เตือนภัย » หลายพื้นที่ในกทม.สูดลมหายใจแห่งความตาย!!ฝุ่นจิ๋วPM2.5ภัยแห่งโรคร้าย..หน้ากากผ้าธรรมดากันไม่ได้

หลายพื้นที่ในกทม.สูดลมหายใจแห่งความตาย!!ฝุ่นจิ๋วPM2.5ภัยแห่งโรคร้าย..หน้ากากผ้าธรรมดากันไม่ได้

19 กุมภาพันธ์ 2018
3207   0

เรื่องการใช้หน้ากากอนามัย ถ้าเป็นหน้ากากสีเขียวๆ ที่คนใช้เวลาใส่เดินไปเดินมาปกติ ตัวนั้นเอาไว้ใช้ป้องกันตัวเองไม่ให้แพร่เชื้อถึงคนอื่น จากการไอหรือจามก็ตาม แล้วก็ป้องกันฝุ่นละอองทั่วๆ ไป แล้วก็ช่วยกรองกลิ่นไม่พึงประสงค์

แต่ถ้าไปเจอฝุ่น PM 2.5 มันช่วยอะไรไม่ได้เลย เพราะฝุ่นชนิดนี้มันเล็กมาก ต่อให้มีหน้ากากสีเขียวมาปิดไว้ มันก็กรองไม่อยู่ ก็จะเล็ดลอดผ่านช่องว่างของหน้ากาก เข้าไปสู่ระบบหายใจได้อยู่ดี

ในพื้นที่ที่มีมลพิษเยอะๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก มันต้องใช้หน้ากากที่มีฟิลเตอร์ที่เล็กเพียงพอ ที่จะสามารถทำให้กรองฝุ่นขนาด PM 2.5 ได้ ซึ่งก็มีหลายแบบด้วยกันที่จะสามารถใช้กรองได้..

ด้วยความเล็กของฝุ่นละอองชนิดนี้ ที่เล็กถึง “2.5 ไมครอน” หรือ “เล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางผมของคนเรา” จึงทำให้ขนจมูกดักจับไม่ได้เลย ส่งผลให้ปอดอยู่ในภาวะอันตราย เพราะเมื่อร่างกายหายใจเข้าไป ปอดก็จะป้องกันตัวเองด้วยการห่อหุ้ม เพื่อกำจัดฝุ่น และจะทำให้เกิดพังผืดในปอด ซึ่งถ้าสะสมไว้เป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้กลายเป็น “โรคปอดอักเสบ” และลามไปถึง “มะเร็งปอด” ได้ในที่สุด

ด้วยเหตุนี้เอง “การสวมหน้ากากอนามัย” จึงกลายเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุที่ดีที่สุดในขณะนี้ เท่าที่พี่น้องประชาชนทุกคนจะหยิบหามาได้ แต่ปัญหาก็คือคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าหน้ากากที่เคยหยิบมาสวมใส่ทั่วๆ ไป เมื่อครั้งป่วยเป็นหวัดนั้น ไม่ใช่ชนิดเดียวกับที่จะสามารถใช้ป้องกันภัยร้ายในวิกฤตินี้ได้

“หน้ากากอนามัย” แบบไหนที่จะช่วยชีวิตทุกคนเอาไว้ได้ในวิกฤตนี้ที่ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนส่งให้โพสต์นั้นกลายเป็นโพสต์ที่คนแชร์ออกไปเกือบ 10,000 ครั้ง

“หน้ากากที่ใช้ได้ มีดังนี้ “หน้ากากกรองอนุภาค รุ่น R95” ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 คือถ้าเทียบหน้ากากคือตาข่าย ตาข่ายนี้ก็จะมีขนาดช่องกว้าง 0.3 แต่ฝุ่นพิษที่ต้องการป้องกันมีขนาด 2.5 ถ้าฝุ่นวิ่งผ่านตาข่ายมันก็ทะลุไม่ได้ เพราะฝุ่นมีขนาดใหญ่

“หน้ากากกรองอนุภาคเส้นใยไฟฟ้าสถิต” ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ได้เหมือนกัน และยังป้องกันฟูมโลหะ (ควันจากงานเชื่อม) ได้ด้วย แต่อาจจะเกินความจำเป็นสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานเฉพาะ

และ “หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง” ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3, ละออง, เชื้อโรค และฟูมโลหะ ป้องกันได้ 95% มีมาตรฐาน NIOSH ด้วยนะ จากที่เคยเห็นและไปซื้อมา ที่โลตัสหาง่ายสุด ราคา 39 บาท หรือไม่ก็ โฮมโปร, โกโฮม, ห้างที่มีอุปกรณ์ช่างขายจะมีขาย มันมีหลายยี่ห้อ ลองเลือกใช้กันดู อย่าลืมดูขนาดฝุ่นกันนะ

ที่สำคัญ‼ หน้ากากไม่ควรใช้นานเกินไป หากมีสภาพที่สกปรกหรือหายใจแล้วเริ่มได้กลิ่นภายนอก แสดงว่ามันเสื่อมสภาพแล้ว ควรเปลี่ยน ถ้าใช้ไปนานๆ นึกถึงตาข่ายๆ เหมือนเดิมนะ ฝุ่นวิ่งชนบ่อยๆ ขอบตาข่ายก็จะเสียหาย ขยายช่องใหญ่ขึ้น จนทำให้ฝุ่นเข้ามาได้ ใส่ไปก็ไม่ได้ช่วยป้องกันเราได้เลย

