เงินๆงานๆ-อาชีพ » การปลูกพริกไทย (ตอนที่1)

การปลูกพริกไทย (ตอนที่1)

11 สิงหาคม 2019
2392   0


——————

.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ถูกจัดอันดับ: fruits
ไม่ถูกจัดอันดับ: Magnoliids
อันดับ: Piperales
วงศ์: Piperaceae
สกุล: Piper
สปีชีส์: P. nigrum

พริกไทยเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี แม้ในพื้นที่ซึ่งมีความชื้นสูง ไม่มีน้ำท่วมขัง..

การผลิตพริกไทย หากเทียบกับผลตอบแทนที่ได้ในแต่ละปีจะดีกว่าผลไม้ชนิดอื่นในพื้นที่มาก และถ้าหากเกษตรกรดูแลต้นพริกไทยไม่ให้ทรุดโทรมก็จะทำให้ผลผลิตในปีต่อ ๆไปดีขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากการลงทุนในเรื่องต้นทุนได้ลงไปแล้วในปีแรก อีกทั้งสามารถเก็บไว้ได้นานหลายปี..

 

พันธุ์ซีลอน เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา นิยมปลูกเพื่อขายเป็นพริกไทยสด มากกว่าทำพริกไทยดำหรือขาวลักษณะของยอดจะออกสีน้ำตาลแดง จึงเรียกกันว่า ซีลอนยอดแดง

นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ซีลอนยอดขาว เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นพริกไทยพันธุ์ลูกผสมของประเทศอินเดีย พริกไทยพันธุ์นี้จะมีลักษณะเถาอ่อน สีจะเขียวอ่อนเกือบขาวโดยเฉพาะที่ยอดอ่อน จึงนิยมเรียกว่า ซีลอนยอดขาว เนื่องจากมีผู้นำพันธุ์มาจากประเทศศรีลังกา (ซีลอน) ลักษณะต่าง ๆ จะคล้ายกับพันธุ์ศรีลังกา ที่แตกต่างกันชัดเจนก็คือส่วนยอด ช่อผลจะยาวกว่าพันธุ์ศรีลังกาเล็กน้อย การเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ซาราวัค ผลสดจะมีลักษณะโตกว่าพันธุ์ซาราวัค นิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง

พริกไทยซีลอน มีคุณลักษณะเด่นคือ มีใบและทรงพุ่มใหญ่ ฝักยาว น้ำหนักดี ที่สำคัญเป็นพริกไทยพันธุ์หนัก สามารถเก็บฝักอ่อนจำหน่ายได้เมื่อฝักมีอายุตั้งแต่ 3-6 เดือน ซึ่งถือเป็นข้อดี เพราะสามารถอั้นฝักไปเก็บขายในช่วงเดือนที่พริกไทยมีราคาแพงได้ อีกทั้งพริกไทยสายพันธุ์นี้ไม่ค่อยมีโรครบกวน จะมีปัญหาเดียวในช่วงปลายฝนต้นหนาวคือ ราน้ำค้าง ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยการฉีดสารป้องกันเชื้อราทั่วไปก่อนที่จะตัดแต่งกิ่ง ..

จากนั้นจึงปลูกลงไร่ ให้ระยะห่าง 2-2.5 x 2-2.5 เมตร พันธุ์ซาราวัค หรือ พันธุ์คุชซิ่ง พันธุ์ที่ชาวสวนพริกไทยจังหวัดจันทบุรี นิยมเรียกพันธุ์ มาเลเซีย นั่นเอง เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก สามารถต้านทานโรครากเน่าได้ดีกว่าพันธุ์จันทบุรี ซึ่งปลูกอยู่แต่เดิม เจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูงกว่า เป็นพันธุ์สำหรับนำไปทำพริกไทยดำและพริกไทยขาว

