เลี้ยงสัตว์ » วิธีป้องกันและการควบคุมพยาธิภายในแพะ..

วิธีป้องกันและการควบคุมพยาธิภายในแพะ..

15 กุมภาพันธ์ 2018
4235   0

https://goo.gl/rYc9a3

โรคพยาธิในแพะ

พยาธิมีผลกระทบต่อการผลิตแพะทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งพบว่าพยาธิภายในเป็นตัวก่อปัญหากับการเลี้ยงมากกว่าพยาธิภายนอก ถ้าแพะมีพยาธิภายในจำนวนมากจะทำให้เกิดโรคเฉียบพลันมีความรุนแรงถึงตายได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยจะไม่ถึงตาย แต่ทำให้ผลผลิตลดลง เช่น เนื้อ นม นอกจากนี้ทำให้แพะอ่อนแอ เป็นโรคอื่นๆ ได้ง่าย ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากผลผลิตที่ลดลงและเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการซื้อยาถ่ายพยาธิด้วยมีแนวโน้มว่าพยาธิจะมีการดื้อยาขึ้นเรื่อยๆ..

การใช้ยานั้นต้องไม่ใช้ยาชนิดเดียวกันทั้งปี พยาธิภายในแพะมีหลายชนิดด้วยกัน เกิดกับแพะทุกภาคที่เลี้ยงแพะ โดยเฉพาะในเขต เอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวแบน เป็นต้น ดังที่กล่าวในรายละเอียดให้เกษตรกรรู้จักดังต่อไปนี้..

.

 

พยาธิตัวกลม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือพยาธิตัวกลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ได้แก่..

พยาธิเส้นลวด

อยู่ในกระเพาะอาหารส่วนอโบมาซุ่มของแพะ เป็นพยาธิที่ทำอันตรายต่อสัตว์มากที่สุด ตัวผู้ยาว 10- 20 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว18 – 30 มิลลิเมตร ตัวผู้มีสีแดง ส่วนตัวเมียมีสีแดงสลับขาว

วงจรชีวิต.. เมื่อพยาธิตัวแก่ไข่ออกมาและแพะถ่ายอุจจาระออกมา ไข่จะมีตัวอ่อนอยู่ภายใน เมื่อตัวอ่อนฟักตัวออกมาภายนอก และเจริญเป็นตัวอ่อนระยะติดโรคแล้วแพะมากินเข้าไปจะเข้าไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอโบมาซุ่ม ดังกล่าว..

และภายใน 19วัน ตัวอ่อนก็จะเจริญเป็นตัวแก่และเริ่มออกไข่

อันตรายที่เกิดกับแพะก็คือพยาธิชนิดนี้จะดูดเลือดทั้งเม็ดเลือดและโปรตีนในเลือด ทำให้แพะเกิดโลหิตจางและถ้ามีอาการรุนแรง แพะจะมีอาการบวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง และแพะจะ ไม่เจริญเติบโต น้ำหนักลด ท้องร่วง หรือท้องผูก ร่างกายอ่อนแอ ความต้านทานโรคต่ำและตายได้ อาการในลูกสัตว์จะเป็นแบบเฉียบพลัน เพราะการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว โดยไม่แสดงอาการโลหิตจางให้เห็น

 

นอกจากนี้ก็มีพยาธิเส้นด้ายที่อาศัยในลำไส้เล็ก มันจะแย่งอาหารทำให้ลำไส้อักเสบ แต่ความรุนแรงของพยาธินี้ไม่มากนัก และพยาธิเม็ดตุ่ม พบในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้อักเสบ แพะจะถ่ายเป็นมูกเหลว การเจริญเติบโตลดลง ขนหยาบกระด้าง ท้องร่วง ผอมแห้งตาย บางครั้งอุจจาระมีเลือดปน.

.

พยาธิตัวตืด

พบในลำไส้เล็กของแพะ อาจมีความยาวถึง 600 เซนติเมตร (6เมตร) …กว้าง 1.6 เซนติเมตร

วงจรชีวิตตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ จะเข้าไปอาศัยเจริญเติบโตในไร เมื่อแพะกินตัวไรที่มีพยาธิเข้าไป พยาธิจะเจริญเป็นตัวเต็มวัยในแพะภายใน 6-8 สัปดาห์ ลูกสัตว์ที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน จะติดโรคพยาธิได้ง่ายและมีอาการรุนแรงมากกว่าแพะใหญ่ ถ้าติดโรคพยาธินี้น้อยอาจไม่แสดงอาการ แต่ถ้าติดพยาธิมากอาจตายได้

.

