เลี้ยงสัตว์ » รู้จักกับ ASF (African Swine Fever) หรือโรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร​

รู้จักกับ ASF (African Swine Fever) หรือโรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร​

12 มกราคม 2022
1295   0

“..ASF ย่อมาจาก​ African Swine Fever หรือโรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร​ เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงในสุกรที่เกิดจากเชื้อไวรัส​ กลุ่ม​ Asfivirus เป็น​ DNA virus ที่มีความคงทนสูงในสภาพแวดล้อม​ โดยอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน​ และอยู่ในเนื้อสุกรแช่แข็งได้หลายปี..”

อย่างไรก็ตาม ASF(โรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร​) กับ CSF (โรคอหิวาต์​สุกร) โรค ASF ไม่ใช่โรคเดียวกับ​โรคอหิวาต์​สุกร​ หรือ​ Classical Swine​ Fever​ (CSF)​ ซึ่ง​ CSF เป็นโรค RNA virus ในสุกร​ มีวัคซีนป้องกันได้

โรค ASF ติดคนหรือสัตว์อื่นหรือไม่?
โรค​ ASF ติดในสัตว์ประเภทสุกร​ เท่านั้น​ ทั้งสุกรเลี้ยง และ​สุกรป่า​  ไม่ติดคนคนกินเนื้อสุกรที่เป็นโรคดังกล่าวก็ไม่มีอันตราย

สุกรติดเชื้อ​ ASF ได้อย่างไร?
สุกรมักติดเชื้อ ASF​ จากการกินเศษอาหารที่มีเชื้อ​โรคเข้าไป และการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมากับคน​ สิ่งของ​ รถขนส่ง​ และสัตว์พาหะ ซึ่งสัตว์พาหะที่สามารถนำโรคได้โดยตรง​ ได้แก่​ เห็บอ่อน​ ที่พบในทวีปแอฟริกาและยุโรปเท่านั้น​ ไม่พบในประเทศไทย และยังไม่มีรายงานว่าสามารถติดต่อกันได้โดยผ่านทางอากาศ

เชื้อ​ ASF​ อยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานแค่ไหน?

เชื้อโรค ASF มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม​ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
– อยู่ในมูลสุกร​ และสิ่งแวดล้อม​ ได้​ประมาณ 1 เดือน
– อยู่ในซากสัตว์ และในดินได้​ถึง 3​ เดือน
– อยู่​ในเนื้อแปรรูป​ เนื้อแห้ง​ ได้​ถึง 1​ ปี
– อยู่ในเนื้อแช่แข็งได้ถึง 3 ปี

อย่างไรก็ตาม เชื้อนี้ไม่ตายในกระบวนการผลิตอาหารแบบไม่สุก​ และอยู่รอดในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์

จะฆ่าเชื้อ​โรค ASF ได้อย่างไร?
เชื้อโรค ASF​ สามารถตายด้วยความร้อน​ 60 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 30 นาที​ และมีรายงานการทดสอบยาฆ่าเชื้อส่วนใหญ่สามารถฆ่าเชื้อ ASF ได้ ตามอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ​ หรือโดยทั่วไปจะใข้ 1:200 เช่น​ Glutaraldehyde, Phenol, Iodine, Chlorine​ เป็นต้น​ โดยมีระยะเวลาหลังฆ่าเชื้อประมาณ​ 5-30​ นาที

อาการและรอยโรค​ ASF เป็นอย่างไร?
สุกรที่ติดเชื้อจะมีอาการ ไข้สูง​ จุดเลือดออก​ อาเจียน​ ถ่ายเป็นเลือด​ และตายเกือบ​ 100% โดยสุกรจะแสดงอาการหลังติดเชื้อประมาณ​ 3-4 วัน

