พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 มาตรา 7 กำหนดให้ ไม้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจบางชนิด ได้แก่..
#ไม้สัก #ไม้ยาง #ไม้ชิงชัน #ไม้เก็ดแดง #ไม้อีเม่ง #ไม้พยุงแกลบ
#ไม้กระพี้ #ไม้แดงจีน #ไม้ขะยุง #ไม้ซิก #ไม้กระซิก #ไม้กระซิบ
#ไม้พะยูง #ไม้หมากพลูตั๊กแตน #ไม้กระพี้เขาควาย #ไม้เก็ดดำ
#ไม้อีเฒ่า และ #ไม้เก็ดเขาควาย
ไม่ว่าจะขึ้นอยู่สถานที่ใดก็ตาม ถือเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น ดังนั้น ไม่ว่าจะกระทำการ ตัด ,ฟัน, กาน, โค่น, ริดเลื่อย, ผ่า, ถาก, ทอน, ขุด, ชักลาก หรือนำไม้ออกจากพื้นที่ จะต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน
ซึ่งกระบวนการขั้นตอนนั้นค่อนข้างที่จะยุ่งยาก ทำให้เจ้าของต้นไม้เสียโอกาสที่จะนำไม้ไปใช้ประโยชน์ และไม่สามารถนำไม้ไปประกอบอาชีพได้.
ไม้สักทอง
.
รัฐบาลจึงแก้กฎหมายใหม่โดย ยกเลิกมาตรา 7 ดังกล่าว แล้วเขียนใหม่ว่า..
“ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินมีกรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม”
จึงทำให้…การทำไม้โดยเฉพาะไม้มีค่าไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อีกต่อไป
เมื่อกฎหมายประกาศใช้แล้ว ประชาชนสามารถปลูกต้นไม้ยืนต้นมีค่าในที่ดินของตนเอง เพื่อทำป่าเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้ตนเอง หรือส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ
และที่สำคัญจะช่วยให้การตัดไม้ทำลายป่าตามธรรมชาติลดลงไปด้วยเพราะคนมีทางเลือกอื่น ดังนั้น ประเทศไทยจะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ไม้ยืนต้นมีค่าที่จะนำไปซื้อขายแปรรูปนั้น เป็นไม้มีค่าถูกกฎหมายที่อยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์จริง หลังจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ประกาศใช้แล้ว
กรมป่าไม้จะไปกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้มีความสมบูรณ์ต่อไป.
ที่มา : เว็บไซต์ รัฐบาลไทย http://www.thaigov.go.th/