เงินๆงานๆ-อาชีพ » น้ำไผ่บำบัดโรค? กิมซุง!! “พืชเศรษฐกิจ”มาแรง

น้ำไผ่บำบัดโรค? กิมซุง!! “พืชเศรษฐกิจ”มาแรง

16 มีนาคม 2021
2151   0

น้ำไผ่บำบัดโรค? กิมซุง!! “พืชเศรษฐกิจ”มาแรง

น้ำไผ่บำบัดโรค” พืชเศรษฐกิจที่กำลังเป็นกระแสพูดคุยอยู่ ณ เวลานี้ “ไผ่กิมซุง” เราจะเข้าไปสอบถามถึงต้นตำหรับการปลูกไผ่กิมซุง  พร้อมกับดูขั้นตอนการเจาะเพื่อเอาน้ำไผ่  ซึ่งต้องทำในช่วงกลางดึกเวลา 20.00-00.00 น.  ถึงจะได้น้ำไผ่ที่มีคุณภาพและสมบูรณ์

สำหรับ น้ำไผ่ ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย ในประเทศญี่ปุ่น มีการดื่มน้ำเยื่อไผ่ กันมาเป็นเวลานาน และได้รับความนิยมกลุ่มของผู้ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ เพราะจากผลการวิจัย ยังพบว่า น้ำไผ่ มีสารอาหาร เช่นเดียวกับการดื่มน้ำมะพร้าว

ไร่สีวลี ตั้งอยู่ที่ 99 ม.15 ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร  มีอาจารย์เดโช สู่โนนทอง อายุ 47 ปี  เป็นเจ้าของ  อดีตเคยเป็นสถาปนิกและเห็นว่าสังคมต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับเกษตรกรรมและธรรมชาติ  เคยออกสื่อหลายสำนัก..

จนได้รับการยกย่องจากสังคมให้เป็นปราชญ์เมืองสกล  ซึ่งพากเพียรขวนขวายความรู้ด้านธรรมชาติบำบัด โดยเฉพาะสมุนไพรโบราณ  พร้อมส่งเสริมให้ผู้คนรับรู้ถึงคุณประโยชน์ที่แฝงอยู่ในธรรมชาติต่อร่างกายมนุษย์  หันกลับไปพึ่งธรรมชาติในการรักษาโรค  ลดการพึ่งพาสารเคมีและยาปฏิชีวนะ  ที่จะตกค้างในร่างกายและขับออกได้ยาก โดยเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมควรรับรู้..

อาจารย์เดโช สู่โนนทอง  กล่าวว่า  อดีตเคยอยู่บริษัทญี่ปุ่นที่กรุงเทพฯ เป็นสถาปนิกออกแบบบ้านและอาคารพาณิชย์ต่างๆ  พื้นฐานตนก็ชอบด้านการเกษตรอยู่แล้ว  รวมถึงธรรมชาติป่าเขา  ต้นไม้ ลำธาร  ในใจได้ตั้งปณิธานว่าสักวันเมื่อเก็บเงินได้แล้วจะกลับไปทำการเกษตรที่บ้านภรรยา  ใกล้เชิงเขาภูพาน  อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร   พอเก็บเงินได้แล้วจึงได้ชักชวนภรรยาลาออกจากงาน  มาทำการเกษตร ควบคู่กับการศึกษาด้านธรรมชาติบำบัด  เกี่ยวกับพืชสมุนไพรต่างๆ

พร้อมกับสนใจศึกษาธรรม  นั่งสมาธิ  และอ่านหนังสือธรรมจากพระเกจิอาจารสายวิปัสสนาหลายรูป โดยเฉพาะชีวประวัติของพระอาจารฝั้น อาจาโร  พระเกจิสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีถิ่นกำเนิดใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จากนั้นตนก็ได้ออกบวชเพื่อทำสมาธิ  ปลีกวิเวกตามป่าเขา หาความรู้  เป็นเวลากว่า 5 ปี  และตั้งใจนำความรู้ที่ไปพบ ไปเจอออกมาทำประโยชน์แก่สังคม

อาจารย์เดโช สู่โนนทอง กล่าวต่อว่า  จากการอ่านหนังสือ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่กล่าวว่า เมื่อครั้งเดินธุดงค์ในป่าลึกไม่มีแหล่งน้ำ พระสงฆ์ไม่มีน้ำดื่ม  จึงจำเป็นต้องเจาะน้ำไผ่เพื่อเอาน้ำมาดื่มขณะอยู่ในป่า  และพบว่าพระบางรูปหายจากอาการอาพาธ  ปี พ.ศ. 2557  ตนได้ทดลองเจาะลำไผ่ในเวลากลางคืน ปรากฏว่ารุ่งเช้ามีน้ำไหลออกมาเหมือนดั่งในหนังสือ  จากนั้นจึงหันมาศึกษาเรื่องน้ำไผ่อย่างจริงจังโดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยวิจัย ประกอบด้วย  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร  และมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