โรค ASF มีการระบาด​ที่ไหนบ้าง​
พบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศเคนย่า​ ทวีปแอฟริกา​เมื่อปี 2464 (ที่มาของชื่อ ASF)​ ปัจจุปันมีการระบาดแพร่ไปยังทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย สำหรับทวีปเอเชีย​ พบการระบาดครั้งแรกที่จีน​เมื่อเดือน​สิงหาคม 2018 ปัจจุบันได้แพร่ออกไปสู่มองโกเลีย​ เวียดนาม​ กัมพูชา​ และล่าสุดที่ประเทศเกาหลีเหนือ รวม​ 5 ประเทศ​

​จะรู้ได้อย่างไรว่าสุกรที่ป่วยเป็นโรค ASF​?
สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการและรอยโรค​ และทดสอบด้วยวิธี ASF Rapid test โดยหยดเลือดสดลงบน Testkit แล้วอ่านผล​ ส่วนการยืนยันผลควรใช้วิธี ASF-ELISA สำหรับตรวจภูมิคุมกัน ซึ่งจะให้ผลบวกเมื่อสุกรติดเชื้อไปแล้ว​มากกว่า 7-14วัน​ และวิธีตรวจ ASF-PCR สำหรับตรวจเชื้อไวรัสในกระเเสเลือดและเนื้อเยื่อในร่างกาย​สุกร ซึ่งจะให้ผลบวกเมื่อสุกรติดเชื้อไปแล้ว​มากกว่า 3​ วัน​

โรค ASF มียารักษาและวัคซีนป้องกันหรือไม่?
ปัจจุบัน​ยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน​
ขณะนี้มีนักวิทยาศาสตร์กำลังทดลองเกี่ยวกับยาต้านไวรัส​ และวัคซีน​ป้องกันโรค ASF ในหลายๆ ประเทศ​ เช่น​ สเปน​ จีน​ สหรัฐอเมริกา อังกฤษและเกาหลีใต้​ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาอีกนานกว่าจะประสบความสำเร็จ

เราจะมีวิธีการป้องกันและควบคุมโรค​ ASF ได้อย่างไร?
การป้องกันโรค ASF สามารถทำได้ 3 ระดับ​ดังนี้
1) การป้องกันโรคระหว่างประเทศ​ (International biosecurity)​ การห้ามนำเข้าเนื้อและวัตถุดิบจากประเทศที่เกิดโรค​ การตรวจโรคจากผลิตภัณฑ์ที่สนามบิน​ ทางเรือโดยสาร​ ตามด่านทางการเข้า-ออกระหว่างชายแดน​ ไม่ให้นำเนื้อและผลิตภัณฑ์สุกรจากประเทศที่มีการระบาดเข้าประเทศไทย​ เป็นต้น
2) การป้องกันโรคภายในประเทศ​หรือระหว่างฟาร์ม​ หรือจากหน่วยงานภายนอกฟาร์ม (External biosecurity)​ เช่น​ โรงงานอาหารสัตว์​ โรงฆ่าสัตว์​ บริษัทยาสัตว์​ บริษัทอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
3) การป้องกันโรคระดับฟาร์ม​ (Farm biosecurity)​ ฟาร์มหมูที่มีระบบป้องกันโรคที่ดีต้องปฏิบัติตาม​ 10 ข้อห้าม​  และ 10 ข้อปฏิบัติ​ (บทความ) ในการป้องกันโรค ASF เช่น​ การไม่นำเศษอาหารเลี้ยงสุกร การอาบน้ำเปลี่ยนชุดเข้าฟาร์มของพนักงาน​ การพ่นยาฆ่าเชื้อรถขนส่ง​ การล้าง​พ่นยาฆ่าเชื้อโรงเรือน​ การป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะ​ เป็นต้น

ขอบคุณ-https://region7.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu/2019-09-27-..
https://www.google.com/search?client=firefox-b-d&q=%E0%B9%80%E0%B8%8A..
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%..
http://www.pigbreed.net/news_each.php?id_view=179&title_detail=%E0%B9%82..

สุกรนครศรีฯเจอโรค PRRS ระบาด ลูกหมูฟาร์มตายเกลื่อนนับร้อย ปศุสัตว์เร่งคุมโรค