●สนใจการเกษตรทุกรูปแบบ เข้าไปร่วมพูดคุยได้ที่นี่ครับ เพจ 108เกษตร คลิก!!
มะละกอฮอลแลนด์ มีเทคนิคการสังเกต 5ลักษณะพันธุ์แท้ ได้แก่
1.ก้านงอ
2.โคนแดง
3.แฉกใบลึก
4.ลูกเหมือนแฟง
5.มีธงตรงใบ
วิธีปลูก
- ไถพรวนดินและยกร่องเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่
- ระยะปลูกระหว่างต้น 2 เมตร ระหว่างร่อง 3 เมตร
- นำกล้ามะละกอที่ได้มาปลูกบนร่อง ขุดหลุมลึกเท่าฝ่ามือ นำกล้ามะละกอลงแล้วกลบดินให้เท่ากับโคนต้นที่อยู่ในถุง เพื่อป้องกันดินร้อนจนลวกต้นมะละกอ
- ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ 7 วันต่อครั้ง และให้ปุ๋ยคอกทางดินเดือนละครั้ง
(รายละเอียดการปลูก)
แนะนำการเพาะต้นกล้า- เตรียมดิน โดยใช้ ดินร่วน + แกลบดำ อัตรา 2:1 หรือดินร่วนระบายน้ำดีๆ พวก ดินขุยไผ่ หรือดินโคนมะขามที่มันร่วนๆ ใส่ถุงดำ ไม่เอาดินเหนียว ไม่เอาดินซื้อที่ผสมขุยมะพร้าว
- การแช่เมล็ดมี 2 วิธี ( น้ำที่ใช้ ต้องผ่านการต้มให้เดือดก่อนเพื่อฆ่าเชื้อ )
- วิธีแรก นำเมล็ดแช่น้ำอุ่น แล้วปล่อยไว้ให้น้ำเย็นทิ้งไว้ 2 คืนแล้ว นำเมล็ดที่ลอยและกึ่งจมกึ่งลอยทิ้งไป ควรแช่ด้วย สารป้องกันเชื้อราเช่น ไตรโคเดอร์มา หรือเมทาแล็กซิล ก่อนสัก 5 -10 นาที จึงนำเมล็ดไปห่อผ้า
- นำเมล็ดที่แช่ห่อด้วยผ้าชุ่มน้ำหมาดๆ ใส่กระติกน้ำปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 4-6 วัน เมล็ดจะเริ่มแตกออก ไม่ควรให้เมล็ดงอกยาวเกินไป คัดเมล็ดที่เริ่มปริแตกออกมาปลูกก่อน
- วิธีที่สอง นำเมล็ดแช่น้ำอุ่น แล้วปล่อยไว้ให้น้ำเย็นทิ้งไว้ 2 คืน เปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน นำเมล็ดที่ลอยและกึ่งจมกึ่งลอยทิ้งไป (ไม่ต้องเสียดาย ใส่เมล็ดเผื่อไปให้แล้ว) วิธีนี้ข้อดีคือสะดวกคนปลูก ข้อเสียคือต้นจะขึ้นไม่ค่อยเสมอกันสู้การบ่มไม่ได้
- นำเมล็ดที่แช่ไว้ นำมาเพาะลงถุง โดยใส่ ถุงละ 3 -4 เมล็ดกลบไม่ต้องลึก เอาแค่พอรดน้ำแล้ว เมล็ดไม่กระเด็นหายจากถุงพอ ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ก็พอ
- รดน้ำทุกวัน คอยดูดินไม่ให้แห้ง แต่ห้ามน้ำขัง ดินเหนียว ขุยมะพร้าว อมน้ำเมล็ดจะเน่าง่าย ถ้าให้โดนแสงช่วงเช้า ช่วงบ่ายไม่โดนจะดีเพราะช่วงบ่ายแดดแรง
- ข้อนี้สำคัญ ช่วงการเพาะกล้า ห้ามโดนฝนตกใส่เด็ดขาด ห้ามน้ำขังโคน ดินแน่นๆที่จะใช้เพาะ แม้ไม่ใช่ดินเหนียวก็ควรหาแกลบดำ หรือวัสดุที่ช่วยให้ดินมีช่องว่างขึ้น และไม่ควรเอาปุ่ยคอกมาใส่ช่วงเพาะกล้า อาจเป็นราได้
- หมั่นสังเกตุต้น ถ้าพบต้นเหลือง ให้ดูว่า มาจากขาดน้ำ หรือน้ำมากไป หรือ โดนน้ำฝนเป็นรา แก้ไขให้ตรงจุด ทางที่ดีอย่าให้โดนเลย
- เมื่อต้นกล้า อายุได้ 30-40 วัน หรือมีใบจริง 2-3 ใบ จึงนำไปปลูกลงแปลง ระยะของหลุม ห่างกัน 2.5 X 2.5 m หรือ มากกว่าได้
แนะนำการปลูกต้นกล้ามะละกอฮอลแลนด์