เช่นเดียวกับเกษตรกร คุณประเสริฐ จันท โรทัย บ้านเลขที่ 115 หมู่ 1 ต.วังสำโรง อ.ตะพาน หิน จ.พิจิตร ที่เริ่มปลูกพริกไทยซีลอนมาได้ 1 ปีเศษ ซึ่งพริกไทยเริ่มให้ผลผลิตบ้างแล้วเก็บขายในท้องถิ่นและแม่ค้าได้เฉลี่ย กก.ละ 100 บาท และยังขยายพันธุ์พริกไทยซีลอนด้วยการตอน สร้างรายได้เป็นอย่างดีในช่วงรอเวลาที่ต้นพริกไทยจะเริ่มให้ผลผลิต

 

คุณประเสริฐ เล่าว่า การปลูกพริกไทยถือว่าเป็นพืชใหม่ในพื้นที่ อ.ตะพานหิน เพราะส่วนมากเกษตรกรแถบนี้ก็จะทำนาข้าว ปลูกข้าวโพด ชะอม สวนมะนาว สวนส้มโอ แต่บังเอิญตนเองได้มีโอกาสไปนั่งฟังบรรยายเรื่องการปลูกพริกไทยที่จัดขึ้นในตำบล ก็ได้รับฟังข้อมูลมาว่า พริกไทยเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวแต่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และราคาซื้อขายพริกไทยสดค่อนข้างดี จึงเกิดความสนใจก็ไปศึกษาดูงานและซื้อต้นพันธุ์มาปลูก โดยเริ่มต้นปลูกในพื้นที่ 2 งาน โดยใช้เสาหลักปูน จำนวน 200 หลัก และต้นพันธ์ุพริกไทยซีลอน จำนวน 4 ต้นต่อหลักปูน ต้องใช้ต้นพันธุ์พริกไทย 800 ต้น และต้องมุงสแลนคลุมอีกที แม้เป็นการลงทุนที่สูงแต่มีแนวโน้มของตลาดที่ดีมาก น่าจะสามารถคืนทุนได้ไม่นาน

การปลูกพริกไทยสามารถปลูกได้ทั้งปีถ้ามีแหล่งน้ำ มีระบบน้ำที่ดี แต่ส่วนมากนิยมปลูกช่วงฤดูฝนเพราะต้นพริกไทยตั้งตัวได้เร็ว ประหยัดเรื่องการให้น้ำ โดยจะใช้ต้นพันธุ์ไทย 4 ต้นต่อหลุมหรือค้าง ใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร โดยเลือกใช้เสาปูนหน้ากว้าง 4 นิ้ว ความยาว 2.50 เมตร เพื่อจะขุดหลุมฝังลงดินไป 0.50 เมตร ให้เสาปูนมีความสูงจากพื้นขึ้นไป 2 เมตร ในพื้นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขังก็เพียงปรับพื้นที่ให้เรียบ ไม่ให้พื้นที่เป็นแอ่งกระทะ เพราะต้นพริกไทยไม่ชอบน้ำขังแฉะ..

แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มก็ให้ใช้รถไถ ขึ้นเป็นแปลงลูกฟูก จุดประสงค์เพื่อให้บริเวณที่ปลูกระบายน้ำได้ดีนั่นเอง ซึ่งแม้พื้นที่ปลูกพริกไทยจะเป็นพื้นที่ดอน ก็สามารถขึ้นแปลงเป็นลูกฟูกก็ได้ ปากหลุมห่างจากโคนค้างประมาณ 10-15 ซม. ผสมดินที่ขุดขึ้นมาในอัตราปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ต่อดิน 2 ส่วน โกยดินกลบลงในหลุมตามเดิม แต่จะมีลักษณะเป็นโคกดินหรือหลังเต่าเพราะมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นมา ขุดหลุมให้พอดีกับถุงต้นพันธุ์พริกไทย โดยนำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้างเสาปูน หันด้านที่มีรากหรือตีนตุ๊กแกเข้าหาค้าง กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม และรดน้ำให้อย่างสม่ำเสมอในช่วงแรกของการปลูก.

ทีมา – https://108kaset.com/2019/08/11/piper-nigrum/