แรงดันบนเครื่องบินทำเต้านมที่เสริมซิลิโคนแตกได้…จริงหรือ??
จากกระแสข่าวอ้างนักร้องสาวชาวเวียดนาม เกิดเหตุซิลิโคนที่เสริมหน้าอกระเบิดขณะโดยสารทางเครื่องบิน จนรู้สึกเจ็บปวดและอักเสบอย่างรุนแรง ภายหลังการวินิจฉัยพบว่า ซิลิโคนเสริมหน้าอก เมื่อ 7 ปีที่เกิดแตก ต้องทำการผ่าตัดโดยด่วนนั้น ขณะเดียวกันมีการตั้งข้อสังเกตว่าคลิปดังกล่าวเป็นการทำขึ้นมาล้อเลียน
นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง และผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงาม รพ.บางมด กล่าวชี้แจงว่า โดยทั่วไปถุงซิลิโคนเต้านมที่ได้รับมาตรฐานทางการแพทย์จะทนต่อแรงบีบ (Pressure) ได้สูงมาก หากเปรียบเทียบกับแรงดันในเครื่องบิน เมื่อเราบินอยู่ที่ระดับสูงประมาณ 35,000 ฟุต (10.7 กิโลเมตร)ซึ่งภายในเครื่องบินจะปรับแรงดันให้อยู่ที่ 11-12 PSI (PSI เป็นหน่วยความดัน เป็นปอนด์ ต่อตารางนิ้ว) ซึ่งถือว่าน้อยมาก
โอกาสเกิดแทบไม่มีเลย
หากเปรียบเทียบกับการวิจัยของถุงซิลิโคนเต้านม จะพบว่าความดันในเครื่องบินน้อยกว่าความดันที่สามารถทำให้ถุงซิลิโคนเต้านมที่ได้มาตรฐาน แตกได้ถึง 10-15 เท่า ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากมาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ถุงซิลิโคนจะแตกหรือรั่วซึมจากการขึ้นเครื่องบิน
วัสดุซิลิโคนที่ได้มาตรฐานผลิตมาหลายรุ่นตามยุคสมัย ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 5 แล้ว ในปัจจุบันโอกาสที่จะรั่วซึม หรือแตก มีโอกาสน้อยมาก โดยทั่วไปมีการรับประกันตลอดชีวิต โอกาสทำให้ซิลิโคน แตก รั่ว ซึม ได้มีปัจจัยเช่น..
1.คุณภาพของซิลิโคน
2.ความหนา – ตัวถุงซิลิโคนจะมีตัวหุ้ม หรือที่เรียกว่า Shell ตัวหุ้มนี้ต้องมีความหนาที่ได้มาตรฐาน ถ้าตัวหุ้มมีความบางก็มีโอกาสที่จะแตก หรือรั่วมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ซิลิโคนที่เสริมก้น เสริมสะโพก จะมี shell ที่หนากว่าซิลิโคนเสริมเต้านม เนื่องจากต้องรองรับแรงกดทับที่มากกว่า เช่น การนั่ง การทำกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น
3.ระยะเวลาในการใส่ – แม้ว่าถุงซิลิโคนที่ได้มาตรฐานในปัจจุบัน จะมีการรับประกันคุณภาพตลอดชีวิต เช่น Mentor Natrelle เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง วัสดุทุกประเภทมีโอกาสเสื่อมคุณภาพได้ ซิลิโคนที่คุณภาพสูง โอกาสแตก / รั่วซึม แม้โอกาสจะน้อยมา ๆ ในปัจจุบัน ..
เมื่อไรต้องไปพบแพทย์
สำหรับผู้ที่เคยเสริมหน้าอกไปแล้ว หากอาการดังต่อไปนี้ ควรมาปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีการแตก (Ruptured Implant) หรือรั่วซึม (Silicone Leakage) ได้ เช่นหากพบว่าหน้าอกผิดรูปไปจากเดิม มีอาการปวด แสบ บริเวณหน้าอก หน้าอกมีขนาดเล็กลงอย่างฉับพลัน หน้าอกแข็ง บางคน ไม่มีอาการใดๆ (Silence Rupture) หากตรวจพบว่าซิลิโคนรั่วซึม หรือ แตก ไม่ต้องกังวลมากทางการแพทย์ซิลิโคนที่แตกไม่ได้มีอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย
จากข่าวและอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้น เช่น ซิลิโคนแตก ซิลิโคนรั่ว หากวิเคราะห์จากสาเหตุที่แท้จริงแล้ว มักเกิดจากสาเหตุคือ การเลือกที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง เช่น วัสดุอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานทางการแพทย์, แพทย์ผู้ผ่าตัดไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือสถานประกอบการ คลินิกไม่ได้รับมาตรฐาน เป็นต้น..
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการทำศัลยกรรมความงาม คือ ความปลอดภัย และต้องรู้จักเลือก ในที่นี้หมายถึง รู้จักเลือกสถานประกอบการ โรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน รู้จักเลือกแพทย์ที่จบเฉพาะทาง และมีประสบการณ์มาก รู้จักเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานทางการแพทย์ ..
แต่แก้ไขตรงปัญหามากที่สุด และสุดท้ายคือ ทำให้พอดีกับร่างกายของเรา เพื่อความปลอดภัยที่สูงสุด
ขอบคุณ
https://www.msn.com/th-th/news/national/%e0%b8%ab..
https://www.google.com/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%95%..