ขั้นตอนและวิธีการปลูก สร้างบ้าน
การที่มีบ้านเป็นของตัวเองย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป เพราะบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความร่มรื่นสุขสบายทั้งกายและใจ แต่การที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังหนึ่งนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้มา เนื่องจากปัจจุบันบ้านมีราคาค่อนข้างสูง นับเป็นภาระอันหนักหนาสาหัสพอสมควรสำหรับคนทั่วไปที่มีรายได้ปานกลาง ยกเว้นคนที่ร่ำรวยเท่านั้นที่จะไม่เดือดเนื้อร้อนใจในเรื่องนี้เท่าใดนัก ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจปลูกบ้าน สักหลัง จึงควรที่จะต้องศึกษาขั้นตอนการดำเนินการให้ละเอียดรอบคอบ เพราะถ้าตัดสินใจผิดพลาดไปแล้ว อาจไม่มีโอกาสให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหมือนกับการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าได้และถ้าเป็นเช่นนั้น บ้านที่หวังว่าจะนำความสุขความสบายให้ความร่มรื่น อาจกลับกลายเป็นความทุกข์ตลอดชีวิตก็เป็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงต้องคำนึงถึงขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับการ ปลูกสร้างบ้าน ดังนี้
1. กำหนดรูปแบบและขนาดของบ้าน
เมื่อท่านมีแผนที่จะ ปลูกบ้าน ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีแบบบ้านที่อยากได้อยู่ในใจแล้วว่ารูปทรงของบ้านจะเป็นแบบใด ซึ่งในปัจจุบันนี้ บริษัทรับออกแบบและก่อ สร้างบ้าน มีอยู่มากมายที่นำเสนอแบบแปลกๆ ใหม่ๆ ให้เลือกไม่ว่าจะเป็นแบบทันสมัย แบบร่วมสมัย หรือแบบทรงยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงขนาดและจำนวนห้องให้พอดีกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ถ้าเล็กไปคงจะอึดอัดคับแคบ แต่ถ้าใหญ่เกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น หรืออาจจะต้องมีสระว่ายน้ำ หรือสวนหย่อมภายในบ้าน ก็แล้วแต่จะพิจารณาตามความต้องการของท่านหรือสมาชิกในครอบครัว
2. การเลือกบริษัทรับ ออกแบบบ้าน
เมื่อได้กำหนดรูปแบบ ขนาดและองค์ประกอบต่างๆ ของตัวบ้านไว้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การจัดทำแบบรูปรายการและข้อกำหนดต่างๆ เมื่อยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับหน่วยราชการเจ้าของพื้นที่ที่ท่านต้องการปลูก สร้างบ้าน หรือถ้าท่านจำเป็นต้องกู้ธนาคาร ก็ต้องแนบแบบรูปรายการให้ธนาคารพิจารณาด้วยซึ่งการจัดทำแบบดังกล่าวอาจทำได้หลายวิธี เช่น จ้างสถาปนิกอิสระโดยตรง หรือจ้างบริษัทรับออกแบบและก่อสร้างบ้านแบบครบวงจร เป็นต้น แต่ข้อสำคัญต้องกำหนดรายละเอียดองค์ประกอบของบ้านให้ชัดเจนครบถ้วนและตรวจสอบรูปร่างความสวยงามลงตัวของบ้านให้เป็นไปตามความต้องการให้แน่ใจก่อนที่จะลงนามในสัญญาว่าจ้าง และเมื่อแบบแล้วเสร็จก่อนจะชำระค่าดำเนินการต้องตรวจสอบรายละเอียดของแบบก่อน ดังนี้
– ตรวจสอบแบบแปลนให้แน่ใจว่า ห้องต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน แม้กระทั้งบันไดขึ้นลงและเฉลียง ระเบียงต่างๆ ได้ถูกจัดวางตามความต้องการของท่านอย่างถูกต้องแล้ว
– ตรวจสอบรูปด้านทั้ง 4 ด้านว่ามีความสวยงามจนเป็นที่พอใจ
