เงินๆงานๆ-อาชีพ » เพราะอะไร? ราคาปาล์มน้ำมัน จึงร่วงหนักในปี2561

เพราะอะไร? ราคาปาล์มน้ำมัน จึงร่วงหนักในปี2561

13 พฤษภาคม 2018
1721   0

http://bit.ly/2KX3lwz

 

เราจะมาวิเคราะห์สาเหตุว่า ทำไม ราคาของปาล์มน้ำมันร่วงหนักปี2561 ?

วิกฤตปาล์มน้ำมัน ราคาร่วงหนัก สต๊อกล้นประเทศ ส่งออกไม่ได้ !

หลังสต๊อกทะลัก 380,000 ตัน ส่งออกไม่ได้ จับตาช่วงพีคเดือนพฤษภาคม มีสิทธิ์ดิ่งเหว กรมการค้าภายใน ขึงขังบังคับให้รับซื้อน้ำมันดิบ กก.ละ 19 บาท ด้านโรงงาน B100 ชี้สต๊อกใกล้เต็ม..

เกษตรกรชาวสวนปาล์มกำลังเผชิญกับภาวะราคาผลปาล์มทะลายตกต่ำลงเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่ตลาดการค้าน้ำมันปาล์มโลกตกอยู่ในภาวะซบเซา ไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่อย่างอินเดียปรับขึ้นภาษีนำเข้าจาก 15% เป็น 40% สหภาพยุโรปลดการใช้น้ำมันปาล์มจากการแก้ไขกฎหมายทางด้านพลังงานทดแทน มีผลทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงมาเหลือ กก.ละ 19.50 บาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ กก.ละ 26 บาทถือเป็นราคาน้ำมันที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี

ปาล์มราคาร่วงหนัก

นายพันศักดิ์ จิตรัตน์ ประธานสภาเกษตรกร จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ราคาผลปาล์มเทกองลดลงเหลือ กก.ละ 2.70 บาท ส่วนราคาผลปาล์มทะลาย (เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18%) อยู่ที่ กก.ละ 3.20 บาท ถือเป็นราคาต่ำสุด ขณะที่ต้นทุนเกษตรกรอยู่ที่ กก.ละ 3.70 บาท..

“สถานการณ์ปาล์มแย่มาก จนชาวสวนปาล์มน้ำมันต้องรวมตัวกันที่สุราษฎร์ธานีและยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังนายกรัฐมนตรีขอให้เจ้าหน้าที่เร่งแก้ไขปัญหาด่วนเพราะ เกษตรกรพยายามทำปาล์มคุณภาพดีเพื่อยกระดับราคาแล้ว”

ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ได้ประชุมเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีการรายงานตัวเลขผลผลิตปาล์มน้ำมันปี 2561 น่าจะมีปริมาณ 15.18 ล้านตันหรือมากกว่าปีที่ผ่านมาที่มีผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 14.24 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7

“จากปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันทั้งหมด 15.18 ล้านตัน ทำให้เรามีปริมาณน้ำมันปาล์มดิบ 2.67 ล้านตัน เมื่อรวมกับสต๊อกคงเหลือที่สูงถึง 480,000 ตัน เท่ากับปีนี้ไทยจะมีสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบทั้งหมด 3.15 ล้านตัน หักความต้องการใช้ภายในประเทศที่ 2.34 ล้านตันก็จะเหลือปริมาณสต๊อกสำรองในระดับสูงถึง 810,000 ตันจากปริมาณสต๊อกสำรองปรกติที่ควรจะอยู่ไม่เกิน 250,000 ตัน” นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าว

…โดยประเด็นปัญหาสำคัญขนาดนี้ก็คือ จะทำอย่างไรกับปริมาณสต๊อกคงเหลือน้ำมันปาล์มดิบในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งตามปรกติจะมีทางเดียวก็คือ การส่งออกไปต่างประเทศ แต่ขณะนี้ก็ไม่สามารถส่งออกได้มากนักเนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบตกต่ำ ประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มดิบไทย “ใกล้กับ” ราคาน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซียมากโดยจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมามีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบไป 86,430 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ส่งออกได้ 66,000 ตันและคาดการณ์เดือนมีนาคมจะส่งออกได้แค่ 39,000 ตันเท่านั้น..

