รู้ไว้ได้ประโยชน์ » 4 ทักษะให้รอดจาก AI Disruptionเมื่อ85%ในอนาคต​จะเป็นอาชีพใหม่ที่ยังไม่มี?

4 ทักษะให้รอดจาก AI Disruptionเมื่อ85%ในอนาคต​จะเป็นอาชีพใหม่ที่ยังไม่มี?

14 ธันวาคม 2018
1248   0

ตามรายงานของ McKinsey & Company
ที่ได้ทำการศึกษาไว้เมื่อปี 2016 ระบุว่า
ในอนาคตจะมีอาชีพอยู่ราว 5% ของจำนวนอาชีพทั้งหมดที่มีอยู่​
มีแนวโน้มที่จะนำระบบ Automation เข้ามาใช้ในการทำงานอย่างสมบูรณ์
โดยที่ไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์อยู่เลย
ขณะที่ในปัจจุบันนั้นมีภาคธุรกิจจำนวนมากเริ่มนำระบบ
การทำงานแบบอัตโนมัติ หรือนำหุ่นยนต์ต่างๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง
ของระบบการทำงานต่างๆ โดยมีถึง 60%
ที่นำระบบ Automation เข้ามาใช้
ในการทำงานแล้วไม่ต่ำกว่า 30%
ของจำนวนงานที่ต้องทำทั้งหมด ​

พร้อมทั้งยังได้มีการประเมินไว้ว่า
ขนาดของตลาด Digital Process Automation ทั่วโลก
จะมีมูลค่ามากกว่า 1.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ​
ภายในปี 2024 จากทิศทางในตลาดแรงงานที่ภาคธุรกิจต่างๆ
เริ่มนำระบบ Automation เข้ามาทำงาน
เพื่อทดแทนแรงงานเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากข้อดีของระบบที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำงานให้ดีมากขึ้น ​
โดยเฉพาะการช่วยเรื่องของการตัดสินใจต่างๆ ได้ดีกว่า
ช่วยทำให้ต้นทุนลดลง รวมทั้งเพิ่มความสามารถ
ทางการแข่งขันของภาคธุรกิจ
โดยเฉพาะความสามารถในการผลิตพัฒนาสินค้า
ได้อย่างรวดเร็วและสามาถเข้าถึงตลาดขนาดที่ใหญ่ได้มากยิ่งขึ้น

ขณะที่ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวเร่งสำคัญให้ตลาด Digital Automation ขยายตัว
โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยี AI หรือ Machine Learning
มาใช้ในการทำงาน​เพิ่มมากขี้น โดยเฉพาะในภาคธุรกิจสำคัญ
อย่างกลุ่ม BFSI (Banking, Financial Service, Insurance)
รวมทั้งกลุ่มธุรกิจ Retail และ Consumer Goods

ข้อมูลบางส่วนที่ฉายให้เห็นบทบาท
และแนวโน้มที่ภาคธุรกิจต่างๆ จะนำระบบ Automation
หรือนำหุ่นยนต์ต่างๆ มาทำงานแทนคนในอนาคต​
จากเวทีสัมมนา​ Flagship Summit 2018 : Skills for the Future
ในโอกาสครบรอบสถาปนา 80 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Chulalongkorn Business School:CBS)​
โดยมีวิทยากรจาก Business School ​ที่ได้รับการจัดอันดับ
ให้เป็น Business School อันดับ 1 ของฮ่องกง สิงคโปร์​​ และไทย
จาก QS World University Rankings 2018  ประกอบด้วย

Prof. Kar Yan Tam คณบดี HKUST
(School of Business and Management, Hong Kong University of Science and Technology)

Prof. Hum Sin Hoon รองคณบดี
NUS (Business School, National University of Singapore)

และ รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี CBS
(Chulalongkorn Business School)
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12 ปีข้างหน้า งาน 85% จะเป็นอาชีพที่ไม่มีในปัจจุบัน

ผลการศึกษา The Next Era of Human-Machine Partnership
ระบุไว้ว่า 85% ของงานในปี 2030 คืองานที่ยังไม่มีอยู่ในปัจจุบัน ​
ซึ่งจะเป็นอาชีพใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยรู้จัก ​

ขณะเดียวกันพบว่า เด็กๆ กว่า 65% ที่กำลังเรียนอยู่
ระดับประถมในขณะนี้ เมื่อเรียนจบออกไปแล้ว
จะไปประกอบอาชีพที่ยังไม่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

ดังน้ัน Skillsets หรือชุดทักษะจำเป็น
ซึ่งจะเป็นที่ต้องการอย่างมา​กในอนาคต คือ
ทักษะที่สอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงของ
Automation หรือ AI Environment
โดยเฉพาะการเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลหรือเทคโนโลยีชั้นสูงเพิ่มมากขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มของลักษณะงาน
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามการคาดการณ์ว่า

