❤รวมความคิดเห็นจาก เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน
1. สภาพแวดล้อมในคอกอับชื้นหรือไม่
2. มีฝนสาด ลมโกรกเข้าคอกไหม
3. เมื่อพบ แพะ มีน้ำมูก ไอ จาม ให้ใช้ปรอทวัดไข้ด้วยว่าแพะ มีอุณหภูมิ เกิน 38 °c ไหม ถ้าเกินแสดงว่ามีไข้
#ถ้าพบอาการแค่นี้แสดงว่าเป็นไข้หวัด
การรักษา
– อ๊อกซี่คลีน หรือ เต็ดตร้า แอลเอ. 1:10
– คลอรามีน 1:10
– ยาลดไข้ เช่น โนวาซีแลน,เยนเนอยิ่น ,บิวต้าซิล
ถ้าพบว่ามีอาการ อื่นๆ อีก เช่น ซึม เบื่ออาหาร หายใจแรง เสียงดัง ชอบซุกที่เย็นๆชื้นๆ ดื่มแต่น้ำ แสดงว่า ปอดติดเชื้อแล้วครับ
#การรักษาอาการปอดบวม
1. ยาเซฟไตรอะโซน (1 กรัม สำหรับสัตว์ 80 กก. ผสมกับน้ำกลั่น หรือ น้ำเกลือ เมื่อละลายยาแล้ว ให้ใช้ให้หมดภายใน 24-36 ชม.) ถ้าไม่สามารถจัดหาได้ ให้ใช้ อะม๊อกซี่ลิน หรือ เพ็นไดสเตร็ป แทนก่อนก็ได้
2. กาน่ามันซิน หรือ เจนต้ามัยซิน หรือ ลินโคมัยซิน อัตราใช้ 1:10
3. เด็กซอน-เอ 3-5 cc.(กรณีแพะ-แกะ ท้อง ให้หลีกเลี่ยง ไปใช้ บิวต้าซิลแทน อัตรา 1:10)
ฉีดติดต่อกัน 3 วัน หลังรักษา 3 วัน อาการยังไม่ทุเลา ให้ฉีดติดต่ออีก 2 วัน
#เซฟไตรอะโซน มีจำหน่ายทั้งที่เป็นยาสัตว์ และ ยาคน ดังนี้
1. เซฟ ทรี เป็นยาคน บรรจุขวด 1 กรัม
2. เซฟไตรอะโซน ยาสัตว์ บรรจุขวดใหญ่ขนาดบรรจุ 5 กรัม เพื่อไม่ให้ยาเสื่อมคุณภาพในการเก็บยาที่เหลือ ต้องไม่ผสมยาทั้งหมด ให้ทำการแบ่งยามาผสมใช้ เท่าที่ใช้แต่ละครั้ง โดยแกะยามาเทแบ่ง สี่ส่วนๆละ 100 กก. ที่เหลือใส่ถุงซิปเก็บได้นานเท่ากับที่กำหนดข้างฉลาก.
– ออกซีเตตร้า ฆ่าเชื้อ
– คลอเฟนีรามีน แก้แพ้
– หากไอเรื้อรัง ใช้กาน่ามัยซิน ฉีดติดต่อกันเว้น 3 วัน 3 เข็ม
– ถ้ามีไข้ ซึม ฉีดบูตาซิล แก่ปวดลดไข้