อ๊อกซิเจน ไฮโตรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน
แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานิส ทองแดง โบรอน
โมลิบดินัม และคลอรีน ..คือปุ๋ยที่พืชต้องการทั้งสิ้น..
ในจำนวนนี้ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน พืชได้รับจากน้ำและอากาศ
ส่วน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม พืชต้องการในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ (ซึ่งถูกจัดเป็นธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย) และในดินมักมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมธาตุเหล่านี้โดยการให้ปุ๋ยเคมี …
46-0-0 ยูเรีย ให้ไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ใส่ทางดิน
16-16-16 ปุ๋ยสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ผล ใส่ทางดิน
12-24-12 ปุ๋ยมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยตรากระทิง, ปุ๋ย GARDEN
8-24-24 ปุ๋ยมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดีใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยแห่งชาติ, ปุ๋ย GARDEN
15-5-5 ปุ๋ยน้ำไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ฉีดพ่นทางใบ เช่นปุ๋ยนาเชอร์ส
10-10-10 ปุ๋ยน้ำสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ฉีดพ่นทางใบเช่น ปุ๋ยนาเชอร์ส
9-18-9 ปุ๋ยน้ำมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ฉีดพ่นทางใบเช่นปุ๋ยนาเชอร์ส
3-18-18 ปุ๋ยน้ำมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูง เร่งดอกและผลรสชาดดี ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์
30-20-10 ปุ๋ยเกร็ดมีไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้
10-52-17 ปุ๋ยเกร็ดมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้
21-21-21 ปุ๋ยเกร็ดสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ผลฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้, โพคอน, อัลตราโซน
13-27-27 ปุ๋ยเกร็ดมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดี ฉีดพ่นทางใบ
สำหรับปุ๋ยสูตร 0-0-60
ชื่อสามัญ โพแทสเซียมคลอไรด์
คุณสมบัติ เป็นปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด ประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารรับรอง ดังนี้
ไนโตรเจนทั้งหมด (N) 0%
ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (P2O5) 0.%
โพแทชที่ละลายน้ำ (K2O) 60%
พืชที่แนะนำให้ใช้ ใช้กับ ไม้ผล พืชไร่ และพืชหัว ..อัตราที่ใช้ วิธีใช้ และระยะเวลาที่ใช้
1. ไม้ผล องุ่น เงาะ ส้ม น้อยหน่า มะม่วง มังคุด และอื่น ๆ ยกเว้นทุเรียน ใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราต้นละ 300-600 กรัม
..โดยใส่เป็นรูปวงแหวนตามรัศมีแนวพุ่มใบ หลังจากลูกติดแล้วประมาณ 20-30 วัน แล้วแต่อายุ ของไม้ผลแต่ละชนิด
2. พืชไร่ มันสำปะหลัง หอม กระเทียม ผักกาดหัว (ยกเว้นยาสูบ) ใช้แต่งหน้า ในระยะที่พืชกำลังสร้างผลผลิต โดยใช้อัตราไร่ละ 25-30 กิโลกรัม เมื่ออายุประมาณ 4-5 เดือน หรือกลางฤดูฝนโดยใส่ตามแนวทั้งสองข้างของแถวพืช ให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 6-8 นิ้ว
อ้อย ใส่ในอัตราไร่ละ 50-80 กิโลกรัม ต่อปี ดังนี้
อ้อยปลูก แบ่งใส่เป็นสองครั้งเท่า ๆ กัน ครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน
อ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว ในเขตชลประทาน ครั้งแรกใส่ทั้งหมดหลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สองใส่ 21-0-0 อัตราไร่ละ 20-40 กิโลกรัม หลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว ควรใส่ปุ๋ยเคมีขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ และจะต้องพรวนดินกลบปุ๋ยเคมี
3. ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นวัตถุดิบ คือผสมกับปุ๋ยเคมีสูตรอื่น ๆ เช่น 21-0-0, 46-0-0, 0-20-0, 0-46-0, 18-46-0 เพื่อผสมปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ตามต้องการ ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยเคมี และดินเป็นอย่างดี และต้องทราบว่าในดินมีปริมาณธาตุอาหารพืชอื่นเพียงพอกับความต้องการของพืชนั้น ๆ แล้ว
ข้อควรระวัง
ควรอ่านคำแนะนำเอกสารกำกับปุ๋ยเคมีให้เข้าใจเสียก่อน หากไม่เข้าใจ หรือมีปัญหาสงสัยให้ ปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร หรือนักวิชาการเกษตรประจำสถานีทดลอง หรือสถาบันวิจัยในท้องถิ่น เพื่อให้การใช้ปุ๋ยเคมี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี ควรกำจัดวัชพืชให้หมดเสียก่อน เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชมาแย่งใช้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไป
ควรใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อดินมีความชื้นอยู่ เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีควรกลบดิน ในกรณีที่มีการให้น้ำ ควรให้น้ำ น้อย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มให้มากขึ้น ถ้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรใส่ปุ๋ยเคมีแก่พืชในช่วงมีแสงแดดจัด ฝนไม่ตก
ควรหมั่นดูแลป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชอยู่เสมอ
ควรเก็บปุ๋ยเคมีในภาชนะที่ปิดมิดชิด อย่าให้ถูกความร้อน แสงแดด และฝน
นอกจากนี้ ยังมี ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์
ปุ๋ยคอก มูลวัวแห้ง ใส่เพื่อบำรุงดิน มีธาตุอาหารพอสมควรเช่น ปุ๋ยดวงตะวันเพชร, ทองดี, น้องใหม่
ปุ๋ยมูลไก่ มูลไก่แห้งอัดเม็ด ใส่เพื่อบำรุงดิน มีธาตุอาหารพอสมควร เช่น ปุ๋ยมูลไก่ เค.ยู, ปุ๋ยตรากรีนช้อยซ์
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยทำจากวัสดุธรรมชาติ ใส่เพื่อบำรุงดิน มีธาตุอาหารพอสมควร เช่น ปุ๋ยหมอดิน, ปุ๋ยตราวัวอินทรีย์,ปุ๋ยดวงตะวันเพชร, ปุ๋ยไบโอฟอสก้า
จุลินทรีย์ เป็นเชื้อจุลินทรีย์ ย่อยสลายปุ๋ย และอินทรีย์สาร ให้เป็นประโยชน์แก่พืช และทำลายเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคพืช เช่น หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ, ไบโอคิง, ดวงตะวันเพชร
กากน้ำตาล อาหารเริ่มต้นของเชื้อจุลินทรีย์ ใช้หมักจุลินทรีย์ให้เพิ่มจำนวนมาก
ที่มา www.108kaset.com