โป๊ะเช๊ะ ดอท คอม

วิธีใช้รถเกียร์ออโต้ (14/8/2021)

รถเกียร์ออโต้เป็นรถยนต์ที่นิยมใช้งานเป็นอย่างมากในยุคนี้ โดยเฉพาะในเมืองเพราะด้วยความง่าย และสะดวกสบายในการขับขี่ เรียกได้ว่ามือใหม่หัดขับก็สามารถขับได้ไม่ยากเลย👍 เกียร์อัตโนมัติในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ เกียร์ออโต้แบบ CVT เกียร์ออโต้แบบ Torque Converter เกียร์ออโต้แบบคลัทช์คู่ DCT และเกียร์กึ่งอัตโนมัติ AMT ลุงจึงมาแนะตำแหน่งต่างๆ ของเกียร์ออโต้ ที่มือใหม่หัดขับควรรู้ไว้มา เพื่อจะเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่กันได้มากขึ้นครับ
———-

———-
🔹ตำแหน่ง P – Park
จะอยู่ด้านบนสุดของแป้นเกียร์ ใช้สำหรับจอดรถเวลาดับเครื่องยนต์ ซึ่งความพิเศษของตำแหน่งเกียร์ P คือ รถยนต์จะถูกเข้าสลักล็อค ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เลย ดังนั้น หากจำเป็นต้องจอดรถขวางทางคันอื่น ไม่ควรใช้ตำแหน่งเกียร์ P เด็ดขาด เพราะจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเข็นรถขยับไปมาได้
🔹ตำแหน่ง R – Reverse
คือเกียร์ถอยหลัง เมื่อเราเปลี่ยนเกียร์มาที่เกียร์ R รถจะค่อยๆ ถอยหลังเองอย่างช้าๆ โดยไม่จำเป็นต้องเหยียบคันเร่ง และก่อนถอยรถควรใช้ความระมัดระวังอย่างดี เท้าควรเหยียบเบรกไว้ด้วย เพื่อป้องกันรถถอยไปชนสิ่งอื่นภายนอกรถ การสลับจากตำแหน่ง P มาเป็นตำแหน่ง R จำเป็นต้องเหยียบเบรก แล้วจึงกดปุ่มปลดล็อคบริเวณหัวเกียร์ด้วย แต่หากเป็นรถที่ใช้คันเกียร์แบบขั้นบันได ก็จะใช้วิธีเหยียบเบรกแล้วผลักคันเกียร์ไปด้านข้าง จึงจะสามารถเข้าเกียร์ R ได้
🔹ตำแหน่ง N – Neutral
คือ ตำแหน่งเกียร์ว่าง ตัวรถจะไม่มีการส่งกำลังใดๆ จากเครื่องยนต์ แต่หากหยุดรถในพื้นที่ลาดชัน จะทำให้รถไหลได้ ซึ่งเป็นจุดแตกต่างระหว่างเกียร์ N และ P นั่นเอง เราจะใช้เกียร์นี้ได้ก็ต่อเมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เช่น ติดไฟแดง โดยล้อของรถจะไม่ถูกล็อก สามารถเข็นได้ เพราะฉะนั้นเวลาจะจอดรถขวางใคร ให้เขาเข็นได้ต้องให้เกียร์อยู่ตำแหน่ง N แล้วก็อย่าใส่เบรคมือ
🔹ตำแหน่ง D – Drive
เป็นตำแหน่งสำหรับเคลื่อนที่ไปด้านหน้า โดยปกติแล้วเกียร์ D ถือว่าครอบคลุมการขับขี่ในทุกรูปแบบ หากคุณเป็นมือใหม่หัดขับการใช้ตำแหน่งเกียร์ D อย่างเดียวก็เพียงพอต่อการเดินทางทั่วไปแล้ว
🔹ตำแหน่ง 3 หรือ D3
เป็นเกียร์ที่ใช้สำหรับการเดินหน้าเช่นกัน แต่จากต่างจาก D ตรงที่ D3 จะให้พละกำลังเครื่อง มักใช้ในการขับขึ้นทางชันเล็กน้อย เช่น ขับขึ้นสะพาน โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์ให้เองอัตโนมัติ โดยเริ่มตั้งแต่เกียร์ 1 ไปจนถึงเกียร์ 3นอกจากนี้ยังใช้ในกรณีที่เราต้องการขับแซงรถคันที่อยู่ข้างหน้าได้ด้วย
