใต้ : ไซร์
    ความหมาย : ทำไม
  • ภาษาใต้ : พันพรือหล้าว
    ความหมาย : เป็นยังไงอีก
  • ภาษาใต้ : คุมวัน
    ความหมาย : จนทุกวันนี้
  • ภาษาใต้ : เวด-นา
    ความหมาย : มาจาก เวทนา น่าสงสารดูไม่ได้
  • ภาษาใต้ : แคงควน
    ความหมาย : เอียงหรือไม่ตรง
  • ภาษาใต้ : เซน
    ความหมาย : เอียง หรือ ไม่ตรง
  • ภาษาใต้ : ในโย
    ความหมาย : ในโย หมายถึง ปัจจุบัน
  • ภาษาใต้ : หวิบ
    ความหมาย : โมโห
  • ภาษาใต้ : ไม่รู้หวัน
    ความหมาย : ไม่รู้เรือง
  • ภาษาใต้ : เกือก
    ความหมาย : รองเท้า
  • ภาษาใต้ : อีโหว้ง-วก
    ความหมาย : ใช้เรียกคนที่โง่ ไม่รู้เรื่อง
  • ภาษาใต้ : หลบ, หล็อบ (หล๊อบ)
    หมายความว่า : กลับ
  • ภาษาใต้ : เริน
    หมายความว่า : บ้าน, เรือน
  • ภาษาใต้ : ขวยใจ (ข้วยใจ๋), หวังเหวิด (หวั้งเวิ้ด)
    หมายความว่า : กังวลใจ เป็นห่วง
  • ภาษาใต้ : จังหู (จั่งหู้), จังหัน (จั่งหั้น), คาลักคาลุย, กองลุย, กองเอ, ราสา, หนัดเหนียน
    หมายความว่า : เยอะแยะ มากมาย
  • ภาษาใต้ : หิด, หิดหุ้ย, แต็ด, แยด
    หมายความว่า : เล็กน้อย นิดหน่อย ไม่มาก
  • ภาษาใต้ : แต่วา, แรกแต่วา
    หมายความว่า : เมื่อวานนี้
  • ภาษาใต้ : ต่อเช้า, ต่อโพรก
    หมายความว่า : พรุ่งนี้
  • ภาษาใต้ : ต่อรือ
    หมายความว่า : วันมะรืน
  • ภาษาใต้ : ต่อเหรือง
    หมายความว่า : วันถัดไปของวันมะรืน
  • ภาษาใต้ : ขาดหุ้น (ข้าดหุ๊น), เบา, ฉ็อมฉ็อม
    หมายความว่า : ไม่เต็มเต็ง ไม่เต็มบาท ไม่รู้เรื่องหรือไม่ฉลาด
  • ภาษาใต้ : ทั้งเพ
    หมายความว่า : ทั้งหมด ทั้งสิ้น
  • ภาษาใต้ : ได้แรงอก (ด่ายแหร่งอ็อก)
    หมายความว่า : สะใจ ถูกใจ เป็นอาการแสดงออกถึงรู้สึกความพอใจอย่างที่สุด
  • ภาษาใต้ : แง็ง
    หมายความว่า : เป็นอาการดุ หรือแสดงอาการข่มขู่คู่ต่อสู้ของสุนัข
  • ภาษาใต้ : ขบ
    หมายความว่า : กัด
  • ภาษาใต้ : ด้น (ด่อน)
    หมายความว่า : ดุร้าย
  • ภาษาใต้ : หม้ายไหร (ม้ายหรั้ย), เปลาๆ, ลอกอ
    หมายความว่า : ไม่มีอะไร หรือฐานะยากจน
  • ภาษาใต้ : หาม้าย
    หมายความว่า : ไม่มี
  • ภาษาใต้ : ฉาด (ฉ้าด), หมดฉาด (หม๊ดฉ้าด), เหม็ดฉาด (เม๊ดฉ้าด)
    หมายความว่า : หมด ไม่มี หมดเกลี้ยง
  • ภาษาใต้ : เอิด,เหลิด (เหลิ้ด)
    หมายความว่า : ทำตัวกร่าง ทำเป็นเก่ง
  • ภาษาใต้ : หยบ (หย๊อบ)
    หมายความว่า : แอบ หลบหรือซ่อน
  • ภาษาใต้ : พลัดพรก, เหลินดังแส็ก
    หมายความว่า : อาการของการหล่นลงมาอย่างแรง (เหลิน = หล่น)
  • ภาษาใต้ : พรือโฉ้
    หมายความว่า : เป็นอาการที่บอกไม่ได้ อธิบายไม่ถูก
  • ภาษาใต้ : โหม
    หมายความว่า : หมู่ พวก กลุ่ม
  • ภาษาใต้ : เมล่อ, เบล่อ (อ่านพยางค์เดียวควบกล้ำ ม – ล – สระเออ)
    หมายความว่า : ไม่เอาไหน ไม่ได้เรื่อง
  • ภาษาใต้ : ทำถ้าว
    หมายความว่า : ยุ่งเรื่องคนอื่น หรืออธิบายง่ายๆ ก็หมายความว่า … นั่นแหละ
  • ภาษาใต้ : เนียนแจ็กแจ๊ก
    หมายความว่า : เละเทะ ไม่เหลือชิ้นดี
  • ภาษาใต้ : ตอใด
    หมายความว่า : เมื่อไหร่
  • ภาษาใต้ : ขี้มิ่น
    หมายถึง ขมิ้นใส่ในแกงของคนใต้
  • ภาษาใต้ : ขี้พร้า
    หมายถึง ฟัก
  • ภาษาใต้ : เหล็กขูด
    หมายถึง กระต่ายขูดมะพร้าว
  • ภาษาใต้ : เหล็กโคน
    หมายถึง ตะปู /รวบรวมโดย โป๊ะเช๊ะดอทคอม

cr-https://sites.google.com/site/phasathinti/hmwd-kha
https://www.google.com/..q=%E0%B8%A0%E0%B8….
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8…

อำเภอปากพนัง..(อัพเดทโดย www.108kaset.com 19/6/2018)