โป๊ะเช๊ะ ดอท คอม

2563สิ้นนักร้องรุ่นใหญ่ตำนานลูกกรุง”สุเทพ วงศ์กำแหง”

2563สิ้นนักร้องรุ่นใหญ่ตำนานลูกกรุง”สุเทพ วงศ์กำแหง”

นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการเพลงบ้านเรา
อีกครั้งหลังมีรายงานว่าทางด้านของนักร้องเจ้าของฉายา “เสียงขยี้แพรบนฟองเบียร์”
เรืออากาศตรี สุเทพ วงศ์กำแหง ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 86 ปี
ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ณ บ้านเลขที่ 267 ซอยปรีดีพนมยงค์42 แยก 7 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ

 

..สุเทพ วงศ์กำแหง เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
อำเภอสูงเนิน นครราชสีมา เป็นเจ้าของเพลงลูกกรุงอมตะมากมาย อาทิ
รักคุณเข้าแล้ว, เธออยู่ไหน, เสน่หา, เย้ยฟ้าท้าดิน, ป่าลั่น ฯลฯ
รวมถึงเป็นเจ้าของรางวัลศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง ขับร้องเพลงไทยสากล เมื่อปี พ.ศ. 2533.


ประวัติ

เป็นอีกหนึ่งข่าวเศร้าของวงการเพลงไทย เมื่อ “สุเทพ วงศ์กำแหง” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ขับร้องเพลงไทยสากล เจ้าของเพลงลูกกรุงไพเราะอมตะมากมาย อาทิ รักคุณเข้าแล้ว, เธออยู่ไหน, เย้ยฟ้าท้าดิน, ป่าลั่น, บทเรียนก่อนวิวาห์ และ เสน่หา ด้วยน้ำเสียงหวานนุ่มทำให้ได้รับสมญานามว่าเป็น “นักร้องเสียงขยี้แพรในฟองเบียร์” ได้เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 86 ปี ภายใน บ้านเลขที่ 267 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ..

สำหรับประวัติของ “เรืออากาศตรี สุเทพ วงศ์กำแหง” เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2477 ที่จ.นครราชสีมา รับการศึกษาตั้งแต่เบื้องต้นจนจบชั้น ม. 6 ที่จังหวัดบ้านเกิด โดยหลังจบ ม.6 ก็ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่กับญาติที่กทม. และด้วยนิสัยรักการวาดเขียนและงานศิลปะเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้สมัครเข้าเรียนต่อที่รร.เพาะช่าง ซึ่งระหว่างที่เรียนอยู่ นอกจากท่านจะแสดงฝีมืออย่างโดดเด่นในทางศิลปะแล้ว ยังเป็นนักร้องเสียงดีประจำห้องเรียนอีกด้วย..

คุณสุเทพได้มีโอกาสรู้จักและคุ้นเคยกับครูไศล ไกรเลิศ นักแต่งเพลงผู้มีชื่อเสียง เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้กัน เมื่อครูไศลมองเห็นแววความสามารถของคุณสุเทพก็คิดจะช่วยสนับสนุนส่งเสริม จึงชักชวนให้มาช่วยงาน เช่น ช่วยเขียนโน้ตเพลง เขียนตัวหนังสือ ตลอดจนติดตามไปช่วยงานในธุรกิจบันเทิงต่างๆเสมอ ทั้งยังได้รับโอกาสให้ร้องเพลงสลับฉากละคร ร้องเพลงตามงานบันเทิงต่างๆ รวมไปถึงการทดลองเสียงแทนนักร้องตัวจริงก่อนที่จะทำการอัดเสียงเสมอ จนได้รับคัดเลือกให้ร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงของตนเองบ้าง..

ต่อมาท่านได้รับการสนับสนุนจาก พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบการร้องเพลงของท่าน โดยช่วยส่งเสริมท่านในทางต่างๆ ทั้งยังชักชวนให้เข้ารับราชการในกองทัพอากาศ โดยได้ประจำอยู่ที่วงดุริยางค์ทหารอากาศ โดยมีครูปรีชา เมตไตรย์ เป็นผู้ควบคุมวง ระหว่างนั้น คุณสุเทพได้บันทึกแผ่นเสียงมากขึ้นอีก และสถานีวิทยุต่าง ๆ ก็ได้นำเพลงที่ท่านร้องบันทึกแผ่นเสียงนี้ไปเปิดจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างรวดเร็ว

ภายหลังจากออกจากกองทัพอากาศแล้ว คุณสุเทพก็ได้ร้องเพลงเป็นอาชีพหลักอย่างเต็มตัว ได้เข้าร่วมกับคณะชื่นชุมนุมศิลปิน และได้มีโอกาสร้องเพลงทั้งในรายการวิทยุและโทรทัศน์อยู่เนืองๆ ทำให้ชื่อเสียงเพิ่มขึ้น ได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้ร่วมแสดงภาพยนตร์บางเรื่อง ทำให้ท่านเป็นนักร้องที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงภายในระยะเวลารวดเร็ว จนได้รับฉายาจาก รงค์ วงษ์สวรรค์ว่า “นักร้องเสียงขยี้แพรบนฟองเบียร์” มีผลงานดีเด่นเป็นเวลาต่อเนื่องมานานกว่า 40 ปี…

สำหรับ รางวัลเชิดชูเกียรติตลอดชีวิตในวงการบันเทิงนั้น “คุณสุเทพ วงกำแหง” ได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง รางวัลเสาอากาศทองคำในฐานะนักร้องยอดเยี่ยม 2 ครั้ง และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล – ขับร้อง) ในปีพ.ศ.2533

นอกจากนี้ ในด้านการเมือง “สุเทพ วงศ์กำแหง” เป็นศิลปินที่สนใจการเมือง มีส่วนสนับสนุนนักศึกษาให้เรียกร้องประชาธิปไตยสมัยเหตุการณ์ 14 ต.ค. พ.ศ.2516 เป็นสมาชิกพรรคแนวร่วมสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ต่อมาได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคพลังใหม่ และได้รับเลือกตั้งหลายสมัย

โดยในปี พ.ศ.2525 เคยเข้าร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการพรรคพลังใหม่ ซึ่งนำโดยนายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ หัวหน้าพรรค ร้อยตรีสมหวัง ศรีชัย รองหัวหน้าพรรค และแกนนำคนสำคัญอาทิเช่น ชัชวาลย์ ชมภูแดง บรรลือ ชำนาญกิจ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ในปี พ.ศ. 2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจประชาคม

ทั้งนี้ “สุเทพ” เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม ในปี พ.ศ. 2531 ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มี.ค. พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อีกด้วย….

ขอบคุณ https://www.dailynews.co.th/entertainment/759909
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%AA%E0%B8..
https://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=100180