– ตรวจสอบรายการวัสดุต่างๆ เช่น สุขภัณฑ์ กระเบื้องห้องน้ำ กระเบื้องพื้นชั้นล่าง ไม้ปาร์เก้ รายละเอียดประตู หน้าต่าง ฯลฯ ให้ครบถ้วนจนเป็นที่พอใจ
– ตรวจสอบผังบริเวณบ้านว่าถูกจัดวางในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว
รายการตามที่กล่าวมานี้หากยังไม่ถูกต้องมีส่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขให้รีบแจ้งผู้ออกแบบดำเนินการแก้ไข แล้วตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งที่มีการแก้ไขจึงจ่ายค่าดำเนินการ
3. การเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน
เมื่อมีรูปแบบรายการข้อกำหนดของวัสดุต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนก่อสร้าง การเลือก บริษัท รับสร้างบ้าน ที่จะมีสร้างบ้านให้ท่านนั้น ควรพิจารณาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบชัดเจนเป็นที่แน่ใจเสียก่อนที่จะทำการว่าจ้างให้เป็นผู้ปลูกสร้างบ้านให้ดูข้อมูลที่จะต้องพิจารณาประกอบไปด้วย
– ชื่อเสียง ผลงานที่ผ่านมาหรือประวัติของบริษัทรับสร้างบ้าน ว่ามีประวัติการก่อสร้างเป็นอย่างไร บ้านที่เคยสร้างมามีคุณภาพดีหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ อาจขอดูบ้านที่บริษัทนั้นเคยสร้างไว้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
– การให้บริการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ ควรหาข้อมูลว่าบริษัทฯ มีการบริการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างไร มีการติดตามดูแลลูกค้าดีสม่ำเสมอหรือไม่ และการเข้าบริการช้าหรือเร็วแค่ไหน เป็นต้น
– ทรัพยากรของบริษัท ควรตรวจสอบว่าบริษัทดังกล่าว มีทรัพยากรที่เพียงพอที่จะสามารถก่อสร้างบ้านของท่านให้มีความสุขดีหรือไม่ ทีมก่อสร้างมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากน้อยเท่าใด เช่น วิศวกรโครงการ ช่างควบคุมงาน ผู้บริหารการก่อสร้างมืออาชีพ เป็นต้น
4. การทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้าน
เมื่อตัดสินใจทำสัญญาว่าจ้างให้บริษัทรับสร้างบ้านเป็นผู้ปลูกสร้างบ้านให้กับท่านแล้ว ควรพิจารณารายละเอียดในสัญญาให้รอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งงวดงาน การรับประกันสิ่งปลูกสร้าง กำหนดเวลาแล้วเสร็จหรือเงื่อนไขอื่นๆ จนเป็นที่พอใจ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาข้อขัดแย้งในภายหลัง เพราะหากดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเกิดข้อขัดแย้งจะทำให้เกิดผลกระทบในทางลบของทุกฝ่าย
5. การจัดเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง
หลังจากที่ทำสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านแล้ว ท่านจะต้องจัดเตรียมสถานที่ก่อสร้างบ้านของท่านให้พร้อมที่จะลงมือดำเนินการก่อสร้าง เช่น ถ้ามีบ้านเก่าอยู่ก่อนต้องรื้อถอนให้เรียบร้อยหรือถ้าเป็นพื้นที่มีระดับต่ำ ต้องทำการถมบดอัดให้สูงพ้นจากสภาวะน้ำท่วมให้แล้วเสร็จ แต่ถ้าต้องมีการย้ายเสาไฟฟ้า ประปา หรือสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่กีดขวาง ก็ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนที่จะแจ้งให้บริษัทเข้าดำเนินการ