แล้วหน้ากากที่ใช้แล้วควรเปลี่ยนตอนไหน มันก็ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เราใช้ ไม่แน่ใจเรื่องจำนวนการใช้เหมือนกัน ถ้าใส่บ่อย ใส่ทุกวัน ก็ควรเปลี่ยนบ่อย หรือถ้าเราใช้แล้วรู้สึกว่าหายใจสะดวกกว่าตอนใส่แรกๆ ค่อยเปลี่ยนก็ได้ เพราะถ้าเราหายใจสะดวกขึ้นแสดงว่าหน้ากากเริ่มเสื่อมแล้วหายใจไปฝุ่นก็เข้าปอดเรา”

“จากการศึกษาโดย “Institute for Health and Evaluation” มหาวิทยาลัยวอชิงตัน พบว่ามลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารเคมีหลายชนิด ทั้งที่เป็นสารระคายเคือง ไปจนถึงสารก่อมะเร็ง จึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรค

ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง ก่อให้เกิดการตายก่อนวัยอันควรในประเทศไทย ประมาณ 50,000 คนต่อปี”

ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.greenpeace.org/seasia/th ระบุเอาไว้อย่างนั้น ทั้งยังระบุข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศล่าสุดเอาไว้ด้วยว่า ถึงแม้ฝุ่นพิษจะลดระดับลงมาบ้างแล้วในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ก็ยังมีอีกหลายจุดที่อยู่ในระดับ “เตือนภัยสีแดง” ได้แก่ ร.ร.บดินทรเดชา (เขตวังทองหลาง), ไปรษณีย์ราษฎร์บูรณะ, อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

รวมถึงภาคอื่นๆ อย่าง แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี, ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ์ ปราจีนบุรี, อ.แม่เมาะ ลำปาง, อ.เมือง ขอนแก่น, หน้าพระลาน สระบุรี, บริเวณโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จ.อยุธยา และบางพื้นที่ใน จ.เชียงราย

ถึงแม้ว่า สุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะออกมาให้รายละเอียดไว้ว่า ค่าฝุ่นละออง “PM 10” ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ทางกรีนพีซมองว่าเป็นการวัดด้วยหน่วยวัดที่ใหญ่เกินไป เพราะถ้าจะให้ดีต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนจริงๆ ต้องวัดกันที่ค่าฝุ่นละออง “PM 2.5” ถึงจะถูก

กรมควบคุมฯ บอกว่าที่เขาไม่ได้รวมเอา “PM 2.5” เข้าไปรวมค่าวัดมาตรฐานในบรรยากาศ เพราะปัจจุบันสถานที่ติดเครื่องวัดฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 ยังมีไม่พอที่จะไปคำนวณหาดัชนีทางอากาศได้ ซึ่งเราก็รอตั้งแต่ปี 54 แล้ว ผ่านมา 7 ปี เราก็ยังต้องหายใจเอาสิ่งนี้เข้าไปทุกวัน

อย่างพื้นที่ในตัวเมือง จะมาจากการคมนาคมขนส่ง, ควันจากรถยนต์ หรือพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม ก็จะมาจากกระบวนการผลิตเหล่านั้นด้วย เช่น โรงโม่หิน, โรงงานปูนซีเมนต์ หรือพื้นที่ที่อยู่ใกล้โรงงานไฟฟ้า ซึ่งใช้เชื้อเพลิงจาก ถ่านหิน, ฟอสซิล, ก๊าซธรรมชาติ ก็เป็นแหล่งฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยเหมือนกัน

ดังนั้น ถ้าอยากจะแก้ตั้งแต่ต้นเหตุ ก็ต้องไปดูที่แหล่งกำเนิดว่าฝุ่นเหล่านี้มาจากที่ไหนบ้าง ถ้าเป็นเรื่องแหล่งกำเนิดจากภาคคมนาคมขนส่ง ก็ต้องดูว่าจะออกแบบเมืองยังไงให้พึ่งพาการใช้รถยนต์น้อยลง ให้คนหาทางเลือกใหม่ๆ ในการเดินทางได้มากขึ้น ทำให้เมืองเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เพื่อให้ช่วยกรองฝุ่นละอองเหล่านี้

ต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการใช้พลังการ ทั้งภาคการผลิต การขนส่งต่างๆ จากเดิมที่เคยพึ่งพาเชื้อเพลงฟอสซิล ก็อาจจะใช้เชื้อเพลงที่สะอาดขึ้น หรือการผลิตไฟฟ้า ก็ควรจะค้นหาระบบพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนและสะอาดขึ้น ส่วนเรื่องการเผาในที่โล่งที่เป็นหนึ่งในปัจจัยให้เกิดฝุ่นพิษเหล่านี้ ก็ถือว่าดีขึ้นแล้วจากเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว หลังมีการร่วมมือกันในหลายๆ ภาคส่วน โดยเฉพาะผู้คนที่อยู่ในภาคเกษตร ซึ่งก็ยังคงต้องช่วยกันจับตาดูต่อไป

ความยากของมันก็คือ จะทำยังไงให้คนเห็นต้นตอของปัญหาเรื่องนี้ ถ้าเรามัวแต่ไปโทษอากาศปิดว่า ทำให้มลพิษมันสูง แต่ถ้าเรามองว่ามลพิษสูงเพราะมีรถยนต์วิ่งเยอะ ทำให้มลพิษสูง เราก็จะมองเห็นต้นตอของปัญหา ดังนั้น ต่อให้อากาศปิดแค่ไหน ต่อไปอากาศก็จะไม่มีค่าฝุ่นละอองพิษสูงขนาดนี้

ขอบคุณภาพ: Greenpeace Thailand
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ฟิสิกส์ราชมงคล
โรงพยาบาล ม.อ.ปัตตานี