รู้จักโควิดสายพันธุ์อินเดีย ลงปอดง่าย ติดเร็วกว่าเดิม หลบหนีวัคซีนเก่ง..ตรวจในโพรงจมูกไม่เจอ
ในขณะนี้ประเทศอินเดียกำลังเผชิญวิกฤตโควิด 19 ระบาดใหญ่ระลอก 2 อย่างรุนแรง ยอดผู้ติดเชื้อโควิดอินเดียรายวัน ล่าสุด (24 เมษายน 2564) อยู่ที่วันละ 346,786 ราย ทำลายสถิติของโลก 3 วัน ติดต่อกัน..
“สายพันธุ์อินเดีย” เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่พบเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2563 เชื้อไวรัสโควิด “สายพันธุ์อินเดีย” ตัวนี้มีชื่อว่า “B.1.617” จากการศึกษาทางทฤษฎีพบว่าการกลายพันธุ์ของโควิด“สายพันธุ์อินเดีย” ในครั้งนี้อาจมีแนวโน้มทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของวัคซีนลดลงได้ แต่ยังไม่มีการยืนยันทฤษฎีดังกล่าวอย่างแน่ชัด
ทั้งนี้ “สายพันธุ์อินเดีย” กลายพันธุ์ 2 จุด (Double Mutant) คือ E484Q และ L452R ส่งผลให้มีความสามารถในการกระจายตัวที่สูงมากขึ้น รวมถึง“สายพันธุ์อินเดีย” กลายพันธุ์ 3 จุด (Triple Mutant Variant) เป็นชนิด B.1.618 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “โควิดสายพันธุ์เบงกอล” เกิดจากการหายไปของหนามตำแหน่ง H146 และ Y145 และมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง E484K และ D614G
– ความน่ากลัวของเชื้อกลายพันธุ์ใหม่
ด้วยเหตุนี้เชื้อกลายพันธุ์นี้ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง “คุณอาจไม่ปลอดภัยจากสายพันธุ์นี้ แม้ว่าคุณจะเคยติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่นมาก่อน หรือได้รับการฉีดวัคซีนก็ตาม”ดร. Sreedhar Chinnaswamy จากสถาบันจีโนมิกชีวการแพทย์แห่งชาติ กล่าว
– ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ระบาดเร็วขึ้น
ดร. Madhukar Pai ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัย McGill กล่าวว่า สายพันธุ์นี้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ทำให้ระบาดเร็วขึ้น คนป่วยเยอะขึ้นอย่างรวดเร็ว
– โควิดสายพันธุ์อินเดีย ในไทย
ความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับโควิด 19 สายพันธุ์อินเดียในประเทศไทยนั้นพบว่าล่าสุด (21 พฤษภาคม 2564) ตอนนี้มีการตรวจพบคนงานติดเชื้อที่แคมป์หลักสี่ และมีคนงาน 15 คนที่ทราบว่า ติดโควิดสายพันธุ์อินเดียหรือ B 1.1617.2 ตอนนี้อยู่ระหว่างการดูแลของทีมแพทย์ และทีมสอบสวนโรคจะเข้าไปดูแลเรื่องการควบคุมการติดเชื้อต่อไป..
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของวัคซีนที่นำมาฉีดในอินเดียนั้น ได้แก่ “วัคซีนโควาซิน “ คือ วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้เทคนิคเชื้อตาย (Inactivated vaccines) ซึ่งผลิตมาจากไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้วด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เป็นเทคนิคที่เคยใช้กับการผลิตวัคซีนตับอักเสบเอ หรือวัคซีนโปลิโอ (ชนิดฉีด) มาแล้ว และเป็นวัคซีนที่ใช้เทคนิคเดียวกันกับวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ของประเทศจีน..
สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีนโควาซินนั้น รายงานอย่างเป็นทางการของรัฐบาลอินเดีย ภายหลังการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา พบว่า วัคซีนโควาซินมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ได้ประมาณ 78 เปอร์เซ็นต์.
cr-https://www.google.com/search?client=firefox-b-d&q=B.1.618
https://covid-19.kapook.com/view24044..
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937112