Jump to navigation Jump to search
|
ทุ่งสง เป็นอำเภอที่มีความเจริญเป็นอันดับสองของจังหวัดนครศรีธรรมราช รองจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาคใต้และเป็นจุดศูนย์กลางคมนาคมทางบกทั้งรถยนต์และรถไฟ อำเภอทุ่งสงมีประวัติความเป็นมายาวนาน ปรากฏตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าเคยเป็นแขวงขึ้นอยู่ในปกครองของเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากมณฑล เป็นจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้จัดตั้งเป็นอำเภอทุ่งสงขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอทุ่งสงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียงดังนี้
-
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาบอน อำเภอช้างกลาง และอำเภอลานสกา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอร่อนพิบูลย์และอำเภอจุฬาภรณ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอชะอวด อำเภอป่าพะยอม (จังหวัดพัทลุง) อำเภอห้วยยอด และอำเภอรัษฎา (จังหวัดตรัง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางขันและอำเภอทุ่งใหญ่
ภูมิอากาศลักษณะภูมิอากาศของอำเภอทุ่งสง สามารถแบ่งออกได้ 2 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม หลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนจัดที่สุดในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ฝนตกทั่วไป ในช่วงฤดูฝนยังมีช่วงความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้เป็นระยะ ๆ อีกด้วย ดังนั้นจึงทำให้ฝนตกมาก และเนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ จึงทำให้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยอย่างเต็มที่ ทำให้ฝนตกมากในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ด้วยเหตุนี้ อำเภอทุ่งสงจึงไม่มีหน้าหนาว มีเพียงฤดูร้อน และฤดูฝนที่ยาวนานมาก
ทุเรียนบ้าน พืชผลไม้พื้นเมืองของทุ่งสง ยังมีอยู่มากมาย
-
ประวัติ
- พ.ศ. 1588 เจ้าศรีราชา ได้ยกพลจากเมืองเวียงสระ มาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองร้างในขณะนั้น และได้ให้ไพร่พลได้แผ้วถางป่าให้เป็นนา และตั้งเมืองมานั้นแต่นั้น
- พ.ศ. 2354 ในสมัยรัชกาลที่ 2แห่งราชวงศ์จักรี ได้แบ่งการปกครองพื้นที่เมืองทุ่งสงออกเป็น 4 แขวง
- พ.ศ. 2440 เมื่อเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบมณฑลเป็นระบบจังหวัด ได้รวบรวมพื้นที่จัดตั้งอำเภอทุ่งสงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีการปกครองแบ่งเป็น 22 ตำบล
- พ.ศ. 2449 เนื่องด้วยพื้นที่ของอำเภอทุ่งสงมีขนาดใหญ่มาก ไม่สะดวกต่อการปกครอง ทางการได้แยกตำบลลำทับไปขึ้นกับอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และแยกพื้นที่บางส่วนของอำเภอทุ่งสงออกไปจัดตั้งเป็นอำเภอทุ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยตำบลท่ายาง ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลกุแหระ ตำบลปริก ตำบลทุ่งสังข์
- พ.ศ. 2474 เนื่องจากพื้นที่ส่วนราชการคับแคบลง จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอออกไปยังพื้นที่ใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอทุ่งสงมาตราบจนทุกวันนี้ ส่วนที่ว่าการอำเภอเดิมนั้นปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลเมืองทุ่งสง
- พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกทั่วภาคใต้ อำเภอทุ่งสงจึงเป็นสถานที่สำคัญในเป้าหมาย เพราะญี่ปุ่นได้วางแผนที่จะรวมพลที่อำเภอทุ่งสง และจะเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ จึงทำให้สถานที่หลายแห่งได้รับความเสียหายจากระเบิด โดยเฉพาะสถานีรถไฟร่องรอยจากระเบิดพอที่จะมีให้เป็นสระน้ำหลังสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และลูกระเบิดที่ตั้งแสดงที่บันไดทางขึ้นที่ว่าการอำเภอ 2 ลูก นอกจากนี้วัดโคกหม้อเดิมได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชัยชุมพล เนื่องจากมีการรวมพลทหารญี่ปุ่นกันที่วัด
- พ.ศ. 2483 ตำบลปากแพรกได้ยกฐานเป็นเทศบาลตำบลปากแพรก มีนายเนย ศิลปรัศมี เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก แต่เนื่องด้วยในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ได้มีการย้ายสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสงจากพื้นที่ตำบลทุ่งสงมาตั้งอยู่ในตำบลปากแพรก ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 30 กิโลเมตร จึงเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่เรียกพื้นที่ตำบลปากแพรกว่า ทุ่งสง ตามชื่อสถานีรถไฟ
- พ.ศ. 2500 ได้เกิดอัคคีภัยในตลาดทุ่งสงครั้งใหญ่ เป็นเหตุให้บ้านเรือนถูกไฟเผาผลาญวอดวาย เศรษฐกิจจึงซบเซาอยู่ชั่วระยะหนึ่ง
- พ.ศ. 2518 ได้แยกตำบลนาบอน ตำบลทุ่งสง และตำบลนาโพธิ์บางส่วน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาบอน ได้ยกฐานะเป็นอำเภอนาบอน เมื่อปี พ.ศ. 2524
- พ.ศ. 2522 ได้แยกตำบลนาโพธิ์ ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 3, 7, 8 และ 9 ไปเป็นตำบลเขาขาว
- พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกตำบลบางขัน ตำบลลำนาว และตำบลวังหิน เป็นกิ่งอำเภอบางขันและได้ยกฐานะเป็นอำเภอบางขันเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
- พ.ศ. 2547 เทศบาลตำบลปากแพรกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองทุ่งสง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547
การแบ่งเขตการปกครองอำเภอทุ่งสงมีพื้นที่ประมาณ 802.977 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 501,860.02 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.08 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ทั้งนี้จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ ทั้งหมดประมาณ 9,942.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,214,064 ไร่อำเภอทุ่งสงแบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ออกเป็น 13 ตำบล 17 ชุมชน 124 หมู่บ้าน ได้แก่..
