เกษตร » การปลูกกระจับ

การปลูกกระจับ

19 กันยายน 2021
2498   0

กระจับ จัดเป็นวัชพืชในแหล่งน้ำ มีทั้งหมด 4 ชนิด โดย 2 ชนิด ไม่ค่อยนำฝักการใช้ประโยชน์
ส่วนอีก 2 ชนิด คือ กระจับเขาแหลม  และกระจับเขาทู่ และทั้ง 2 ชนิดนี้ เรียกรวมทั่วไปว่า กระจับเขาควาย เป็นกระจับที่นำผลมารับประทาน และมีการปลูกในแถบภาคกลางเป็นส่วนมาก

ชนิด และการแพร่กระจาย
กระจับที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 4 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
• กลุ่มที่ 1 เป็นกระจับที่ผลมี 2 เขา (กระจับเขาควาย) ได้แก่ กระจับเขาแหลม และกระจับเขาทู่
– กระจับเขาแหลม (Horn Nut)
– กระจับเขาทู่ (Water caltrops)

กระจับเขาควาย เป็นพืชน้ำ มีหัวอยู่ใต้น้ำ ลำต้นโผล่บนผิวน้ำคล้ายบัว ส่วนหนึ่งหยั่งลึกยาวลงดินให้ผลออกตามข้อปล้อง ลักษณะคล้ายเขาของกระบือ (เขาควาย)

นอกจากนี้ยังมีกระจ่อม พบในจังหวัด นครสวรรค์

ส่วนกระจับ พบในจังหวัด นครศรีธรรมราช ที่เติบโตในลักษณะของวัชพืชน้ำ เป็นกระจับชนิด 4 เขา กระจับชนิด 4 เขา ในประเทศไม่นิยมปลูกเพื่อนำฝักมารับประทาน แต่พบการนำกระจับมาปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกในตู้ปลา นอกจากนั้น ยังพบการปลูกในแถบประเทศแอฟริกา และยูเรเซีย

สำหรับกระจับเขาแหลม และกระจับเขาทู่ เป็นกระจับชนิด 2 เขา ที่มีการปลูกเพื่อรับประทานผล และเพื่อจำหน่ายผล โดยพบปลูกมากในภาคต่างๆ ได้แก่
ภาคกลาง
– ชัยนาท
– สิงห์บุรี
– อ่างทอง
– สุพรรณบุรี
– อุทัยธานี
ภาคใต้
– นครศรีธรรมราช

“กระจับให้ผลผลิตดี แต่ไม่แนะนำให้ปลูกกระจับอย่างเดียวตลอดไป เพราะพื้นที่ที่มีน้ำขังตลอด ไม่นานจะเกิดสาหร่าย ซึ่งเป็นปัญหาในการปลูกกระจับ จริงๆ ควรปลูกในพื้นที่นาสลับ หรือ ควบคู่กับการทำนา โดยการทำนากระจับ มักจะเริ่มดำในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม และเก็บผลผลิตในเดือนตุลาคมของทุกปี”..

ขั้นตอนการปลูก วิธีการ เหมือนกับการดำนา  เอายอดพันธุ์มาดำ โดยนำยอด 1-2 ยอด ฝังลงไปในพื้นดิน ระยะห่างระหว่างต้นและแถว (1.1 x 1 เมตร // พื้นที่ 1 ไร่ = 1,000 กอ) และหลังจากปลูก 1 สัปดาห์  ใส่ปุ๋ยสูตร  24- 8- 8 ต้นกล้าเริ่มตั้งตัวและทอดยอด จากนั้นให้เริ่มเติมน้ำเข้าแปลงเป็นระยะๆ (น้ำคลอง  ค่า pH 6.5-7.0) จนระดับความสูงขั้นต่ำ 60 เซนติเมตร พอต้นแข็งแรงเริ่มแตกกอและตั้งยอด บำรุงด้วยปุ๋ยเคมีสูตร  24-8-8 อีกครั้ง..