งานพื้นฐานต่างๆ จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ทั้งหมด​

ขณะที่มนุษย์จะย้ายไปทำงานใหม่ๆ ที่ลึกซึ้งกว่า
โดยเฉพะงานที่ส่วนใหญ่ยังไม่เคยมีมาก่อนเพิ่มมากขึ้น​​
เพื่อเป็นการปรับตัวไปตาม Digital Automation Landscape ที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งผู้ที่สามารถปรับตัวและพัฒนาให้มีทักษะเหล่านี้ได้
ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาด และนำมาซึ่งการได้ค่าตอบแทนที่ดีขึ้น
ส่วนผู้ที่ไม่สามารถพัฒนาให้มีทักษะตามที่ต้องการ
ก็มีโอกาสสูงที่จะถูกเลิกจ้าง หรืออาจจะทำให้ได้รับค่าแรงที่ต่ำลงไปอีก
​เป็นผลให้ยิ่งเกิดช่องว่างหรือเกิดความเหลื่อมล้ำ
ระหว่างแรงงานสองกลุ่มนี้ยิ่งเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคตเช่นกัน ​ ​

ความเห็นเพิ่มเติมจาก รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์
คณบดี CBS มองว่า​ แม้ทิศทางในอนาคตเรื่องของดิจิทัล
และเทคโนโลยีต่างๆ จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะเรื่องของข้อมูลซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจ
ให้ความสำคัญและนำมาต่อยอดทางธุรกิจเพิ่มทมากขึ้น
แต่ขณะเดียวกันความเข้าใจมนุษย์ด้วยกันก็ยังมีความสำคัญ
และจำเป็นไม่น้อยไปกว่ากัน ทำให้การพัฒนาทักษะในอนาคต
ต้องทำควบคู่ไปทั้ง 2 มิติ ทั้งฟากของข้อมูลและเทคโนโลยี
(Data & Technological Literacy) รวมทั้งความสามารถ
ในการเข้าใจมนุษย์และสามารถทำงานร่วมกันได้(Human Literacy)
หรือพัฒนาควบคู่กันไปทั้งฝั่งของ Hard Skill และ Soft Skill นั่นเอง

“สิ่งจำเป็นที่สุดคือความสามารถบริหารในการบริหารจัดการ

เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งเรื่องของเทคโนโลยี ดาต้า และคน​

โดยเฉพาะในฟากของ​ Soft Skill ที่ต้องให้น้ำหนักมากกว่า​ถึง 60%
เนื่องจากหากสามารถเข้าใจและเรียนรู้พฤติกรรมของผู้คน
ก็จะมีแนวทางในการนำข้อมูลหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่มาต่อยอดได้
ประกอบกับ Hardware หรือความรู้ต่างๆ เป็นสิ่งที่เรียนรู้กันได้
จากห้องเรียน หรือตามแหล่งข้อมูลทั่วๆ ไป ​
รวมทั้งสามารถที่จะล้าสมัยได้เมื่อเวลาผ่านไป”

4 Human Skill ที่ AI ไม่สามารถ Disrupt 

แม้ความรู้และทักษะด้าน Data Science, Data Engineer, Data Analytic
หรือความสามารถในการวิเคราะห์จัดการข้อมูล
จะเป็นที่ต้องการสูงและยังเป็นสาขาที่ขาดแคลน

แต่ความสามารถด้านซอฟท์สกิลอย่าง Haman Literacy
ทั้งความสามารถในการเข้าใจ ทำงานร่วมกันกับคน
ความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ ​
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะที่ลึกซึ้งลงไปในระดับที่เป็น
Deep Soft Skill ที่สามารถเข้าใจจิตใจ
และอารมณ์ของคนได้

เพื่อการทำงานร่วมกับเจ้านาย ลูกน้อง
หรือเพื่อนร่วมงานได้ว่ามีความรู้สึกเช่นไร
ที่การพัฒนาของ AI ก็ไปไม่ถึงในการสามารถเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้

โดยเฉพาะความเฉพาะตัวของ Haman Skill ที่ AI ทำไม่ได้ ประกอบด้วย

Creativity :  ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ คิดนอกกรอบ

Sense : การใช้ประสาทสัมผัส หรือความรู้สึกบ่งบอก
ซึ่งไม่มีเหตุผลใดๆ มารองรับ เช่น รู้ว่าสิ่งไหนดีกว่า
ชอบสิ่งไหนมากกว่า รู้สึกว่าสิ่งหนึ่งใช่มากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง
โดยที่ไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายความคิดต่างๆ เหล่านี้ได้

