อาหาร » แอลกอฮอล์ทำให้เมาได้อย่างไร?

แอลกอฮอล์ทำให้เมาได้อย่างไร?

12 เมษายน 2020
2600   0

“เอทานอล” โมเลกุลนี้สร้างขึ้นจากคาร์บอนไม่กี่อะตอม เป็นสาเหตุของภาวะขาดสติชั่วคราว(หรืออาการมึนเมา)
ซึ่งเรารู้จักกันดีในรูปแอลกอฮอล์นั่นเอง เอทานอลคือตัวกระตุ้นซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แต่เราเคยสงสัยกันบ้างรึเปล่าว่าจริงๆแล้วมันทำให้เราเมาได้ยังไง และทำไมมันถึงออกฤทธิ์แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
เราจะมาคำตอบกันครับ?

จากปากสู่กระเพาะ

การจะตอบคำถามเหล่านี้ได้ เราต้องติดตามการเดินทางของแอลกอฮอล์ในร่างกายกันซะก่อน แอลกอฮอล์นั้นจะไหลลงสู่กระเพาะและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางเส้นเลือดของระบบย่อยอาหารโดยเฉพาะลำไส้เล็ก ปริมาตรของสิ่งที่อยู่ในกระเพาะนั้นมีผลต่อความสามารถของแอลกอฮอล์ในการซึมผ่านเข้ากระแสเลือดได้ เพราะหลังจากที่เรากิน กล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหาร(กั้นระหว่างกระเพราะกับลำไส้เล็ก)จะปิดลง ดังนั้นระดับของแอลกอฮอล์ที่สามารถถูกดูดซึมได้หลังจากจัดมื้อหนักไปนั้นจะน้อยกว่าตอนที่ท้อง(กระเพาะ)ว่างมากเลยทีเดียว

จากกระแสเลือดสู่อวัยวะ

การเดินทางยังไม่จบ แอลกอฮอล์นั้นจะเดินทางจากกระแสเลือดไปยังอวัยวะ โดยเฉพาะตับและสมอง ตับเป็นที่แรกที่มันไปและเอนไซม์(ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี)ในตับนั้นจะเปลี่ยนโมเลกุลแอลกอฮอล์ใน 2 กระบวนการด้วยกันนั่นคือ

1.เอนไซม์ ADH เปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็น”อะซิทัลดีไฮด์” (เป็นพิษ)
2.เอนไซม์ ALDH เปลี่ยนอะซิทัลดีไฮด์เป็นกรดอะซิติค (ซึ่งไม่เป็นพิษ)

ขณะที่การไหลเวียนเลือดทำงานอยู่นั้นตับก็จะทำการกำจัดแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นตับนี่เองที่เป็นตัวกำหนดปริมาณของแอลกอฮอล์ก่อนจะไหลไปสู่สมองและอวัยวะอื่นๆในร่างกาย

ความอ่อนไหวของสมองนั้นเป็นสาเหตุของอารมณ์ การรับรู้ และพฤติกรรม ซึ่งแอลกอฮอล์สามารถควบคุมมันได้
เมื่อแอลกอฮอล์มาถึงสมอง มันจะพลักคันโยกเบรคของสมองขึ้น (สารสื่อประสาท GABA) และสับคันโยกแก๊สลง (สารสื่อประสาทกลูตาเมต) ผลที่ได้คือทำให้สมองหยุดส่งกระแสประสาท ผู้ดื่มเองจะรู้สึกผ่อนคลายและง่วงมากกว่าปกติ

แอลกอฮอล์ยังกระตุ้นเซลล์ประสาทกลุ่มเล็กๆบางประเภทซึ่งอยู่บริเวณกลางสมอง(midbrain)ถึงบริเวณที่เรียกว่า nucleus accombens (NAc)โดยมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และแอลกอฮอล์ก็เหมือนกันกับยาเสพติดต่างๆ มันกระตุ้นให้เกิดการหลั่งโดปามีน(สารแห่งความสุข)ใน NAc ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกพึงพอใจ

แอลกอฮอล์ยังส่งผลให้เซลล์ประสาทบางกลุ่มสร้างและหลังสารเอนโดฟิน(สารแห่งความสุข)ด้วยเช่นกัน เอนโดฟินช่วยให้เราผ่อนคลายในสถานการตึงเครียดหรืออันตราย ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของเอนโดฟินจะทำให้เรารู้สึกสบายเป็นอย่างยิ่งซึ่งแปรผันตรงกับการดื่มนั่นเอง(ดื่มมากก็สุขมากอะไรงี้)

แตกต่างอย่างลงตัว

สุดท้ายขณะที่ตับกำลังกำจัดแอลกอฮอล์แข่งกับการที่สมองกำลังดูดซึมมันอยู่ด้วยนั้นความมึนเมาก็จะหายไป
ความสามารถในการกำจัดแอลกอฮอล์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น ชายและหญิงที่มีน้ำหนักเท่ากันดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเท่ากันขณะรับประทานอาหาร จะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดที่แตกต่างกัน (BACs) นี่เป็นเพราะผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีเลือดน้อยกว่า (ผู้หญิงมีเปอร์เซ็นต์ของไขมันในเลือดมากจึงต้องการเลือดน้อยกว่าผู้ชาย) และนี่เองเป็นผลให้ผู้หญิงเมาได้เร็วกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ความแตกต่างทางพันธุกรรม และปัจจัยอื่นๆก็ยังมีผลเกี่ยวข้องกันด้วย การดื่มปกตินั้นช่วยกระตุ้นการทำงานให้ตับผลิตเอนไซม์มากขึ้น แต่จำไว้ว่าหากดื่มบ่อยเกินไปอาจได้ผลลัพท์ที่ตรงกันข้าม แอลกอฮอล์จะทำลายตับนั่นเอง

source

TED-Ed (youtube)
addictioncenter.com
sites.duke.edu