การปลูกกระจับ
กระจับเป็นพืชที่เติบโตได้เฉพาะในแหล่งน้ำขัง ซึ่งมีระดับความลึกแตกต่างกันไปตามธรรมชาติ บางแห่งอาจพบกระจับเติบโตได้ในแหล่งน้ำที่ลึกได้มากกว่า 3 เมตร โดยพื้นที่ปลูกกระจับมักจะเลือกแหล่งที่มีระดับน้ำไม่ลึก ประมาณ 30-50 ซม. เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าเก็บฝัก และควรเป็นพื้นที่กลางแจ้ง ไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่ทำให้เกิดร่มเงา

การขยายพันธุ์กระจับ นิยมทำกัน 2 แบบ คือ การปลูกด้วยเมล็ดฝัก และการปลูกด้วยเถา


การปลูกด้วยเมล็ด
การปลูกด้วยเมล็ดจะใช้เมล็ดที่แก่แล้วเท่านั้น และเป็นเมล็ดที่ได้จากต้นมี่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น โดยการเพาะจะเริ่มจากการนำดินผสมกับแกลบดำ อัตราส่วน 1:1 บรรจุใส่กระถาง แล้วฝังลงในกระถางตรงกลางให้ลึกพอดินกลบพอดี หลังจากนั้น ใช้น้ำเทใส่กระถางให้ท่วม และปล่อยทิ้งไว้ หลังจากนั้น ฝักจะเริ่มงอก และใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็พร้อมย้ายลงปลูกในแปลง ทั้งนี้ ขณะเพาะเมล็ดต้องคอยดูแลให้น้ำท่วมหน้าดินในกระถางตลอด

การปลูกด้วยเถา
การปลูกด้วยเถาจะใช้เถาอ่อน ใบค่อนข้างบาง เล็ก และมีสีน้ำตาล ด้วยการนำเถามามัดรวมกัน 2-3 เถา แล้วกดเถาส่วนต้นที่มัดรวมกันลงหน้าดินใต้น้ำให้ลึกประมาณที่เถาไม่ลอย ระยะห่างระหว่างเถาที่ 2.5-3 เมตร

หลังการปลูกแล้ว 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และก่อนออกดอก-ช่วงออกดอก ในเดือนที่ 3-4 ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 24-12-12 ซึ่งจะช่วยให้ฝักกระจับมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ช่วงการดูแลให้มั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 1-2 เดือน/ครั้ง

การเก็บฝัก
กระจับจะเริ่มออกดอกหลังการปลูกประมาณ 3-4 เดือน และจะเริ่มติดเป็นฝักประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้น ฝักจะเริ่มแก่เต็มที่ในเดือนที่ 5 เปลือกฝักจะมีสีม่วงแดงจนถึงดำ และเปลือกมีลักษณะแข็ง

ช่วงที่เริ่มเก็บฝักกระจับจะอยู่ในช่วงที่ใบกระจับเริ่มเหลือง โดยจะทยอยเก็บเป็นระยะ ทุกๆ 8-10 วัน/ครั้ง โดยกระจับ 1 กอ จะเก็บฝักได้ประมาณ 5-6 ครั้ง

การเก็บรักษาฝัก
ฝักกระจับที่เก็บมาจากต้นจะค่อนข้างเน่าเสียได้เร็วมาก และหากเก็บไว้นานจะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้น แล้วเกษตรกรมักนำกระจับที่เก็บมาแล้วเข้าต้มเพื่อจำหน่ายทันที หรือ นำมาแปรรูเป็นอย่างอื่น เช่น ฝักสดนำมาทุบกะเทาะเอาเนื้อฝักออกแล้วนำมาบด และตาก เพื่อใช้ทำแป้งกระจับสำหรับประกอบอาหารอย่างอื่น ซึ่งการแปรรูปนี้จะทำให้เก็บรักษาแป้งกระจับได้นานขึ้น นอกจากนั้น แล้วยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น อาทิ กระจับกระป๋อง (กระจับในน้ำเชื่อม) กระจับดอง กระจับแช่อิ่ม เป็นต้น

ขอบคุณhttps://www.sentangsedtee.com/farming-trendy/article_80228
https://puechkaset.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E..
https://www.google.com/search?client=firefox-b-d&q=%E0%B8%9B…

แหนแดง พืชมากคุณค่ากับการเกษตร..มีไนโตรเจนและโปรตีนสูง