สิ่งประดิษฐ์-บ้าน » ย้อนรอย > ภาษีแสงแดด ..ฤา เป็นแค่ข่าวลือ??

ย้อนรอย > ภาษีแสงแดด ..ฤา เป็นแค่ข่าวลือ??

5 มิถุนายน 2020
1246   0

เว็บไซต์ “ศูนย์ข่าวพลังงาน” ได้เสนอข่าวจากโฆษกของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่า

“กกพ. ไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้า (Backup Rate) จากผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา หรือที่เรียกว่า “โซลาร์รูฟท็อป” ประเภทใช้เองในบ้านอยู่อาศัย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ติดตั้งผลิตไฟฟ้าใช้ในปริมาณไม่มาก แต่ประเภทกลุ่มโรงงาน มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า ที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาดใหญ่ ได้มีเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองในปริมาณมาก เฉพาะบางช่วงเวลาซึ่งจะผลิตใช้ในช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืนที่ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ก็จะต้องมาขอใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืน ซึ่งในกลุ่มนี้หากในอนาคตเกิดการติดตั้งเพิ่มมากขึ้น อาจมีผลกระทบต่อระบบไฟฟ้ารวมและต้นทุนค่าไฟฟ้าของประเทศได้”


การเปิดเสรีให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้านสำหรับใช้เองและสามารถพักไว้ในสายส่งและสิ้นเดือนก็นำไฟฟ้าที่ผลิตได้กับที่ใช้ไปมาหักลบกัน ถ้าใช้มากกว่าผลิตก็จ่ายส่วนต่างให้การไฟฟ้า ถ้าผลิตมากกว่าใช้ ก็ให้การไฟฟ้ารับซื้อจากผู้ผลิตเรียกว่าระบบ Net Metering ซึ่งจะช่วยส่งเสริมนโยบายการประหยัดไฟฟ้าของรัฐบาลอย่างเป็นจริงได้โดยให้ประชาชนร่วมผลิตไฟและสามารถขายไฟได้..

ข้อเสนอนี้ถือว่าเป็นการปฏิรูปนโยบายพลังงานอย่างแท้จริง หากประชาชนสามารถเป็นผู้ผลิตและขายได้ จะลดการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ พลังงานจากแดดมีคุณค่าในการช่วยลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลที่เป็นต้นเหตุของวิกฤติการณ์โลกร้อน

นอกจากนี้กระบวนการผลิตโดยประชาชนจำนวนมากจะเป็นกระบวนการกระจายรายได้ให้กับประชาชน แตกต่างจากระบบผูกขาดที่มีแต่กลุ่มทุนรายใหญ่เท่านั้นที่ร่ำรวยจากการผลิตและขายไฟให้รัฐ แต่กฟผ.และ ก.พลังงานไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้..

ผ่านมา 2 ปีกว่าแล้ว ไม่มีการขยับอะไรจากภาครัฐที่อ้างมาเพื่อปฏิรูปประเทศ และเวลาที่ผ่านไปก็ทำให้ต้นทุนการติดตั้งโซล่ารูฟลดลงมาก ประชาชนกลุ่มธุรกิจ และสถาบันการศึกษายอมลงทุนติดตั้งโซล่ารูฟแม้ไม่มีการส่งเสริมใดๆ จากรัฐบาล ซึ่งกฟผ.ไม่สามารถหยุดยั้งกระแสความตื่นตัวดังกล่าวได้

จนมามีข่าวว่ากฟผ.เสนอให้มีการเก็บภาษีแดดเดือนละ100-200 บาท จากบ้านที่ติดตั้งโซล่ารูฟ โดยจะเริ่มเก็บจากหน่วยธุรกิจ และสถาบันการศึกษาที่ติดตั้งในปริมาณมากก่อน..


เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มการผลิตไฟฟ้าใช้เองในช่วงกลางวันเพิ่มมากขึ้น แต่ในช่วงระยะเวลากลางคืนที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง ก็กลับมาซื้อไฟฟ้าจากรัฐ ซึ่งส่งผลให้ยอดใช้ไฟฟ้าโดยรวมลดลง ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนปกติที่ไม่ได้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปผลิตไฟฟ้า ต้องแบกรับค่าไฟฟ้าสูงขึ้น เนื่องจาก กฟผ. ต้องเตรียมระบบสำรองไฟฟ้าไว้รองรับความต้องการใช้ที่ไม่แน่นอนในช่วงกลางคืน ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ผู้ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปใช้เองในช่วงกลางวัน และซื้อไฟฟ้าจากระบบใช้ในตอนกลางคืน ทั้งที่จดแจ้งอย่างถูกต้องและกลุ่มที่ไม่ได้จดแจ้ง ควรจะต้องเสียค่าชาร์จไฟฟ้าแบ็กอัพอย่างน้อยๆ ประมาณ 100 – 200 บาทต่อเดือน เพื่อความเป็นธรรมกับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าปกติ โดยเงินที่เรียกเก็บก็จะนำมาช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าปกติทั่วไป ซึ่งหลังจากที่ กฟผ. ส่งผลการศึกษาไปที่ กกพ. แล้ว ทาง กกพ. จะมีการกำหนดอัตราเรียกเก็บที่เหมาะสมต่อไป นายพฤหัส กล่าว

ทั้งนี้ กฟผ. ได้ศึกษาตัวอย่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะมี 50 รัฐ ที่มีดีเบต กันว่าควรเก็บค่าชาร์จไฟฟ้าในส่วนที่ต้องมีการลงทุนเพื่อแบ็กอัพระบบหรือไม่ ซึ่งมีกรณีวิธีการเรียกเก็บเงินที่แตกต่างกันถึง 61 กรณี โดยมีการเสนอเรียกเก็บตั้งแต่ 3-50 เหรียญสหรัฐฯต่อเดือนต่อครัวเรือน แต่โดยเฉลี่ยจะเรียกเก็บประมาณ 3 – 10 เหรียญสหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 300 – 400 บาทต่อเดือน

ปัจจุบันมีผู้ผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปที่จดแจ้งกับการไฟฟ้ามีประมาณ 100 – 200 เมกะวัตต์ แต่ที่ไม่ได้จดแจ้งอีกจำนวนมาก โดยหากในอนาคตหากมีการติดตั้งเพิ่มสูงเกินกว่า 2,000 เมกะวัตต์ จะคิดเป็น 15% ของไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งความต้องการใช้ไฟฟ้าที่หายไปในส่วนนี้ ในตอนกลางวัน จะกลับมาในตอนกลางคืน ที่คนกลุ่มนี้กลับมาซื้อไฟฟ้าใช้จากระบบตามปกติ ทำให้ กฟผ. ยังต้องลงทุนระบบแบ็กอัพ ไฟฟ้าไว้ในช่วงเวลากลางคืน ทำให้ภาระต้นทุนไปอยู่กับผู้ใช้ไฟฟ้าปกติ เพราะตัวหารลดลง.

ขอบคุณ&เรียบเรียงจาก  https://mgronline.com/daily/detail/9600000064676

เก็บภาษีแดด  


https://www.google.com/search?q=%E0%B9%82%E0%B8..