รายชื่อต้นไม้ประจำจังหวัดในไทย(2563)
ที่มา – https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B..
ภาคเหนือ | |
---|---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
|
ภาคกลาง |
|
ภาคตะวันออก | |
ภาคตะวันตก | |
ภาคใต้ |
|
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐมคือจัน · ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์คือแปะ · ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธรคือยางนา · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัยคือตาล · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์คือกันเกรา ·
ต้นไม้ประจำจังหวัดระนองคืออินทนิล · ต้นไม้ประจำจังหวัดระยองคือประดู่ · จังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ต้นไม้ประจำจังหวัดคือสิรินธรวัลลี |
รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด
พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (พระราชพิธีกาญจนาภิเษก)
รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัดแยกตามภาค (ตามเกณฑ์การแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน) มีรายละเอียดตามที่ปรากฏในตารางข้างล่าง ทั้งนี้ พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานของบางจังหวัด (ได้แก่ นครปฐม บุรีรัมย์ ยโสธร ระนอง ระยอง สุโขทัย และสุรินทร์) จะเป็นพรรณไม้คนละชนิดกับต้นไม้ประจำจังหวัดนั้น ๆ ส่วนจังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้พระราชทานเนื่องจากขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย
ภาคเหนือ
จังหวัด | พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ประจำจังหวัด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | ภาพ |
---|---|---|---|
เชียงราย | กาซะลองคำ | Mayodendron igneum | |
เชียงใหม่ | ทองกวาว (กวาว, ก๋าว) | Butea monosperma | |
น่าน | กำลังเสือโคร่ง | Betula alnoides | |
พะเยา | สารภี | Mammea siamensis | |
แพร่ | ยมหิน (ยมขาว) | Chukrasia tabularis | |
แม่ฮ่องสอน | จั่น (กระพี้จั่น) | Millettia brandisiana | |
ลำปาง | กระเชา (ขเจา, ขจาว) | Holoptelea integrifolia | |
ลำพูน | ก้ามปู (สำสา, จามจุรีแดง, จามจุรี) | Samanea saman[# 1] | |
อุตรดิตถ์ | สัก | Tectona grandis |
- หมายเหตุ
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า “ก้ามปู” หรือ “จามจุรีแดง” และเรียกพรรณไม้ Albizia lebbeck ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดมหาสารคามว่า “จามจุรี”
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด | พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ประจำจังหวัด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | ภาพ |
---|---|---|---|
กาฬสินธุ์ | มะหาด | Artocarpus lacucha | |
ขอนแก่น | กัลปพฤกษ์ | Cassia bakeriana[2] | |
ชัยภูมิ | ขี้เหล็ก | Senna siamea | |
นครพนม | กันเกรา (มันปลา) | Fagraea fragrans | |
นครราชสีมา | สาธร | Millettia leucantha var. buteoides | |
บึงกาฬ | –[# 1] | – | – |
บุรีรัมย์ | กาฬพฤกษ์[# 2] | Cassia grandis | |
มหาสารคาม | พฤกษ์ (จามจุรี, มะรุมป่า) | Albizia lebbeck[# 3] | |
มุกดาหาร | ตานเหลือง (ช้างน้าว) | Ochna integerrima | |
ยโสธร | กระบาก[# 4] | Anisoptera costata | |
ร้อยเอ็ด | กระบก (หมากบก) | Irvingia malayana | |
เลย | สนสามใบ (สนเขา) | Pinus kesiya | |
ศรีสะเกษ | ลำดวน (รันดูล) | Melodorum fruticosum | |
สกลนคร | อินทนิล (อินทนิลน้ำ) | Lagerstroemia speciosa | |
สุรินทร์ | มะค่าแต้ (แต้)[# 5] | Sindora siamensis | |
หนองคาย | ชิงชัน | Dalbergia oliveri | |
หนองบัวลำภู | พะยูง | Dalbergia cochinchinensis | |
อำนาจเจริญ | ตะเคียนหิน | Hopea ferrea | |
อุดรธานี | รัง | Shorea siamensis | 180px |
อุบลราชธานี | ยางนา | Dipterocarpus alatus |
- หมายเหต:
ไม่มีพันธุ์ไม้พระราชทานเนื่องจากขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ทางราชการจึงกำหนดให้สิรินธรวัลลีหรือสามสิบสองประดง (Bauhinia sirindhorniae) เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด
- เว็บไซต์จังหวัดบุรีรัมย์ระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือแปะ (Vitex quinata)
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า “จามจุรี” และเรียกพรรณไม้ Albizia saman ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดลำพูนว่า “ก้ามปู” หรือ “จามจุรีแดง”
- เว็บไซต์จังหวัดยโสธรระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือยางนา (Dipterocarpus alatus)
เว็บไซต์จังหวัดสุรินทร์ระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือกันเกรา (Fagraea fragrans)