พบว่าน้ำไผ่มีสารสเตียรอยด์   มีโปรตีนสูง  และมีสารที่มีฤทธิ์ขับสารพิษออกจากร่างกาย  ผู้ป่วยเบาหวาน  ความดัน  เก๊าท์ โรคอัมพฤกษ์ นิ้วล็อก โรคนิ่ว  และอื่นๆอีกหลายโรค แต่ต้องผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ที่ถูกต้อง  ถึงจะสามารถนำมาดื่มได้โดยไม่กระทบต่อสุขภาพ  โดยผ่านความร้อนในอุณหภูมิที่เหมาะสม  และน็อคเย็นโดยทันทีเพื่อฆ่าเชื้อ

วิธีการปลูก

เตรียมดินห่างระหว่างต้น 3×3 เมตร หรือตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ขุดหลุมขนาด 50x50x50 ซม. จากนั้นใช้ปุ๋ยคอกรองพื้น นำไผ่ลงปลูกเฉียง 60 องศากับพื้น หมั่นดูแลเรื่องหญ้า ใส่ปุ๋ยคอก ต่อระบบน้ำภายในไร่ให้ทั่วถึง สม่ำเสมอ เพราะจะส่งผลถึงปริมาณน้ำเยื่อไผ่ในแต่ละปล้อง ใช้เวลาปลูกประมาณ 7-9 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ หากดูแลดีปุ๋ยและน้ำพอเพียง สามารถทำรายได้ให้ถึง 2 พันบาท/หลุม/ปี

น้ำเยื่อไผ่ ที่ได้มาจากการต้นไผ่ดูดน้ำใต้ดินและแทรกมาตามเนื้อไม้ เพื่อนำไปเลี้ยงใบ และลำต้น ซึ่งขั้นตอน การได้มาของน้ำเยื่อไผ่ จะต้องทำกลางคืน เพราะไผ่ดูดน้ำ ตอนกลางคืน ส่วนกลางวันคายน้ำ

วิธีเจาะเพื่อเอาน้ำไผ่ควรเจาะในช่วงกลางดึกระหว่างเวลา 00.00-03.00 น.โดยใช้แอลกอฮอล์เช็ดทุกครั้งก่อนเจาะ และต้องเฉียงขึ้น 45องศาเพื่อให้น้ำไหลสะดวก วิธีสังเกตุว่าปล้องไหนมีน้ำให้ดูตรงกิ่งที่แตกออกไปจะมีหยดน้ำเหมือนน้ำค้างเกาะอยู่ จากนั้นนำสายยางเสียบไว้ที่รูเจาะพร้อมทั้งนำถุงพลาสติกมามัดครอบไว้ให้แน่น น้ำไผ่จะไหลออกมาทีละหยด เมื่อรุ่งเช้าน้ำจะเต็มถุง ประมาณ 3-4 ลิตร ไร่สีวลีมีเนื้อที่ปลูกไผ่กิมซุง 8 ไร่ ปลูกไผ่ประมาณ 1,000 หลุ่ม จะได้น้ำเยื่อไผ่ประมาณวันละ 1 ตัน นอกจากขายน้ำไผ่พาสเจอร์ไรส์ ยังขายหน่อไม้ กิ่งพันธุ์ ขายลำต้นที่ตายไปเผาถ่าน ใบก็นำไปทำปุ๋ย เรียกว่าใช้ได้ทุกส่วนในต้น

ไผ่กิมซุงปลูกง่าย โตเร็ว ขายกิ่งละ 50 บาท หน่อกิโลกรัมละ 35-40 บาท และไม่หวงวิชาหากเกษตรกรสนใจการปลูกไผ่กิมซุงสามารถมาเรียนรู้ได้ที่ไร่สีวลี ไม่คิดเงินแต่อย่างใด ปัจจุบันยังพบว่าน้ำไผ่ผลิตไม่ทันต่อความต้องการของท้องตลาด น้ำไผ่ต้องเก็บไว้ในที่เย็น หากอยู่ในอุณหภูมิปกติประมาณ 6 ชม. น้ำไผ่จะเสีย นอกจากนี้ทางไร่สีวลียังรับ ผู้ยากไร้ หรือพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเบาหวาน ความดัน หรือนิ่ว สามารถเดินทางมาพักรักษาตัวที่ไร่สีวลีได้ โดยจะรักษาด้วยสมุนไพร อาทิ หนานเฉาเว่ย(ป่าช้าเหงา)สามารถช่วยลดเบาหวาน แก้อาการของโรคเก๊าท์ ลดความดันโลหิตสูง และน้ำไผ่ ทางไร่ยินดีช่วยเหลือสังคม อาจารย์เดโช สู่โนนทอง กล่าว.

ขอบคุณhttps://www.77kaoded.com/news/apichartchachai/21788
youtube.com
https://mgronline.com/smes/detail/9610000112721

บอนไซ คืออะไร