- พื้นที่ในการนำกล้ามะละกอฮอลแลนด์ไปลง ต้องน้ำไม่ขัง น้ำท่วมไม่ถึง และต้องมีน้ำรดเวลาหน้าแล้ง
- ระยะการปลูก ไม่ควรน้อยกว่า 2.5×2.5 ถ้าชิดมาก ใบจะแย่งกันหาแสง ต้นจะสูงเร็ว เวลาเป็นโรค จะแพร่กระจายเร็ว พื้นที่1 ไร่ จึงปลูกได้ ราว 200-300 หลุม แล้วแต่ระยะการปลูก
- ขุดหลุมปลูกไม่ลึกมาก หากอยากปรุงดิน ควรใช้การเคล้าปุนคอกหรือปุยอินทรีย์กับดิน จะดีกว่าการรองก้นหลุมเป็นก้อน เพราะอาจทำให้เกิดความร้อนสะสมอยู่ด้านล่าง รากอ่อนมะละกออาจเหลืองตายได้ ไม่ควรให้ดินโดยรอบ ต่ำกว่าดินข้างๆ เพราะอาจทำให้เกิดน้ำขัง โคนเน่าได้
- ใน1หลุม ควรมีมะละกออย่างน้อย สองต้นขึ้นไป เพื่อไว้คัดดอก ให้เหลือไว้แต่ต้นกะเทย ต้นเดียว
- การแกะออกจากถุงดำ ระวัง เรื่องรากที่ขาด เพราะจะทำให้มะละกอเหี่ยว อาจตายได้ง่าย
แนะนำการดูแลรักษามะละกอฮอลแลนด์
-
- การให้ปุ๋ย นอกจากปุ๋ยเคมีที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไปแล้ว ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกร่วมด้วย โดยใส่สองเดือนครั้ง
ราวๆ สองอาทิตย์หลังปลูก สามารถเริ่มให้ปุยเคมีได้แล้ว แต่ ปริมาณ ไม่ต้องมาก แค่ 1 ช้อนแกงโรยให้กระจาย
- ในส่วนปุ๋ยเคมี มีหลายสูตรให้เลือกใช้ แต่ที่เน้น ควรเป็น N ไนโตรเจนกับ K โปแตสเซียม 15-15-15,8-24-24,13-13-21,13-13-24,21-7-14 ปริมาณการให้ ในช่วงแรกถึง 2 เดือน ใช้เพียง 1 ช้อนแกง หลังจากนั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้ตามขนาดของต้น
- ในช่วงมะละกออายุได้สองเดือน แนะนำให้เน้น K โพแตสเซียมมากนิดนึง เพื่อเร่งให้ติดดอกเร็ว จะได้คัดต้นกะเทยไว้ต้นเดียวได้เร็วขึ้น
- ในการให้ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุยเคมี ควรให้น้ำคู่ไปด้วย เพราะพืชดูดซึมสารอาหารในรูปแบบสารละลาย และความถี่ในการให้ปุ๋ยเคมี อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ถ้าให้ดี ทุก 15 วัน
- ยากำจัด แมลงปากดูด เพลี้ยไฟไรแดง ใช้เมื่อมีการระบาด ถ้าไม่มีไม่ต้องใช้ จะไม่ใช้ยาพวกนี้ในเชิงป้องกันเพราะจะทำให้ มีการดื้อยาได้ง่าย
- เมื่อมะละกอเริ่มติดดอก ใช้แคลเซียมโบร่อนพ่นทางใบ ทุกอาทิตย์เพื่อให้ขั้วเหนียวติดดอกดี
- หมั่นทำให้สวนสะอาด กำจัดหญ้า หรือบริเวณที่จะเป็นที่หลบซ่อนของพวกแมลง เพื่อให้ให้สวนเกิดการระบาดของโรค
*** หมายเหตุ อาหารเสริม ยาต้าน ยาป้องกัน ที่หลายคนแนะนำเซลล์ขายยาแนะนำ แล้วแต่เจ้าของสวนพิจารณาเอง***** แต่ควรดูแลสวนให้ไม่รก ระวังเรื่องแมลง พวกเพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงปากดูดทั้งหลาย ที่จะนำเชื้อต่างๆมาทำลายมะละกอ
..หลังจากผ่านไป 8 เดือน จะเริ่มเก็บลูกขาย และเก็บขายๆ ๆๆๆๆ แต่ต้องใส่ปุ๋ยดูแลให้ดีๆเช่นเดิม อย่ามัวแต่รับเงินอย่างเดียวนะคร๊าบบบ ..