รู้ไว้ได้ประโยชน์ » “ไต้ฝุ่น” ฉบับสั้นง่ายได้ใจความ

“ไต้ฝุ่น” ฉบับสั้นง่ายได้ใจความ

13 ตุลาคม 2019
3925   0

ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิสเหนือทะเลฟิลิปนส์
(ที่มา: NASA Earth Observatory)

ไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นหนึ่งในชื่อที่ใช้เรียก พายุหมุนเขตร้อน (Tropical storm) ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ โดยพายุหมุนเขตร้อนยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น เฮอร์ริเคน(Herricane) ไซโคลน(Cyclone) และ วิลลี่-วิลลี่(Willy-Willy)

ชื่อพายุหมุนเขตร้อนในบริเวณต่างๆ
(ที่มา: NOAA SciJinks)

พายุไต้ฝุ่น ถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงที่สุดโดยมีค่าความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป ซึ่งอาจทำให้เสาไฟหักโค่น เกิดไฟฟ้าช็อตหรือเพลิงไหม้ และอาจมีคลื่นใหญ่ซัดชายฝั่ง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนท่วมอาคารบ้านเรือนริมทะเลได้

ภาพโครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน
(ที่มา: ABC)

พายุหมุนเขตร้อนนั้นมักก่อตัวขึ้นกลางมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรนั้นจะระเหยกลายเป็นไอ ซึ่งจะควบแน่นเป็นเมฆที่ก่อตัวขึ้นในแนวดิ่งจำนวนมากแล้วรวมตัวเป็นพายุที่รุนแรง พายุนั้นจะหมุนตัวเป็นรูปกังหันโดยสาเหตุจากแรง โคริออริส (Coriolis force: แรงที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก) และเนื่องจากปกติแล้วความกดอากาศสูง (อากาศเย็น) จะมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปยังความกดอากาศต่ำ (อากาศร้อน) จึงทำพายุมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปตามแนวความกดอากาศต่ำ (Low pressure) ซึ่งอยู่ตรงตาของพายุ โดยอากาศร้อนชื้นนั้นจะมีไอน้ำ ซึ่งเป็นตัวหล่อเลี้ยงพายุ แต่เมื่อพายุเคลื่อนตัวขึ้นบนแผ่นดินก็จะสลายตัวไป (เพราะขาดตัวหล่อเลี้ยงนั่นเอง)

ภาพแสดงการเกิดพายุหมุนเขตร้อน
(ที่มา: PMF IAS)

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย และ LESA ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ^^