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อแนะนำในขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน ให้ท่านได้ศึกษา เตรียมพร้อมก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงมือปลูกสร้างบ้านเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีรายละเอียดในส่วนที่ต้องตรวจสอบในระหว่างการก่อสร้างอีกมากมายที่ต้องดำเนินการ
6. ขั้นตอนงานก่อสร้าง
ปกติแล้วงานก่อสร้างบ้านพักอาศัยจะแบ่งลักษณะงานเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
6.1 งานฐานราก และโครงสร้าง
6.2 งานผนังและหลังคา
6.3 งานช่องเปิดต่างๆ
6.4 งานระบบไฟฟ้า ประปา
6.5 งานตกแต่งสถาปัตยกรรม
6.1 งานฐานราก และโครงสร้าง
เป็นงานที่มีความสำคัญที่สุด โดยปกติหากมีความผิดพลาดในงานส่วนนี้ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลังจะมีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสูง ดังนั้นท่านเจ้าของบ้านควรตัดสินใจให้แน่นอนเกี่ยวกับขนาดของห้องต่างๆ และตำแหน่งที่ตั้งก่อนลงมือตอกเสาเข็ม เพื่อป้องกันปัญหาการเปลี่ยนแปลงหลังจากงานโครงสร้างเริ่มต้นไปแล้วเนื่องจากในการออกแบบโครงสร้างจะมีความสัมพันธ์กันทั้งอาคารการเปลี่ยนแปลงเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง บางครั้งจะกระทำมิได้ อีกทั้งการก่อสร้างในช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 35% ของเวลาทั้งหมด และจะเป็นอุปสรรคต่องานอื่นๆ หากไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้
6.2 งานผนังและหลังคา
งานส่วนนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสวยงามของตัวบ้าน และยังมีผลโดยตรงต่อการใช้งานอาคารในด้านการป้องกันความร้อน แสงแดด และน้ำฝน การตัดสินใจเลือกวัสดุที่จะใช้และขนาดระยะต่างๆ จะต้องเหมาะสมกับการใช้สอยและไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง
6.3 งานช่องเปิดต่างๆ
หมายถึง ประตูและหน้าต่างทั้งหลาย ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มความสวยงามให้อาคารแล้วยังมีผลต่อระยะเวลาก่อสร้าง เนื่องจากโดยปกติงานส่วนนี้จะต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าตั้งแต่การจัดเตรียมช่องเปิดของผนัง และการสั่งผลิตจากผู้จัดจำหน่าย อีกทั้งจะกระทบต่อการจัดวางตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์และงานระบบต่างๆ การตัดสินใจกำหนดตำแหน่งจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ระหว่างก่อสร้างจะกระทบถึงค่าใช้จ่ายในงานก่อสร้างมากที่สุด
6.4 งานระบบไฟฟ้า ประปา
ศูนย์อำนวยความสะดวกของอาคารคืองานระบบเหล่านี้ หากถูกออกแบบมาไม่เหมาะสม หรือติดตั้งผิดตำแหน่งจะทำให้การใช้ประโยชน์ในอาคารเกิดความไม่สะดวกหรือเกิดอันตรายในบางกรณี เช่น งานไฟฟ้า ดังนั้นจะต้องไตร่ตรองถึงการใช้สอยในส่วนต่างๆ ของอาคารให้รอบคอบก่อนกำหนดตำแหน่งลงไป
6.5 งานตกแต่งสถาปัตยกรรม
สุดท้ายบ้านจะสวยงามเป็นที่ภาคภูมิใจของท่านเจ้าของบ้านเพียงใดขึ้นอยู่กับการเลือกประเภทวัสดุตกแต่งผิว ทั้งผิวพื้น ผนัง รวมถึงสีที่เลือกใช้ล้วนบ่งบอก รสนิยม อุปนิสัย บางครั้งรวมถึง ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย เช่นวัสดุพื้นที่ลื่นหรือหยาบในบางตำแหน่ง และมักจะเป็นส่วนที่มีมูลค่ามากเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของอาคาร ทั้งนี้มิได้หมายความว่าวัสดุตกแต่งที่มีราคาแพงจะต้องดีเสมอไป ซึ่งผู้ที่จะช่วยท่านตัดสินใจได้ดีในเรื่องนี้คือ สถาปนิกที่ปรึกษาของท่านนั้นเอง
