เสียงระเบิดดังสนั่นบนท้องฟ้าจ.ปทุมฯ เมื่อคืนวาน ที่แท้เป็น..
เผยที่มา เสียงดังสนั่นเหนือท้องฟ้า หลายพื้นที่ในปทุมธานี กรุงเทพฯ – ปริมณฑล รู้สึกถึงความสั่นไหว คาดเกิดจากช็อกเวฟ หลังการแตกตัวของดาวตก
เมื่อเวลา 18.07 น. วันที่ 6 สิงหาคม 2563 ทวิตเตอร์ สวพ.FM91 มีรายงานว่า “เมื่อประมาณ 30 นาทีที่ผ่านมา ปชช. ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้ยินเสียงตูมสนั่น แบบดังมาก โดยรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ของ จ.ปทุมธานี #ศ.ข่าวสวพ.FM91 ตรวจสอบกับ จนท.ศูนย์วิทยุปทุมธานี เบื้องต้นยังไม่ได้รั
โดยในโซเชียลได้มีหลายคนในพื้
ขณะที่ เว็บภัยพิบัติ ได้มีรายงานเรื่องดังกล่าว ระบุว่า “17:00 เกิดดาวตกเหนือท้องฟ้าในกรุงเทพฯ เกิดแรงสะเทือนจากช็อกเวฟหลั
ต่อมาทางเพจ Drama-addict ก็ได้แชร์โพสต์ดังกล่าวเช่นกัน พร้อมระบุว่า “ถ้ามีสะเก็ดตกลงมาแถวบ้านใคร อย่าไปแตะนะครับ แจ้ง จนท. ก่อน”
ขณะที่ทาง ไทยพีบีเอส ได้สอบถาม ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจั
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อธิบายเหตุการณ์ดาวตกทำให้เกิดเสียงปริศนาเมื่อคืนละเอียดยิบ เผย เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ 5 ปีก่อน แนะไม่ต้องกังวล ไม่มีอันตรายใด ๆ
ล่าสุด วันที่ 7 สิงหาคม 2563 เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รายงานว่า ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า สาเหตุของเหตุการณ์เมื่อวาน อาจจะมาจากดาวตกขนาดใหญ่ พุ่งผ่านท้องฟ้าด้วยความเร็วสูง ซึ่งเร็วกว่าเสียง ทำให้เกิดเสียงดังสนั่นหลายพื้นที่ และเกิดแรงสั่นสะเทือน
สำหรับเรื่องอุกกาบาตนั้น ปกติมักมีขนาดเล็กหลุดเข้ามาในโลกประจำ แต่ไม่ค่อยสร้างความเสียหาย ยกเว้นถ้าเป็นวัตถุขนาดใหญ่และมีมวลรวมหลายตัน ถ้าหากเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูง ก็เกิดการระเบิด มีแสงสว่างวาบ และมีเสียงระเบิดตามมาภายหลัง แม้ว่าตอนนี้จะมีโครงการเฝ้าระวังวัตถุใกล้โลกของนาซา และหลายหน่วยงานที่คอยติดตาม แต่ก็ไม่สามารถจับวัตถุที่มีขนาดเล็กที่ผ่านเข้ามาได้ เนื่องจากแสงสว่างมีน้อย และมีจำนวนมากหลายวัตถุ
นอกจากอุกกาบาตแล้ว ยังมีวัตถุอื่น ที่มีเหตุการณ์ลักษณะนี้อีกหลายชนิด เช่น ดาวเคราะห์น้อยที่โคจรใกล้โลก เศษซากดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งาน ดังนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตื่นตระหนก ไม่สร้างอันตรายต่อชีวิต
ส่วนประเทศไทยนั้น มีการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร เฝ้าสังเกตการณ์วัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 เมตร แต่ปัญหาคือ ไม่สามารถตรวจสอบวัตถุขนาดเล็กกว่า 100 เมตรได้ แต่วัตถุเหล่านี้ก็มักจะเกิดการเผาไหม้บนท้องฟ้า ไม่สร้างอันตรายใด ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
kapook.com
https://www.google.com/search?q=%E0%B9%80%E0%B