เชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนนั้นคงจะมีสิ่งที่ยังจำได้และสิ่งที่หลงลืมไปแล้วในอดีต (หรือลืมเมื่อกี๊นี้) กันทุกคน การหลงลืมนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติและธรรมชาติคือวิทยาศาสตร์ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้ในหัวข้อของ “วิทยาศาสตร์กับการหลงลืม” อย่างคล่าวๆกัน (overview) ครับ ^^
อย่างแรกที่เราจะศึกษากันคือเรื่อง “ตำแหน่งของสมองที่มีหน้าที่เก็บความทรงจำ” นักวิทยาศาสตร์แรกๆนั้นเชื่อกันว่าสมองทุกส่วนจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำอย่างละเท่าๆกัน แต่ในปัจจุบันนี้พบว่าสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำนั้น แบ่งเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่
- คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (Prefrontal cortex)
เป็นสมองส่วนที่เก็บความทรงจำในเรื่องของ ภาษาศาสตร์ (semantic tasks) - อะมิกดะลา (Amygdala)
เป็นสมองส่วนที่เก็บความทรงจำเกี่ยวกับ ความกลัว - ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)
เป็นสมองส่วนที่สร้าง ความทรงจำระยะยาว (ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ สมองส่วนนี้มักจะมีความผิดปกติ) - ซีรีเบลลัม (Cerebellum)
เป็นส่วนในการเก็บความทรงจำแบบซับซ้อน เช่น ความทรงจำในการเล่นเปียโน เป็นต้น
อย่างที่สองนั้นเป็นเรื่องของ การลืม (Forgetting) ซึ่งเป็นภาวะที่ระบบความทรงจำลบข้อมูลที่ได้เคยจำไว้ได้นั้นออกไป ทำให้จำไม่ได้ ซึ่งเกิดได้จากกระบวนการลืม 4 ประเภท ได้แก่
- การไม่ได้ใช้ความจำนั้น (decay through dis-use) เป็นการลืมเนื่องจากจดจำข้อมูลไว้นานแล้ว หากแต่ไม่มีตัวกระตุ้นที่เหมาะสมจึงไม่ได้นำความจำในเรื่องนั้นๆกลับมาใช้เป็นเวลานาน
- ผลของการแทรกสอดจากสิ่งที่เรียนรู้เพิ่ม (interference effect) เป็นการรบกวนกันของข้อมูลใหม่ต่อข้อมูลเก่าผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยเกิดผล 2 แบบได้แก่
1) การย้อนระงับ (retroactive inhibition) เป็นการที่ข้อมูลที่เรียนรู้ใหม่ไประงับสิ่งที่เรียนรู้ไว้เดิม โดยถือว่าความรู้เดิมขาดความสำคัญและเกิดการลืมเลือนไป
2) การตามระงับ (proactive inhibition) เป็นการที่ข้อมูลที่เรียนรู้ไว้แต่เดิมแสดงบทบาทยับยั้งการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ เมื่อข้อมูลใหม่ขัดแย้งกับข้อมูลเดิม และเกิดภาวการณ์ยึดติดกับข้อมูลเดิมไว้ ทำให้ลืมเลือนข้อมูลใหม่ไป - การจงใจลืม (motivated forgetting) เป็นความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของบุคคลในการที่จะลืมข้อมูลบางส่วน อันเนื่องมาจากสถานการณ์บางอย่าง เช่น อุบัติเหตุ การตกใจ
- ความล้มเหลวในการเรียกคืนความจำ(retrieval failure theory) เป็นการที่บุคคลนำข้อมูลเก็บไว้เป็นความทรงจำระยะยาว แต่ไม่สามารถเรียกออกมาได้ เนื่องจากมีการจดจำที่ผิดพลาด ไม่จัดหมวดหมู่ไม่ถูกต้อง และการขาดสิ่งกระตุ้นความทรงจำที่เหมาะสม ทำให้กลายเป็นความทรงจำที่ปิดสนิท
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับความรู้ในวันนี้ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆนะครับ สำหรับวันนี้ของตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ^^
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจาก
courses.lumenlearning.com
เพจปรัชญาจิตวิทยา
th.wikipedia.org
tha.psychic-parapsychologist.com