1. ปากแพรก (Pak Phraek) – 8. กะปาง (Kapang) 11 หมู่บ้าน 2. ชะมาย (Chamai) 8 หมู่บ้าน 9. ที่วัง (Thi Wang) 11 หมู่บ้าน 3. หนองหงส์ (Nong Hong) 14 หมู่บ้าน 10. น้ำตก (Namtok) 6 หมู่บ้าน 4. ควนกรด (Khuan Krot) 13 หมู่บ้าน 11. ถ้ำใหญ่ (Tham Yai) 11 หมู่บ้าน 5. นาไม้ไผ่ (Na Mai Phai) 14 หมู่บ้าน 12. นาโพธิ์ (Na Pho) 5 หมู่บ้าน 6. นาหลวงเสน (Na Luang Sen) 9 หมู่บ้าน 13. เขาขาว (Khao Khao) 12 หมู่บ้าน 7. เขาโร (Khao Ro) 11 หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอทุ่งสงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองทุ่งสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแพรกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลที่วัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลที่วังทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลชะมาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะมายทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำใหญ่ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลกะปาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะปางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหงส์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหงส์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนกรดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาไม้ไผ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาหลวงเสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหลวงเสนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาโร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาโรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำตกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโพธิ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาขาวทั้งตำบล
แหล่งท่องเที่ยว
ตำบลถ้ำใหญ่
เทศบาลเมืองทุ่งสง
- ถ้ำตลอด
- สวนสาธารณะพฤกษาสิรินธร
- ศาลเจ้าแม่กวนอิม
- สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง
การคมนาคม
การคมนาคมขนส่งของอำเภอทุ่งสงเป็นการคมนาคมทางบก มีทางหลวงสายต่าง ๆ และทางรถไฟเป็นเส้นทางติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกอำเภอทุ่งสงได้สะดวกโดยแยกออกเป็น ..
ทางรถไฟ
เนื่องจากอำเภอทุ่งสง เป็นที่ตั้งของสถานีชุมทางรถไฟ โดยมีชื่อว่า สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ดังนั้นรถไฟโดยสารทุกขบวนที่เดินทางผ่านสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง จะต้องหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสงนี้ ทำให้การเดินทางโดยรถไฟมายังและจากอำเภอทุ่งสง ได้รับความสะดวกอย่างยิ่ง เนื่องจากมีรถไฟให้เลือกใช้บริการหลายขบวนต่อวัน อีกทั้งยังมีชั้นโดยสารให้เลือกใช้บริการที่หลากหลายนอกจากนี้ สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ยังเป็นจุดแวะเติมน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำที่ใช้บนขบวนรถไฟอีกด้วย
ทางรถยนต์
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ชุมพร–พัทลุง) เชื่อมอำเภอทุ่งสงเข้ากับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง เช่น อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นเส้นทางสายหลักสำหรับการเดินทางไป กรุงเทพมหานคร และ สงขลา ( หาดใหญ่ )
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 (ต่อเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช-บรรจบทางของเทศบาลเมืองกันตัง) เริ่มจากเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง ผ่านเทศบาลตำบลชะมาย เทศบาลตำบลที่วัง เทศบาลตำบลกะปาง ไปอำเภอรัษฎาและอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4110 (ทุ่งสง–พระแสง) เชื่อมการคมนาคมระหว่างอำเภอทุ่งสงกับอำเภอทุ่งใหญ่ โดยผ่านพื้นที่ของตำบลเขาขาว ตำบลนาโพธิ์ ตำบลควนกรด มาบรรจบกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ในหมู่ที่ 1 บ้านหนองหว้า ตำบลชะมาย
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4211 [ แยก ทางหลวงหมายเลข 41 (แก้วแสน) – นาบอน เชื่อมการคมนาคมระหว่างอำเภอทุ่งสงกับอำเภอนาบอน ผ่านตำบลหนองหงส์ และมาเชื่อมติดต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ในหมู่ที่ 7 บ้านนาไม้ดัก ตำบลหนองหงส%