งานโครงสร้าง
งานด้านโครงสร้างนี้จะเริ่มตั้งแต่ การทำโครงสร้างของฐานราก อันได้แก่ การลงเสาเข็ม และ การหล่อ ตอม่อเพื่อรองรับโครงสร้างของเสา และคานที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน ถัดไป หลังจากนั้น ก็จะเป็นงานโครงสร้างของ พื้นและบันไดซึ่งจะต้องเชื่อมต่อ กับเสาและ คาน ที่ได้ทำไว้แล้ว โดยการทำพื้น จะต้องเริ่มทำจากชั้นล่างไล่ขึ้น ไปหาชั้นบนเพื่อความสะดวก ในการทำงาน และการลำเลียงวัสดุต่อจากนั้น ก็จะเป็นงานโครงสร้างของหลังคา ซึ่งในปัจจุบันส่วน ใหญ่มักจะทำเป็น โครงเหล็กโดยเชื่อมต่อกับ เสาและคานชั้นบนสุด หลังจากการทำโครงหลังคาอันเป็น งานโครงสร้าง ส่วนสุดท้าย ของตัวบ้านแล้ว ก็มักจะต่อด้วย การมุงหลังคาเลย เพื่อทำหน้าที่คุ้ม แดดคุ้มฝนให้แก่ ตัวบ้านซึ่งจะสร้าง ในลำดับถัดไป ยังมีงานโครงสร้างของรั้ว ซึ่งอาจจะ ทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำไปพร้อม ๆ กับงานโครงสร้าง จำเป็นต้อง สร้างตัวบ้านให้ชิดกับรั้ว ก็มักจะทำรั้วภายหลัง เพื่อความสะดวก ในการจัดวาง และลำเลียง วัสดุก่อสร้าง ในระหว่าง การก่อสร้างตัวบ้าน
การวางตำแหน่ง และการเดินท่อประปา
เนื่องจากในปัจจุบัน บ้านส่วนใหญ่นิยมเดินท่อประปา ระบบฝังใต้พื้นเพื่อความสวยงาม ดังนั้นก่อนการเทพื้นจะต้องแน่ ใจว่าการวางแนวท่อต่างๆ ทำไว้อย่างเรียบร้อย และสอดคล้อง กับตำแหน่งของก๊อกน้ำต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ หรือถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข อย่างไรก็ต้องรีบทำ ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะทำการ เทพื้นกลบแนวท่อ เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้น การแก้ไขจะทำได้ลำบาก
งานปรับระดับดิน
ก่อนการก่อสร้างบ้านจะต้องมีการปรับที่ดินให้มีความเหมาะสม โดยการถมและขุด หรือบางทีอาจจะใช้ทั้ง การถมและการขุดไปด้วยกัน เช่น การขุดเพื่อทำสระน้ำ, สระว่ายน้ำ, แล้วนำที่ดินที่เหลือ จากการขุดไปถม ในส่วนที่จะทำ การก่อสร้างบ้าน ให้สูงขึ้นเป็นเนิน เป็นต้น
การขุด
ถ้ามีการขุดระดับต่ำกว่า 2.50 เมตร เพื่อทำห้องใต้ดิน, ทำสระว่ายน้ำ หรือถังเก็บน้ำใต้ดิน จะใช้วิธีตอกเข็มไม้ยาวตลอดแนวการขุดเป็นพืดเพื่อกันดินถล่ม หรือขุดดินปรับเป็นแนวเอียง ถ้าดินมีความเหนียวพอ ก็ไม่ต้องใช้เข็มไม้ตอก ถ้ามีการขุดระดับลึก 5.00 เมตร จะแพงเกินไป เพราะจะต้องใช้แผ่นเหล็ก (Sheet Pile) ตอกเป็นแนวกันดินถล่ม และใช้เครื่องตอกที่เป็นเครื่องกลซึ่งมีราคาแพงมาก
งานฐานราก-เสาเข็ม
รูปแบบของงานเข็มในรูปแบบต่าง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อรับน้ำหนักอาคารบ้านเรือน แตกต่างกันไปตามประเภทของเข็มนั้นๆ ดังนั้น จึงควรมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน หรือรูปแบบของอาคาร