พยาธิใบไม้ในตับ

พบในตับและท่อน้ำดีของแพะ ขนาดตัวยาว 25 – 75 มิลลิเมตร กว้าง 12 มิลลิเมตร

วงจรชีวิตคือตัวอ่อนที่ฟักออกมา จากไข่พยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตในหอยน้ำจืด ใช้เวลาเจริญเติบโตในหอย 4 – 7 สัปดาห์ กลายเป็นตัวอ่อน จะว่ายออกมาจากหอยมาเกาะวัชพืชน้ำ และกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดโรค รอให้แพะมากิน

ความรุนแรงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นขณะที่ตัวอ่อนของพยาธิเดินทางไปที่ตับ จะเกิดโรค 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดรุนแรง เนื้อตับจะถูกทำลายอย่างมาก มีเลือดตก ในช่องท้อง ซึ่งมักพบในแกะ แพะที่ป่วยจะไม่อยากเคลื่อนไหว หายใจลำบาก แสดงอาการเจ็บปวดบริเวณท้องเมื่อถูกสัมผัส และพยาธินี้ทำให้การย่อยอาหารไม่ดี ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต เช่น เนื้อ และ ปริมาณนม เป็นต้น

.


ส่วนหนึ่งของบทความ เรียบเรียงจากการอบรมสัมมนา โดย อ.สมบูรณ์ แก้วเกตุ ..ผู้ที่พยายามถ่ายทอดวิชาการการเลี้ยงแพะ ให้แก่กลุ่มผู้เลี้ยงแพะในจ.นครศรีธรรมราช มาโดยตลอด..ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้.

ข้อแนะนำการป้องกันและควบคุมพยาธิภายในของแพะ

1. ถ่ายพยาธิเป็นประจำตามโปรแกรม โดยถ่ายทุก 4-6 สัปดาห์
-ยาถ่ายพยาธิทีใช้ประกอบด้วยยาถ่ายพยาธิ ตัวกลม เช่น อัลเบดาโซล, ไทยอาเบ็นดาโซล, ไพแรนเทล, เลวามิซอล เป็นต้น
-ยาถ่ายพยาธิตัวตืด เช่น นิโคลซาไมด์, เมเบลดาโซล เป็นต้น
-ยาถ่ายพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ราฟอกซาไนด์ , ไนไตรไซนิล เป็นต้น
-ยากำจัดเชื้อบิด เช่น โทลทราชูริล, ซัลฟาควินอกซาลีน เป็นต้น
-หรือถ้าพบมีปัญหา พยาธิภายในและเชื้อบิดร่วมกัน อาจใช้ยาทั้ง 3 ชนิดและควรถ่ายทุก 4 – 6 สัปดาห์

2. ทำความสะอาดโรงเรือนแพะอย่างสม่ำเสมอ
พื้นที่โรงเรือนแพะต้องเป็นแบบเว้นช่อง เพื่ออุจจาระตกลงไปข้างล่างและต้องล้อมรอบใต้ถุนไว้ไม่ให้แพะเข้าไป มิฉะนั้นจะติดโรคพยาธิจากอุจจาระได้ และควรฉีดยากำจัดไรแพะ เพราะไรเป็นพาหะของพยาธิตัวแบน

3. อุจจาระและสิ่งปฏิกูลอื่น ๆให้ฝังหรือเผาทำลายให้หมด

4. ใช้ระบบแปลงหญ้าหมุนเวียน
โดยการแบ่งหญ้าออกเป็นแปลงย่อย ๆ แต่ละแปลง ล้อมรั้วกันไว้ ปล่อยแพะเข้าแทะเล็มหญ้านานแปลงละ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นไปเลี้ยงแปลงอื่นต่อโดยต้องจัดการแปลงที่แพะเล็มแล้ว ด้วยการตัดหญ้า ให้สั้นลงมากที่สุดหรือให้แสงแดดส่งถึงพื้นดิน เพื่อให้ไข่และตัวอ่อนของพยาธิตาย และหญ้าเจริญงอกงามเร็ว สำหรับเลี้ยงแพะที่จะเข้ามาแทะเล็มใหม่ หมุนเวียนกันไปหรือวิธีจำกัดพื้นที่แทะเล็ม โดยการผูกล่ามแพะไม่ซ้ำที่เดิม

5. ทำลายตัวนำกึ่งกลางของพยาธิ เช่น ไร และ หอยน้ำจืด

6. ไม่ควรให้แพะลงแปลงหญ้าชื้น ๆ แฉะ ๆ
เพราะจะติดพยาธิได้ง่ายจากตัวอ่อนพยาธิที่อาศัยอยู่ในแปลงหญ้าที่ชื้นนั้น.

อ่าน..

-รู้จัก Ivermectin ยากำจัดพยาธิ-ปรสิต ที่นิยมใช้กันมากที่สุด

-ยาควรมีประจำคอก..กลุ่มยาถ่ายพยาธิแพะแบบฉีด+กิน

-การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและใต้ผิวหนังแพะ-และวิธีการให้ยาแก่สัตว์เลี้ยง

ขอขอบคุณ http://www.dld.go.th/service/goat/..
http://region9.dld.go.th/index.php?option=com_content&view..
http://oursimplefarm.com/2013/01/..
https://www.thaitravelclinic.com/th/Knowledge/..
http://www.med.cmu.ac.th/dept/parasite/public/..
http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8..