ภาคกลาง
เขตการปกครอง/จังหวัด | พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ประจำจังหวัด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | ภาพ |
---|---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | ไทรย้อยใบแหลม | Ficus benjamina | |
กำแพงเพชร | สีเสียดแก่น (สีเสียด, สีเสียดเหนือ) | Senegalia catechu | |
ชัยนาท | มะตูม | Aegle marmelos | |
นครนายก | สุพรรณิการ์[3] | Cochlospermum regium | |
นครปฐม | จันทน์ชะมดชนิด Mansonia gagei (จันทน์หอม) | Mansonia gagei[4][# 1] | |
นครสวรรค์ | เสลา (อินทรชิต) | Lagerstroemia loudonii | |
นนทบุรี | นนทรี (นนทรีบ้าน) | Peltophorum pterocarpum | |
ปทุมธานี | ทองหลางลาย (ทองหลางด่าง, ปาริชาต) | Erythrina variegata | |
พระนครศรีอยุธยา | หมัน | Cordia cochinchinensis[5] | |
พิจิตร | บุนนาค | Mesua ferrea | |
พิษณุโลก | ปีบ | Millingtonia hortensis | |
เพชรบูรณ์ | มะขาม | Tamarindus indica | |
ลพบุรี | พิกุล | Mimusops elengi | |
สมุทรปราการ | โพทะเล | Thespesia populnea | |
สมุทรสงคราม | จิกเล (จิกทะเล) | Barringtonia asiatica | |
สมุทรสาคร | พญาสัตบรรณ (สัตบรรณ, ตีนเป็ด) | Alstonia scholaris | |
สระบุรี | ตะแบกนา | Lagerstroemia floribunda | |
สิงห์บุรี | มะกล่ำตาช้าง (มะกล่ำต้น) | Adenanthera pavonina | |
สุโขทัย | มะค่า (มะค่าโมง)[# 2] | Afzelia xylocarpa | |
สุพรรณบุรี | มะเกลือ | Diospyros mollis | |
อ่างทอง | มะพลับ (พลับ) | Diospyros malabarica var. siamensis | |
อุทัยธานี | สะเดา | Azadirachta indica var. siamensis |
- หมายเหตุ
- เว็บไซต์จังหวัดนครปฐมระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือจัน (Diospyros decandra) ซึ่งเป็นพรรณไม้คนละชนิดกับจันทน์ชะมด (Mansonia gagei)
- เว็บไซต์จังหวัดสุโขทัยระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือตาล (Borassus flabellifer)
ภาคตะวันออก
จังหวัด | พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ประจำจังหวัด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | ภาพ |
---|---|---|---|
จันทบุรี | จัน (จันอิน, จันโอ, จันลูกหอม) | Diospyros decandra | |
ฉะเชิงเทรา | อะราง (นนทรีป่า) | Peltophorum dasyrrhachis | |
ชลบุรี | ประดู่ (ประดู่ป่า) | Pterocarpus macrocarpus | |
ตราด | หูกวาง | Terminalia catappa | |
ปราจีนบุรี | โพ (โพศรีมหาโพธิ) | Ficus religiosa | |
ระยอง | กระทิง (สารภีทะเล, กากะทิง)[# 1] | Calophyllum inophyllum | |
สระแก้ว | มะขามป้อม | Phyllanthus emblica |
- หมายเหตุ
- เว็บไซต์จังหวัดระยองระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือประดู่ (Pterocarpus macrocarpus)
ภาคตะวันตก
จังหวัด | พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ประจำจังหวัด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | ภาพ |
---|---|---|---|
กาญจนบุรี | ขานาง | Homalium tomentosum | |
ตาก | แดง | Xylia xylocarpa var. kerrii | |
ประจวบคีรีขันธ์ | เกด | Manilkara hexandra | |
เพชรบุรี | หว้า | Syzygium cumini | |
ราชบุรี | โมกมัน | Wrightia arborea |
ภาคใต้
จังหวัด | พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ประจำจังหวัด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | ภาพ |
---|---|---|---|
กระบี่ | ทุ้งฟ้า | Alstonia macrophylla | |
ชุมพร | มะเดื่ออุทุมพร (มะเดื่อชุมพร) | Ficus racemosa | |
ตรัง | ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia[6] | Jacaranda obtusifolia | 180px |
นครศรีธรรมราช | แซะ | Callerya atropurpurea | |
นราธิวาส | ตะเคียนชันตาแมว (จืองา มัส, จืองา บาตู) | Neobalanocarpus heimii | |
ปัตตานี | ตะเคียน (ตะเคียนทอง, จืองา) | Hopea odorata | |
พังงา | เทพทาโร (จวง, จวงหอม) | Cinnamomum porrectum | |
พัทลุง | พะยอม | Shorea roxburghii | |
ภูเก็ต | ประดู่บ้าน (ประดู่) | Pterocarpus indicus | |
ยะลา | อโศกเหลือง (โสกเหลือง, ศรียะลา) | Saraca thaipingensis | |
ระนอง | อบเชย (เชียด, บริแวง, ฝนแสนห่า)[# 1] | Cinnamomum bejolghota[7][# 2] | |
สงขลา | สะเดาเทียม (เทียม, สะเดาช้าง) | Azadirachta excelsa | |
สตูล | กระซิก (หมากพลูตั๊กแตน) | Dalbergia parviflora[8][9] | |
สุราษฎร์ธานี | เคี่ยม | Cotylelobium lanceolatum |
- หมายเหตุ
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนองระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคืออินทนิล (Lagerstroemia speciosa)
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า “อบเชยญวน”