หูเสือ สรรพคุณ
ใบ และต้น มีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน นำมาคั้นเอาน้ำหยอดแก้ฝีในหู แก้ปวดหู พิษฝีในหู หูน้ำหนวก ปิดห้ามเลือด ขยี้ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด ช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้หวัดในเด็ก และแก้โรคหืด
ใบ บำรุงร่างกาย แก้ไอเรื้อรัง หืดหอบ แก้ลมชักบางประเภท ต้มน้ำกินแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ กินหลังคลอดขับน้ำคาวปลา ยางจากใบ ผสมกับน้ำตาลกินขับลม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ใช้ภายนอกเป็นยาพอกศีรษะแก้ปวด ลดไข้ แก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด แก้หิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม ตำพอกแก้ปวดข้อ ขยี้ทาห้ามเลือด คั้นน้ำทาแผลเรื้อรัง
หูเสือเป็นผักกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย ..ทั้งกลิ่นที่หอมเฉพาะและรูปทรงของใบที่มีหยักสมดุล สวยงาม อวบอ้วน ดูเป็นใบไม้ที่ชัดเจนมั่นคงในตัวเองดี
รสชาติของหูเสือ บางคนบอกว่าคล้ายกับออริกาโน (oregano) ที่ใช้ประกอบอาหารฝรั่งชนิดหนึ่ง บางคนก็รับประทานหูเสือไม่ได้เพราะมันมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นฉุน แต่ก็ไม่ได้ฉุนมากมายอะไรนักหนานอกจากเป็นผักสดแล้ว ยังนำใบหูเสือมาทำอาหารได้ด้วย เช่น ผัดใบหูเสือใส่หมูสับ อาหารชนิดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไอโดยเฉพาะ
นิยมปลูกไว้ที่บ้านเพื่อเก็บยอดอ่อนหรือใบอ่อนรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ก้อย ยำ ใช้แทนผักชีฝรั่ง(ผักชีใบเลื่อย)บ้าง ใช้แทนออริกาโนบ้าง หรือใช้ใส่ในอาหารเนื้อสัตว์เพื่อดับกลิ่นคาวและช่วยย่อยเนื้อสัตว์บ้าง เพื่อดับกลิ่นคาวและทำให้อาหารมีกลิ่นหอม
หูเสือ เป็นไม้ล้มลุกอายุได้นานหลายปี นิยมปลูกตามบ้านมาแต่สมัยโบราณเพื่อเก็บเอาใบสดกินเป็นผักจิ้มน้ำพริกชนิดต่าง ๆ และลาบ ก้อย ..ชาวบ้านทางภาคอีสานและภาคเหนือนิยมรับประทานกันมาก ขยายพันธุ์ง่าย ๆ ปักชำต้นก็ขึ้นแล้ว มีชื่อเรียกอีกคือผักหูเสือ หูเสือไทย อีไหล หลึง หูเสือจีน โฮหิเช้า (จีน) หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ) และ หูเสือ (ภาคอีสาน) ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบ คั้นเอาน้ำหยอดแก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู แก้หูเป็นนำหนวกดีมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-7 ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ก้านใบยาว 2-4.5 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 10-20 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก
ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง 0.5 มม. ยาว 0.7 มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน
สารสำคัญที่พบ : ในใบ เช่น น้ำมันหอมระเหย thymot, carvacrol, terpinene, cyperene เป็นต้น
สรรพคุณทางยา : ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งยีสต์ ยับยั้งเชื้อรา ฆ่าแมลง ยับยั้งการงอกของพืชอื่น ยับยั้งเอนไซม์ protease จากเชื้อ HIV และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ ๔.๗๔ มก. วิตามินซี ๑๐.๑๕ มก. เบต้าแคโรทีน ๒.๕๕ มก. แซนโทฟิลล์ ๔.๒๔ มก.
หูเสือ เป็นสมุนไพรอีกสูตรหนึ่งที่นิยมใช้รักษาอาการเจ็บคอและต่อมทอนซิลอักเสบ เนื่องจากมีอาการอยู่ประจำ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนอากาศทำให้รู้สึกเจ็บในลำคอ และต่อมทอนซิลอักเสบเสมอ โดยใช้กันมาตั้งแต่โบราณ มีวิธีง่าย ๆ คือ ให้เอาใบหูเสือแบบสด ขนาดเล็กหรือใหญ่ตามแต่จะหาได้ จำนวน 5 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดสับรวมกับเนื้อหมูไม่ติดมันกะจำนวนตามต้องการ ไม่ต้องปรุงรสหรือใส่อะไรลงไปอีก ปั้นเป็นก้อนต้มกับน้ำไม่ต้องมากนักจนเดือดหรือเนื้อสุกกินทั้งน้ำแลเนื้อเช้าเย็น ทำกินประจำ 4 – 5 วัน อาการจะดีขึ้นและหายได้ หรือต้มกินจนกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วหยุดกินได้ไม่มีอันตรายอะไร
หูเสือ ช่วยเหลือขั้นต้น…แผลไฟไหม้ อักเสบบวม
หูเสือยังใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านในการรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม ตำพอกแก้ปวดข้อ ใช้ขยี้ทาเพื่อห้ามเลือด ใช้คั้นน้ำทาแผลเรื้อรัง ใช้คั้นน้ำหยอดหูเพื่อรักษาหูน้ำหนวก ใช้ดับกลิ่นปาก ใช้แก้ไข้ในเด็ก ใช้ขยี้ทาท้องเด็กเพื่อแก้ท้องอืด ป้องกันฟันผุ ใช้ขยี้ทารักษาหิด แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใส่ในยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง
ปัจจุบันการมีการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า หูเสือมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา
หูเสือ ผักเป็นยา บำรุงร่างกาย
คนโบราณมักบอกว่ากินหูเสือเป็นประจำจะทำให้ร่างแข็งแรง เลือดลมดี โดยเฉพาะในหน้าฝน ใบหูเสือจะสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อให้คนนำมากินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ลาบก้อย แจ่ว และยังสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารอื่นๆ เช่น ผัดหูเสือ
“ หูเสือผักสมุนไพร ใบสวยงาม กลิ่นหอมเฉพาะ แม้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกา แต่คงมาเมืองไทยนานแล้ว จนคนไทยสามารถใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านได้อย่างหลากหลาย เป็นผักแกล้มที่ทำให้เรากินอาหารได้อย่างมีชีวิตชีวา ที่สำคัญคือปลูกและขยายพันธุ์ง่ายมาก จึงอยากให้ช่วยกันดูแลรักษาไว้เป็นสมุนไพรสามัญประจำบ้านกันต่อๆ ไป
มีสารต้านอนุมูลอิสระ ในกลุ่มเซนโทฟิล (Xanthophyll) , มีสารเบต้าแคโรทีน(Beta-carotene) วิตามิน ซี ใบมีกลิ่นหอมคล้ายสาระแหน่ เด็ดใบมาเป็นเครื่องเคียงแนม กินกับลาบ, ยำ ,น้ำพริก หรือนำมาใช้เป็นเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร เป็นพืชสมุนไพรปลูกง่ายมาก และสรรพคุณมากมาย