1. เข็มเจาะ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น ในกรณีที่จะนำมาใช้กับบ้าน เนื่องจากเทคนิค และวิธีการไม่ยุ่งยากมาก และราคาก็ไม่แพง ดังที่คิด เราใช้เข็มเจาะเมื่อมีความจำเป็นจะต้องตอกเข็มใกล้ๆ กับบ้านของคนอื่น เช่น ห่าง 0.80 เมตร โดยไม่อยากให้บ้าน ข้างเคียง มีปัญหาแตกร้าว ทรุด หรือซอยที่เข้าพื้นที่ก่อสร้าง มีขนาดแคบมากไม่สามารถจะขนส่งเสาเข็มต้นยาวๆ มาตอกได้ จึงจำเป็นจะต้อง ใช้เข็มเจาะ
2. เข็มกด เป็นการลดความสะเทือนในการตอกเข็มอีกวิธีหนึ่ง และไม่ค่อยยุ่งยากใช้กับโครงสร้างที่ไม่ใหญ่โตหรือรับน้ำหนักมากนัก เช่น โรงรถ กำแพงรั้ว ห้องครัวชั้นเดียว หรืองานเร่งด่วนที่ไม่ต้องการตั้งปั่นจั่น เข็มกดเป็นวิธีการที่ใช้รถแบ็คโฮ ดึงเสาเข็ม คสล. รูปหน้าตัด 6 เหลี่ยม ขนาดยาวต้นละ 6 เมตร มากด โดยใช้แขนเหล็กของรถแบ็คโฮกดลงไป ซึ่งจะไม่มีความสะเทือนกับรอบๆ ข้าง วิธีนี้สะดวกและรวดเร็วแต่ให้ระวังแนวเสาเข็มต้องตั้งให้ตรงแล้วจึงกด ไม่เช่นนั้นเสาจะเบี้ยวหรือหัก หรือทำให้รับน้ำหนัก ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
3. เข็มตอก เป็นเข็มที่มีราคาค่อนข้างประหยัด เมื่อเทียบกับเข็มเจาะ สามารถทำงานได้รวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มานาน แต่ข้อเสียคือ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนในเวลาตอกมากกว่าเข็มทุกประเภท และเกิดแรงอัดของดินที่เข็มถูกตอกลงไป แทนที่หน้าตัดของเข็ม อาจจะเป็นรูปตัว I หรือสี่เหลี่ยมตัน โดยทั่วไปจะมีขนาดยาวประมาณ 8-9 เมตรต่อท่อน จึงต้องต่อ 2 ท่อน เพื่อให้ได้ระยะความลึก เสาเข็มชนิดนี้ อาจจะทำให้อาคารบ้านเรือน ที่ติดกันแตกร้าว อันเนื่องจากแรงสั่นสะเทือน นอกจากนั้นการดำเนินการยังต้องใช้พื้นที่ เช่น การติดตั้งปั้นจั่น เข็มที่มีความยาว ก่อให้เกิดความ ไม่สะดวก ในการเคลื่อนย้าย
ฐานราก คือ ส่วนที่ติดกับหัวเสาเข็ม รับน้ำหนักจากเสาถ่ายสู่เสาเข็ม เราสามารถแบ่งฐานรากเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
ในการทำฐานราก ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกใช้ฐานรากตามสภาพของดิน ควรใช้วัสดุก่อสร้างตามแบบ วิศวกรรม โดยเคร่งครัด ไม่ตัดลดขนาด ปูนที่ใช้ทำฐานรากต้องใช้ปูนโครงสร้าง (Portland Cement) ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าปูนฉาบ เพราะหากฐานราก ทรุดตัวแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายแก่บ้าน หรืออาคารทั้งยากต่อการแก้ไขด้วย อัตราส่วนของ ปูน : ทราย : หิน ที่ใช้ในงานฐานราก งานถนน คือ 1 : 2.5 : 4 ควรใช้ปูนโครงสร้างดังที่กล่าวมาแล้ว ตลอดจนมั่นใจว่า หินและทราย มีความสะอาดเพียงพอ
– กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคาชนิดนี้มีความแข็งแรงและสวยงามแต่มีราคาค่อนข้างแพง และมีน้ำหนักมาก ทำให้โครงหลังคาที่จะมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา กระเบื้องซีเมนต์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ กระเบื้องสี่เหลียมขนมเปียกปูน ขนาดเล็กที่ใช้มุงกับหลังคาที่มีความลาดเอียงตั้งแต่ 30-45 องศา ส่วนอีกชนิดนั้นเป็นกระเบื้องที่เรียกกันว่ากระเบื้องโมเนียร์ซึ่งสามารถมุงหลังคาในความชันตั้งแต่ 17 องศา
อ่านต่อตอนที่2 ที่นี่ครับ http://www.108kaset.com/index.php?topic=74
ขอบคุณ https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AA%E0..: