COVID-19 ติดได้จากทางไหน/หลีกเลี่ยงCOVIDอย่างไรถึงจะปลอดภัย ?
“COVID-19 (โควิด-19)” เป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ มีหลักฐานจากการถอดรหัสพันธุกรรมพบว่า SARS-CoV-2 มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาวมงกุฎเทาแดง..
COVID-19 สามารถติดต่อกันได้จากคนสู่คน ทำให้แพร่ระบาดต่อเนื่องไปทั่วโลกในเวลานี้ มีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 1 ล้านคนแล้ว มาไขข้อสงสัยกันว่า COVID-19 ติดกันได้อย่างไร…ทางไหนกัน
ทำไมติดจากคนสู่คน?
เพราะผู้ป่วย 1 คนสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้เฉลี่ย 2 – 4 คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากรและฤดูกาลด้วย ดังนั้น มาตรการกักตัว 14 วันและยิ่งอยู่ห่างกันยิ่งดี จึงช่วยลดการระบาดลงได้
ติดได้จากทางไหน?
เชื้อไวรัสโคโรน่าสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการแพร่กระจายเชื้อของละอองฝอยเป็นช่องทางหลักจากการไอ การจาม น้ำลาย น้ำมูก เมื่อร่างกายสูดดมสารคัดหลั่งเหล่านี้ก็จะติดเชื้อ โดยมีระยะฟักตัว 2 – 14 วัน และเมื่อผู้ป่วยมีอาการ โดยแสดงอาการเจ็บป่วยออกมาแล้วก็ยังแพร่โรคต่อไปได้อีกเรื่อยๆ
แค่สูดดมก็ติด COVID-19 ได้แล้วเหรอ?
เมื่อละอองฝอยออกจากร่างกาย ไม่ใช่เพียงการสูดดมเท่านั้นที่จะทำให้รับเชื้อ ถ้ามีผู้ป่วยจามหรือไอใส่มือแล้วไปจับสิ่งของต่างๆ การสัมผัสก็เป็นโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อได้เช่นกัน เพราะเชื้อสามารถอยู่บนพื้นผิว เช่น โลหะ แก้ว ไม้ หรือพลาสติกได้นานถึง 5 วัน รวมถึงการอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้แล้วเชื้อที่ขับออกทางอุจจาระก็ยังแพร่เชื้อได้ โดยมีระยะฟักตัว 9 – 14 วัน.
หลีกเลี่ยง COVID-19 แบบไหนถึงจะปลอดภัย ?
- ผู้ที่ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย โดยสีเข้มอยู่ด้านนอก สีอ่อนอยู่ด้านใน ปิดปาก-จมูก คลุมคาง บีบดั้ง และล้างมือ ส่วนผู้ที่ไม่ป่วยสามารถสวมหน้ากากผ้าได้ เพื่อป้องกันการติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งหรือทางลมหายใจ
- ไอหรือจามใส่แขนพัย หัวไหล่ หรือลงในคอหรือสาบเสื้อ หลีกเลี่ยงการใช้มือป้องปากและจมูก
- ทานอาหารถูกสุขอนามัย กินร้อน ช้อนใครช้อนมัน ไม่กินอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างเนื้อวัว เนื้อหมู
- ล้างมือบ่อยๆ หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% ไม่นำมือมาสัมผัสหรือขยี้ตา แคะขี้มูก ปาก และใบหน้า
- หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดที่มีคนไปร่วมไปอยู่เป็นจำนวนมาก และรักษาระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) โดยห่างกันสักนิดอย่างน้อย 1 – 2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม
- งดการเดินทางไปยังต่างประเทศ รวมถึงสถานที่ที่มีการระบาดของโรค
- งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น แม้จะเป็นในครอบครัวเดียวกันก็ตาม เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
แม้ว่า COVID-19 (โควิด-19) ยังแพร่ระบาดไปทั่วโลกและยังไม่มีการคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่การเตรียมการเพื่อป้องกันและรับมือสามารถทำได้ทุกคน อย่าลืมสังเกตตัวเอง หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันที.
ที่มา- เพจ โควิดไม่กระจอก
>เสี่ยงคุมไม่อยู่แล้ว!! ชี้การแพร่ระบาดโควิดในไทยอันตรายมาก เพราะมาในรูปแบบซูเปอร์สเปรดเดอร์