คน.ให้ซื้อน้ำมันดิบ 19 บาท

ด้านนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา กรมการค้าภายในได้หารือผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณน้ำมันปาล์มส่วนเกิน ส่งผลให้ราคาปาล์มภายในประเทศลดลง โดยที่ประชุมมีมติให้ประกาศราคารับซื้อน้ำมันปาล์มดิบกำหนดให้โรงงานกลั่นน้ำมันปาล์ม-ผู้ผลิตไบโอดีเซล (บี100)-ผู้ประกอบการซื้อหรือขายน้ำมันปาล์ม (trader หรือ broker) -ผู้ซื้อน้ำมันปาล์มดิบทั่วไป ต้องรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบที่ส่งมอบ ณ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 19.00 บาท (ทบทวนราคาทุก 2 สัปดาห์) “หากพบว่า ผู้ประกอบการรับซื้อต่ำกว่าราคาที่กำหนดอาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 29 พ.ร.บ.ราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นายบุณยฤทธิ์กล่าว

แหล่งข่าวจากวงการค้าปาล์มน้ำมันให้ความเห็นถึงการ “บังคับ” ให้ผู้ประกอบการต้องรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบที่ กก.ละ 19 บาทว่า “เป็นเรื่องแปลก” เนื่องจากที่ผ่านมาจะใช้คำว่า “ราคาแนะนำ” เท่ากับว่า กรมการค้าภายในกำลังพยายามให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบเป็นสินค้าควบคุมราคา แต่อย่างใดก็ตามต้องดูประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าก่อนว่า จะเขียนออกมาอย่างไร (ประกาศกำหนดราคาผลปาล์มและราคา CPO) จากที่ก่อนหน้านี้มีเพียงประกาศ กกร. ฉบับที่ 47 พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการรับซื้อ และการแสดงราคารับซื้อ สินค้าและผลปาล์มน้ำมันตามอัตราน้ำมันตั้งแต่เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18, 19, 20, 21 และ 22 โดยให้ปรับราคาเพิ่มขึ้น กก.ละ 0.30 บาททุก 1% พร้อมทั้งให้ปิดป้ายแสดงราคารับซื้อ ณ สถานที่และจุดรับซื้อเท่านั้น..

 

ช่วยไม่ได้ B100 สต๊อกเต็ม

ด้านแหล่งข่าวจากกลุ่มโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ กล่าวว่า ปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงประมาณ 380,000 ตันจากที่เคยพุ่งขึ้นสูงในระดับ 400,000 ตัน

และลดลงมาจากการส่งออกไปได้บ้างในช่วงจังหวะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทย “ต่ำกว่า” มาเลเซีย โดยปริมาณสต๊อกลงเหลือที่สูงมากประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มดิบตลาดโลกตกต่ำจะส่งผลกดราคารับซื้อผลปาล์มสดของเกษตรกร และภาวะแบบนี้จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตปาล์มในประเทศออกสู่ตลาดสูงสุดหากยังไม่สามารถระบายสต๊อกคงเหลือออกไปได้

“ยอมรับว่า ช่วงปีนี้ผลปาล์มของเกษตรกรออกสู่ตลาดมากเป็นประวัติการณ์ ที่ผ่านมาโรงสกัดน้ำมันปาล์มต้องเปิดหีบตลอดเวลา โดยผลปาล์มทะลายที่ออกมาจะเป็นผลปาล์มที่ปลูกรุ่นใหม่ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันน้อย ส่วนผลปาล์มรุ่นเก่าจะออกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตอนนั้นสถานการณ์ราคาจะแย่ยิ่งกว่านี้อีก”

ส่วนกรณีที่จะบังคับให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบที่ กก.ละ 19 บาทเพื่อผลิตเป็น B100 นั้น
“ก็เป็นเรื่องยาก” เนื่องจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เก็บสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบไว้แล้ว 54,169 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของปริมาณสต๊อกสูงสุดที่จัดเก็บได้ในระบบ (60,256 ตัน)

ขอบคุณ https://www.prachachat.net/economy/news-135099

www.1009seo.com

http://bit.ly/2KX3lwz