🔹ตำแหน่ง 2 หรือ D2
เกียร์สำหรับเดินหน้าอย่างเกียร์ 2 ส่วนใหญ่แล้วเราจะใช้เกียร์นี้ในเวลาที่เราขับรถขึ้น-ลงทางที่ค่อนข้างสูงชัน เช่น ภูเขา ลานจอดรถในห้าง หรือทางคดเคี้ยว โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์อัตโนมัติที่เกียร์ 1-2 เพื่อปรับให้เหมาะกับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมากและใช้ความเร็วได้พอสมควร
🔹ตำแหน่ง L
หมายถึง เกียร์ต่ำ เหมาะสำหรับการขับรถขึ้น-ลงทางที่สูงชันมากๆ โดยเฉพาะในตอนลงเขา ต้องใช้ความเร็วต่ำมาก เกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก เพื่อลดการเหยียบเบรกของเรา และไม่แนะนำให้เปลี่ยนเกียร์ L กะทันหันทันทีที่รถขับมาเร็ว ๆ
🔹ตำแหน่ง S – Sport
มักจะพบในรถยนต์เกียร์ออโต้รุ่นใหม่ๆ โดยเกียร์นี้จะช่วยให้เปลี่ยนอัตราทดเกียร์ช้าลง เครื่องยนต์ลากรอบมากกว่าปกติ รถจะมีกำลังมากขึ้นในยามจำเป็น ไว้ใช้สำหรับเร่งแซง
🔹ตำแหน่ง B
พบในรถยนต์เกียร์ออโต้รุ่นใหม่ๆ โดยมากจะเป็นรถยนต์ที่มีระบบไฮบริดหรือรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งการทำงานของเกียร์นี้จะมีลักษณะคล้ายเกียร์ต่ำคือใช้สำหรับขับขึ้นลงทางชัน ช่วยให้มีแรงดึงเบรกในขณะถอยเท้าจากคันเร่งด้วย
🔹ตำแหน่ง M – Manual
หมายถึงโหมดการขับขี่ที่เปลี่ยนกียร์แบบเกียร์ธรรมดา โดยจะใช้การผลักคันเกียร์ตำแหน่ง + หรือ – ในการเปลี่ยนอัตราทดด้วยตัวเอง เช่น ในกรณีรถอยู่ในเกียร์ 3 ก็จะค้างไว้ที่เกียร์ 3 อยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนเป็นเกียร์ 4 ให้ แต่หากลดความเร็วลงมาจนต่ำกว่าระดับความเร็วของเกียร์นั้นๆ เกียร์จะปรับลดให้อัตโนมัติ พูดง่ายๆ คือ ปรับลงให้ แต่ไม่ปรับขึ้นให้
💬ทั้งหมดนี้ก็เป็นตำแหน่งต่างๆ ของเกียร์ออโต้ ที่ส่วนมากหลักๆ การใช้งานก็จะเป็นเกียร์ P R N และ D อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้การจำและลองใช้งานสำหรับมือใหม่ โดยแต่ละตำแหน่งของเกียร์ควรใช้ให้เหมาะสมกับเส้นทางหรือสถานการณ์ที่คุณขับรถในขณะนั้น ทั้งนี้ เพื่อความไม่ประมาทและความปลอดภัยในทุกการเดินทาง เราควรศึกษาและเข้าใจการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ในรถให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันตรายได้ครับ
ติดตามนายหนวดแดงในช่องทางอื่นๆได้ที่
Youtube Channel : นายหนวดแดง >> https://www.youtube.com/channel/UCuLHy8L7iZTRdGmnBqbdshw
ขอบคุณ https://web.facebook.com/redmustache72/posts/351215179877418
https://www.google.com/search?client=firefox-b-d&q=%E0%B9%80%E0.

ปตท.เตรียมขายรถยนต์ไฟฟ้า Hozon Neta Vราคาในไทย 6.5แสนบาท