Emotional : การเข้าใจภาวะอารมณ์​ที่หลากหลาย
และลึกซึ้งของคน เช่น ความรัก​ โกรธ อิจฉาริษยา
ซึ่งเป็นสิ่งที่หุ่นยนต์ หรือการพัฒนา​ AI ไม่สามารถเข้าใจได้

SQ (Social Quotient) : ความสามารถในการเข้าสังคม
พบปะ พูดคุย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ซึ่งแม้ว่าจะพยายามพัฒนาระบบหรือเทคโนโลยี
เพื่อให้รู้จักและเข้าใจผู้คนมากขึ้น
แต่คนส่วนใหญ่ก็มักจะปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ
ในการให้ข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง
แต่ให้ความไว้วางใจต่อคนด้วยกันมากกว่า

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ต้องพยายามเสริมทักษะให้ภาคแรงงานในอนาคต
นอกจากเรื่องของความรู้ โดยเฉพาะในสายเทคโนโลยี
หรือข้อมูลต่างๆ แล้ว ต้องเสริมการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skill
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากการถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี​
เช่นเดียวกับการปรับการสอนของ CBS ที่พยายามเติมเรื่องของ
ประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียนมากขึ้น​
หรือการทบทวนเพื่อปิดการสอนในบางรายวิชา
ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต
ขณะที่ความรู้พื้นฐานและทักษะจำเป็นต่างๆ
ก็พยายามนำไปควบรวมกับบางวิชาที่มีความเกี่ยวข้อง
หรือเชื่อมโยงกัน รวมทั้งปรับคอร์สการสอนออนไลน์
เพื่อย่อยความรู้ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
และสอดคล้องกับการเรียนรู้ในสมัยใหม่
ตามแนวคิด Long Life Learning หรือ Continuous Learning
รวมทั้งให้ความสำคัญทั้งในฟากของการพัฒนาด้าน
Data & Technology Literacy และ Human Literacy
เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและความรู้ตรงกับความต้องการของตลาด

3 ทักษะ และ 8 บุคลิก ที่ผู้นำในอนาคตต้องมี

รศ.ดร. พสุ ยังได้เผยผลวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นำในอนาคต
จากการศึกษาและสอบถามผู้นำระดับต่างๆ ในประเทศไทย
พบว่าคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต
ต้องมีความสามารถใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่

1. Change Management คือ ความสามารถในการบริหาร
การเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่
ด้วยความกล้าที่จะเสี่ยงแม้สถานการณ์จะคลุมเครือ
และสามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ต่างๆ
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าใจได้
ไปในแนวทางเดียวกัน

2. Inspiring Action คือ การจูงใจทีมงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์
ในเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกันให้ได้
โดยเฉพาะในอนาคตจะต้องทำงานร่มกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น
จึงต้องเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ได้คิด
และตัดสินใจเพื่อให้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมและสนุกกับการทำงาน

3. Thinking คือ วิธีการคิด ที่จะต้องมีวิธีการคิดที่เป็นระบบ
คิดไปข้างหน้า และคิดอย่างรวดเร็ว
เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น​

ผู้นำที่ดี​ยังต้อง​​มีบุคลิกหรือคาแร็คเตอร์ที่เอื้อต่อการ​ขับเคลื่อนองค์กร
ให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงาน
ทั้งในมิติที่เป็นส่วนของงาน และส่วนของความสัมพันธ์​ ดังต่อไปนี้​

1. มีการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

2. นำสิ่งที่เรียนรู้นั้นมาคิดริเริ่มให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงทั้งกับตนเองและองค์กร

3. ร่วมสร้างวิสัยทัศน์หรือทิศทางในอนาคต
ขององค์กร โดยผ่านการมีส่วนร่วม

4. สื่อสารถ่ายทอดวิสัยทัศน์ดังกล่าวไปยัง
บุคคลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ผ่านการเล่าเรื่อง (Story Telling)

5. เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ จะต้องกล้าที่ตัดสินใจ
และกล้าที่จะเสี่ยงแม้ข้อมูลจะไม่ครบถ้วนและไม่ชัดเจน

6. ในการทำงานนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับความสำเร็จ
ของงานที่ตัวผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ

7. สามารถที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงผ่านการกระตุ้น จูงใจ
ให้ทุกคนในองค์กรมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานภายใต้
ความหลากหลายของคนในแต่ละช่วงอายุ

8. ทั้งหมดข้างต้นจะต้องมีวิธีการและ
กระบวนการในการคิดอย่างเป็นระบบ
(System Thinking) เป็นพื้นฐานที่สำคัญ

ping!

ขอบคุณ https://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php/topic,99961